เกิดเหตุไฟไหม้โรงงาน


เป็นการตอบโจทย์ของ Final Take Home ในการนำเสนอความคิดเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาไฟไหม้โรงงานให้สามารถฟื้นคืนมาดำเนินธุรกิจได้เร็วที่สุด
 
 
สถานการณ์ :เหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง  :   สภาพโรงงาน กลายเป็นกองซากปรักหักพัง หลังโดนเพลิงเผา ตำรวจดับเพลิงพยายามให้ความช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากท่ามกลางเปลวไฟร้อนระอุความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไฟไหม้
  1. โรงงานผลิตผลไม้กระป๋องกลายเป็นกองซากปรักหักพัง
  2. พนักงานและเจ้าหน้าที่ในโรงงานได้รับบาดเจ็บและบางรายถึงแก่ชีวิต
  3. เครื่องจักรในการผลิตผลไม้กระป๋องไม่สามารถใช้การได้
  4. วัตถุดิบในการผลิตผลไม้กระป๋องสูญเสีย
  5. เครื่องใช้สำนักงาน เช่น Computer , โทรศัพท์ , แฟกซ์ และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้รับความเสียหาย
  6. ข้อมูลต่างๆ ที่เก็บไว้ใน Computer เสียหาย
  7. ไม่สามารถส่งสินค้าให้กับลูกค้าที่ต่างประเทศได้ตามกำหนดเวลา
  8. ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากผลกระทบนอกเขตโรงงาน เช่น เกิดเปลวไฟไปกระทบพื้นที่ข้างเคียง
 แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากไฟไหม้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินกิจการได้เร็วที่สุด มีดังต่อไปนี้ 1.       เจ้าของธุรกิจต้องมีสติ ควบคุมอารมณ์ ในการแก้ไขปัญหา2.       ให้การสนับสนุนเจ้าหน้าที่ดับเพลิงในการดับไฟและช่วยเหลือผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล3.       หลังจากเหตุการณ์สงบแล้ว รอผลสรุปการตรวจสอบสาเหตุของไฟไหม้4.       ติดต่อบริษัทประกันภัยมาประเมินความเสียหาย และเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (ด้านล่าง : มีข้อมูลเกี่ยวกับการประกันอัคคีภัยเพิ่มเติม)5.       ติดต่อลูกค้าบริษัทฯ ต่างประเทศที่ต้องส่งผลไม้กระป๋องให้ว่าไม่สามารถส่งผลไม้กระป๋องได้ตามกำหนด6.       ติดต่อ Supplier เพื่อแจ้งเหตุไฟไหม้ และนัดวันส่งวัตถุดิบใหม่7.       หลังจากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองและเจ้าหน้าที่ประกันภัยได้ประเมินความเสียหายเรียบร้อยแล้ว ทำการเก็บกวาดและทำความสะอาดสถานที่8.       ดูแลพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บให้ได้รับขวัญและกำลังใจกลับคืนมา ส่วนผู้ที่เสียชีวิตก็ให้ความช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิต รวมทั้งติดต่อเรื่องประกันอุบัติเหตุ,ประกันชีวิต และประกันสังคมในส่วนของเงินชดเชยรายได้ที่สูญเสียไป9.       ติดต่อธนาคารเพื่อขอกู้เงินชั่วคราวระหว่างรอเงินประกันจากบริษัทประกันภัย10.     ติดต่อเช่าโรงงานผลิตผลไม้กระป๋องชั่วคราวเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ทันท่วงที11.    Back up ข้อมูลใน Computer กลับคืนเพื่อให้สามารถทำงานได้12.    จัดพนักงานเข้ามาทำงานตามปกติร้อมติดต่อ Supplier ให้ส่งวัตถุดิบ13.    นัดวันส่งผลไม้กระป๋องให้กับลูกค้าที่ต่างประเทศอีกครั้ง บริษัทได้ประกันความเสี่ยง ดังต่อไปนี้การประกันอัคคีภัยเป็นการประกันประเภทหนึ่งที่มีวัตถุที่เอาประกันภัยเป็นตัวทรัพย์สินโดยตรง ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ ประเภทสิ่งปลูกสร้างก็ตาม ย่อมสามารถที่จะเอาประกันอัคคีภัยได้กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยดังนี้ คือ
  1. วินาศภัยที่เกิดขึ้นโดยตรงจาก ไฟ, ฟ้าฝ่า, การระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่าง
  2. ความเสียหายทางอ้อม เช่น ความเสียหายที่เกิดจากน้ำที่ใช้ดับไฟ หรือสารดับเพลิงอื่นๆ, ความเสียหายจากควัน หรือการถูกลนจนเกรียมด้วยความร้อนจากไฟ เป็นต้น
ข้อที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการประกันอัคคีภัย
  • ภัยที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย คือ การถูกลักทรัพย์ระหว่างหรือหลังจากที่เกิดอัคคีภัย, แผ่นดินไหว หรือการผันแปรผิดปกติของธรรมชาติ เป็นต้น
  • ทรัพย์สินที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย เช่น สินค้าซึ่งอยู่ในการดูแลรักษาของผู้เอาประกันในฐานะผู้รักษาทรัพย์, เงินแท่ง หรือทองแท่ง , ต้นฉบับเอกสาร แบบแปลน แผนผัง เป็นต้น
การทำและเก็บรักษาบัญชีทรัพย์สิน        มีการจัดทำบัญชีสินค้าอย่างน้อยปีละครั้ง และต้องจัดทำบัญชีรายละเอียดแสดงการซื้อขายสินค้านั้น บัญชีสินค้าดังกล่าวต้องจัดเก็บไว้ในตู้นิรภัยที่กันไฟได้   การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
  1. แจ้งให้บริษัทประกันภัยทราบทันที และภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันเกิดการสูญเสียหรือการเสียหาย หรือภายในกำหนดที่บริษัทจะยืดเวลาให้ โดยผู้เอาประกันภัยต้องส่งมอบหนังสือต่อบริษัทโดยค่าใช้จ่ายของผู้เอาประกันเอง ซึ่งต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้  
    • คำเรียกร้องเป็นหนังสือเกี่ยวกับการสูญเสีย หรือการที่มีรายละเอียดแห่งทรัพย์สินที่สูญเสียหรือสูญหาย และจำนวนเงินค่าเสียหายของทรัพย์สินนั้นๆ โดยละเอียดเท่าที่จะทำได้ตามราคาในเวลาเกิดการสูญเสียหรือการเสียหายซึ่งไม่ได้รวมกำไร
    • รายการประกันภัยอื่นๆ ถ้ามี
  2. ผู้เอาประกันภัยโดยค่าใช้จ่ายของตนเองต้องแสดงหรือจัดหา หรือแจ้ง หรือมอบให้บริษัท ซึ่งมีพยานหลักฐานและรายการเพิ่มเติม เช่น แผนผัง รายละเอียด สมุดบัญชี ใบสำคัญการบัญชี ใบกำกับสินค้า คู่ฉบับหรือสำเนาแห่งเอกสารนั้นๆ ข้อพิสูจน์และข้อความเกี่ยวกับการเรียกร้อง และต้นเพลิงหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดอัคคีภัย และพฤติการณ์ที่ทำให้เกิดความสูญเสียหรือการสูญหายตามที่บริษัทต้องการโดยสมควรแก่กรณี
 การประกันภัยธุรกิจปลอดภัย (Business Owner Insurance) เป็นการประกันภัยที่ได้ถูกพัฒนาเพื่อให้ความอุ่นใจแก่ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อม โดยรวบรวมภัยหลักทางธุรกิจไว้ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยเพียงฉบับเดียว เพื่อความสะดวก ประหยัด และคุ้มค่า การประกันชีวิต, ประกันอุบัติเหตุ และประกันสุขภาพประกันชีวิต - เป็นการสร้างหลักประกัน และความมั่นคงให้แก่ผู้เอาประกัน และครอบครัว ในกรณีที่เกิดเหตุอันไม่คาดคิดที่ผู้นำของครอบครัวต้องจากไปก่อนวัยอันควร เงินประกันชีวิตจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินของครอบครัวไปได้ระยะหนึ่ง ในในแง่ของค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่าเล่าเรียน การสานต่อธุรกิจ เป็นต้นประกันอุบัติเหตุ -  เป็นการประกันที่ช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับพนักงานและบริษัทฯในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ให้ความคุ้มครองที่ให้ค่ารักษาพยาบาล และเงินจุนเจือต่อสัปดาห์ โดยคุ้มครองตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ระหว่างทำงาน เดินทาง พักผ่อน อยู่ที่บ้าน หรือทำกิจกรรมใดๆก็ตาม การประกันสุขภาพ - เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองในด้านการรักษาพยาบาล ทั้งกรณีผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน โดยที่ไม่ต้องชำระเงินค่ารักษาพยาบาลก่อน เพิ่มความอุ่นใจเสมอ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น   กฎหมายที่ช่วยป้องกัน และระงับอัคคีภัย ก่อนเกิดเหตุ
1. พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 การปฏิบัติ ตามเงื่อนไขในการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในกรณีอาคารสูงไม่เกิน 4 ชั้นต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่โยธาโดยขออนุญาตก่อสร้าง 4 ชั้น 4 คูหา ซึ่งอาคารตึกแถว ต้องมีความมั่นคงแข็งแรงและพื้นอาคารต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกชั้นหนึ่งชั้นใด ต้องไม่น้อยกว่า 400 กิโลกรัม ต่อหนึ่งตารางเมตรตึกแถวต้องมีเครื่องดับเพลิง 1 เครื่องต่อ 1 คูหา และต้องมีระบบเตือนเพลิงไหม้รวมทั้งต้องมีบันไดหนีไฟ
2. พ.ร.บ.ป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542 โดยต้องได้รับการตรวจสอบจากนายตรวจป้องกันอัคคีภัยซึ่งนายตรวจมีอำนาจ หน้าที่ในการเข้าไปในอาคาร หรือ สถานที่ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น ถึง พระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น ๆ เพื่อตรวจสอบการเก็บรักษาสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย หรือในเวลากรณีมีเหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างยิ่ง ที่แสดงให้เห็นว่าสถานที่นั้น ๆ อยู่ในภาวะที่จะเกิดอัคคีภัย และ ตรวจกิจการ อันทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย และการจัดให้มีบุคคล และสิ่งจำเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัย

หมายเลขบันทึก: 69312เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2006 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 08:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โรงงานในแต่ละโรงงานน่าจะมีมาตรฐานการป้องกันและการเตือนไฟไหม้ที่มีประสิทธิภาพนะครับ

วินิช รัตนาธิวัฒน์

ทางบริษัทเรามีช่างมากประสบการณ์ทางระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ติดตั้ง และตรวจสอบแก้ไขบำรุงรักษา ทำความสะอาดและทดสอบอุปกร detector 100%

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท