ชีวิตที่พอเพียง 4063. พัฒนาประเทศโดยวิเคราะห์ความต่าง


 

นี่คือบทสะท้อนคิด (reflection) ชิ้นที่ ๒  ที่เกิดจากการอ่านหนังสือ ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน โดยอ่านบันทึกที่ ๑ ได้ที่ (๑)     ที่ผมฉุกคิดก็เพราะเรามักถูกสั่งสอนให้เอาใจใส่แนวโน้มสู่ศูนย์กลาง     เปรียบเทียบภาพรวมของประเทศ    แต่ในหนังสือเล่มนี้ บทที่ ๒ ตอนที่ ๒ (หน้า ๙๓) กล่าวถึงเส้นแบ่งสภาพพื้นฐานของประเทศจีน ที่เรียกว่า เส้นอ้ายฮุย – เถิงชง    เส้นลากทางภูมิศาสตร์ระหว่างสองเมืองตามชื่อ “เส้นอ้ายฮุย – เถิงชง”    ที่ลากจากตะวันออกเฉียงเหนือ สู่ตะวันตกเฉียงใต้   ในปี ค.ศ. 1935 ฝั่งตะวันออกมีพื้นที่ร้อยละ ๓๖ พลเมืองร้อยละ ๙๖  ฝั่งตะวันตกมีพื้นที่ร้อยละ ๖๔ มีพลเมืองร้อยละ ๔   ในปี ค.ศ. 2000 ตัวเลขดังกล่าวคือ ๔๔, ๙๔, ๕๖, ๖   สะท้อนว่า ในเวลา ๖๕ ปี สภาพการกระจายจำนวนพลเมืองตามภูมิศาสตร์ของประเทศไม่มีการเปลี่ยนแปลง   

และสะท้อนว่า ความเจริญกระจุกตัวอยู่ตามชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ   

ข้อมูลที่สะท้อนความต่าง นำสู่ความสนใจต่อความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ    และการจัดการระบบต่างๆ ของประเทศเพื่อสร้างความเท่าเทียม   

 ขอขอบคุณ คุณยุวดี คาดการณ์ไกล ที่กรุณาส่งหนังสือมาให้    

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ก.ย. ๖๔

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 692776เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2021 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2021 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท