จิตร ภูมิศักดิ์ และภาพลักษณ์ในบริบททางการเมือง ตอนที่ 5


สังคมนิยมและมาร์กซิสต์ในประเทศไทย

ถึงแม้ว่าพิบูลย์สงครามจะได้ทำรัฐประหารปี 1947 โดยการขับไล่รัฐบาลพลเรือนที่นำโดยปรีดี พนมยงค์ออกไป แต่ยุคระหว่างปี 1945 และ 1958 จะถูกมองว่าเป็นยุควรรณกรรมทางสังคมในประเทศไทย และเป็นยุคเปิดตัวของฝ่ายซ้ายไทยและขบวนการการมีอิสระแห่งชาติขึ้น ขบวนการฝ่ายซ้ายไทยเริ่มต้นก่อนเล็กน้อยเมื่อสร้างพรรคคอมมิวนิสต์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยคนที่ได้รับแรงดลใจจากการปฏิวัติในประเทศจีน และได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกฝ่ายซ้ายจากเสรีไทย อย่างน้อยมีสื่อสิ่งพิมพ์หัวรุนแรง 23 อัน เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสารรายเดือน 2  สัปดาห์ และรายสัปดาห์ตีพิมพ์ระหว่างปี 1946 และ 1962 ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะมีอายุสั้น เนื่องมาจากการกดดันจากสฤษดิ์ หลังจากการรัฐประหารปี 1958

ในหมู่สื่อสิ่งพิมพ์หัวรุนแรงในยุคนั้น นิตยสารประจำเดือนชื่ออักษรสาส์น เป็นที่รู้จักกันสมัยนั้น นิตยสารนั้นก่อตั้งโดยนักหนังสือพิมพ์ที่ฉ่ำชองและสนับสนุนปรีดี ชื่อสุภา ศิริมานนท์ ในปี 1949 นิตยสารกลายเป็นที่ที่นักวิชาการสังคมนิยมไทยนำเสนอความคิด และการศึกษาเรื่องมาร์กซิสต์โดยการแปลจากภาษาต่างประเทศ ถึงแม้ว่านิตยสารจะไม่ใช่ฝ่ายซ้ายทั้งหมด อย่างน้อยครึ่งหนึ่งก็เป็นนักเขียนฝ่ายขวา แต่บทความที่เขียนโดยนักสังคมนิยม ไม่ว่าจะเป็นของกุหลาบ สายประดิษฐ์, อัศนี พลจันทร์, และสมัคร บุราวาส ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดมาร์กซิสต์ อัศนี ที่ใช้นามปากกาว่าอินทรายุธ เขียนบทความจำนวนมากที่วิพากษ์ชนชั้นสูงที่ได้อำนาจมากจากพุทธศาสนาและวรรณกรรม เช่น เขาวิจารณ์งานวรรณกรรมคลาสสิกไทยฉบับหนึ่งชื่อ ลิลิตรพระลอ ซึ่งเป็นเรื่องราวความรักแบบสามเส้าระหว่างเจ้าชายรูปงาม และพระราชธิดา 2 คน อินทรายุธวิจารณ์เรื่องนี้ว่าเป็นเพียงนิยายแบบรักใคร่ ตื้นเขิน ที่ชนชั้นสูงชอบอ่านกัน และทำให้ผู้คนอ่อนน้อมต่อเจ้านายหรือชนชั้นสูง บทความอื่นๆ จะเป็นการแนะนำลัทธิมาร์กซิสต์ และแปลงานนักสังคมนิยมชาวจีนชื่อ Lu Xun และงานเรื่องวัตถุนิยมวิภาษวิธีของโจเซฟ สตาลิน เป็นที่รับรู้กันว่าโดยการผ่านอักษรสาส์น ที่ทำให้นักเขียนเชิงทดลอง เช่นอัศนีมีบทบาทสำคัญในการแนะนำสังกัปอันใหม่ในศิลปะ นั่นคือ ศิลปะและวรรณกรรมเพื่อชีวิต พวกเขาเชื่อว่าศิลปะและวรรณกรรมจะต้องสร้างขึ้นเพื่อชาวนาและกรรมกร สุดท้ายชาวนาและกรรมกรจะปฏิวัติต่อสังคม

อักษรสาส์นถูกปิดในปี 1952 เพราะสฤษดิ์หาว่ามีลักษณะเป็นคอมมิวนิสต์ ถึงแม้ว่าจะอายุสั้น แต่นิตยสารได้เป็นแรงดลใจให้กับเยาวชนจำนวนมาก เพราะว่ามันทำให้พวกเขาสนใจสังคมขึ้นมาอย่างจริงจัง จิตรก็รวมอยู่ในนั้นด้วย จิตรได้รับทั้งวิธีการวิเคราะห์และเนื้อหาจากคนรุ่นก่อน ที่สำคัญคือจากอักษรสาส์นนั้น

เมื่อไร และอย่างไรที่จิตรใช้สังคมนิยมและมาร์กซิสต์? เราต้องยอมรับว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจริงๆแล้วเป็นฝ่ายขวาและอนุรักษนิยมสูง เป็นที่ที่จิตรได้เรียนรู้และนำความคิดต่างๆไปใช้ มันไม่ใช่เป็นเรื่องบังเอิญที่การศึกษามาร์กซิสต์และสังคมนิยมจะได้รับการเอาใจใส่ในยุค 1950 จากนักวิชาการฝ่ายซ้ายในยุคนั้น บางทีจิตรอาจได้รับแรงดลใจจากอักษรสาส์น และได้มารู้ รวมถึงชื่นชมการปฏิวัติในจีน โดยหลู่ซินจากนิตยสารฉบับนั้นก็ได้

จาก Piyada Chonlaworn. Jit Phummisak and His Image in Thai Political Contexts.

หมายเลขบันทึก: 692780เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2021 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2021 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท