ทุกข์สุขในเมืองคน


ที่ใดมีรัก ที่นั้นมีทุกข์ เพราะรักไม่เป็น มีคำกล่าวกันมาว่า ศาลา นารี วิถี คงคา เป็นอนัตตา (ทางโลก) ไม่ใช่ของใคร ใครมาก่อน เข้าถึงก่อน ย่อมมีสิทธิ์ที่จะได้รับประโยชน์ก่อน ได้พักผ่อน (ศาลา) ได้พูดคุย (จีบ) จนเข้าอกเข้าใจกัน และจนได้แต่งงานเป็นเจ้าของ (สามี) ได้เดิน วิ่ง (ถนน) ได้อาบ (คงคา หรือแม่น้ำ) นั้นเอง... ส่วนสุขในเมืองคน คือสุขเกิดจากการมีทรัพย์ สุขเกิดจาก การใช้จ่ายทรัพย์ สุขเพราะไม่เป็นหนี้ สุขเพราะทำงาน ไม่มีโทษ ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง ยังมีคนพูดมาว่า ทุกข์ในเมืองคนมีแต่แดดกับฝน สุขอยู่ในเมืองคน มีแต่กินกับม่วน....

 

ทุกข์สุขในเมืองคน

ดร.ถวิล  อรัญเวศ

     มีคนกล่าวกันว่า ทุกข์เพราะเมียด่า เพื่อนแช่ง นายชัง 
ก้างติดเหงือก เกือกกัดตีน กินข้าวเจอกรวด ปวดเยี่ยวในรถ 
ทนอั้นตดในแอร์ เหม็นขี้รักแร้ในลิฟท์ รูดซิบติดหำ

    ที่กล่าวมา ก็เป็นเพียงทุกข์อีกระดับหนึ่ง 

    แม้แต่รักก็มีทุกข์ เพราะที่ใดมีรัก ที่นั้นมีทุกข์  ทุกข์

เพราะรักไม่เป็น ทุกข์เพราะคิดมาก ทุกข์เพราะยึดติดว่า

เป็นตัวกู เป็นของกู ใครห้ามยุ่งห้ามแตะ

    มีคำกล่าวกันมาอีกว่า ศาลา นารี วิถี คงคา  4 อย่างนี้

ไม่ใช่ของใคร  
     ทำไมจึงว่าอย่างนั้น เขาก็ให้เหตุผลมาว่า

 “ศาลา นารี วิถี คงคา : อนัตตา (ไม่ใช่ของใคร)” ?? 

        ไม่ใช่ของใครตามนัยะอนัตตา เพราะถ้า ใครมาก่อน 
ถึงก่อนคนนั้นก็มีสิทธิ์ที่จะได้ประโยชน์ ได้ใช้สอย 
ได้พักพิงหรือได้ความเป็นเจ้าของ (สามี)

กล่าวคือ

 ศาลา 

   คนที่เดินทางไกลอย่างเหน็ดเหนื่อย พอมาถึงศาลา ก็มีสิทธิ์จะ
ได้แวะนั่งพักผ่อนหย่อนใจ ดับคลายร้อน คลายเหนื่อย คลายทุกข์หลังจากได้เดินทาง
มาไกลแสนไกลแลเหน็ดเหนื่อยมามากแล้ว

 

นารี 

         ใครเข้าหาเธอก่อน จีบก่อน เข้าอกเข้าใจก่อน ก็ย่อมมีโอกาสที่จะได้เป็นเจ้าของ (สามี) 
หรือได้แต่งงานกับเธอ เพราะไม่ใช่ของใคร ใครเข้าถึงก่อนก็เป็นธรรมดา 
ย่อมมีโอกาสดีกว่านั่นเอง จะว่ากันไม่ได้ เพราะความจริงมันเป็น

เช่นนั้น

วิถี 

     ถนนหนทาง ทุกคนมีสิทธิ์จะใช้เสมอกันถ้วนหน้า เพราะเป็นถนนหลวงหรือถนนสาธารณะ 
ใครก็ตาม มีสิทธิ์เสมอภาคกันที่จะได้ใช้ถนน ไม่ว่าจะขับขี่มอเตอร์ไซต์ ขี่จักรยาน 
ขับรถยนต์ หรือเดินเท้าก็ตาม ย่อมจะมีสิทธิเสมอกัน เพียง

แต่ให้ระวังระวังอุบัติเหตุด้วย

 

คงคา

     แม่น้ำถือว่าเป็นที่สาธารณะที่ทุกคนจะได้ใช้ประโยชน์เสมอภาคร่วมกัน เช่น 
แม่น้ำเจ้าพระยา ทะเล แม่น้ำคงคา แม่น้ำป่าศักดิ์ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี เป็นต้น 
คงไม่มีใครจะมาห้ามว่าอย่าอาบนะ อย่าลงเล่นนะ เพราะใครมาถึงก็ย่อมมีสิทธิ์จะ
ได้ใช้ประโยชน์ถ้วนหน้ากันนั้นเอง

 

สุขในเมืองคน

   มีคนพูดมาว่า ทุกข์ในเมืองคนมีแต่แดดกับฝน

สุขอยู่ในเมืองคน มีแต่กินกับม่วน....

สุราเหล้ากินเมาแล้วกะม่วน

สุราเหล้ากินเมาแล้วฮ้องโห่

กินบ่โห้ บ่ฮ้อง มันเสียแป้งผู้เพิ่นขาย

ผู้สาวตายเบิดบ้าน บ่เสียดายท่อเหล้าเหี่ย

คั่นได้นั่งแดกเหล้า คั่นได้นั่งแดกเบียร์

ลูกกับเมียอยู่บ้าน สิกินขี่กะส่างมัน  ....

     เป็นคำกล่าวของคนเมา หรือคนมีใจไม่ปกติ

ไม่ต้องไปถือสา ให้เขาพูดไป ถือว่าปล่อยผีก็แล้วกัน

    สุขในเมืองคน ตามหลักพุทธศาสนา คือ

  1. สุขเกิดจากการมีทรัพย์  หรือ รวยเงินรวยทอง
  2. สุขเกิดจากการจับจ่ายทรัพย์  จ่ายให้คุ้มทุน

     คุ้มค่า เป็นประโยชน์มากที่สุด

  1. สุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้  ไม่ต้องทุกข์ใจว่า

      จะมีเจ้าหนี้มารังควนป่วนให้เดือดร้อนใจ

  1. สุขเกิดจากการทำงานไม่มีโทษ  คือไม่ผิดกฎหมาย

     บ้านเมือง ไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาจับ

    ยังมีอีกเยอะมากครับ  เอาไว้แค่นี้ก่อน

 

 

สรุป

        ทุกข์ในเมืองคน มีหลายทุกข์ แต่ที่มัก

พูดกันเล่น ๆ คือทุกข์เพราะเพื่อนแช่ง นายชัง ก้างติดเหงือก 
เกือกกัดตีน กินข้าวเจอกรวด ปวดเยี่ยวในรถ ทนอั้นตดในแอร์ 
เหม็นขี้รักแร้ในลิฟท์ รูดซิบติดหำ

           ที่ใดมีรัก ที่นั้นมีทุกข์ เพราะรักไม่เป็น

มีคำกล่าวกันมาว่า ศาลา นารี วิถี คงคา เป็นอนัตตา (ทางโลก) ไม่ใช่ของใคร 
ใครมาก่อน เข้าถึงก่อน ย่อมมีสิทธิ์ที่จะได้รับประโยชน์ก่อน ได้พักผ่อน (ศาลา) 
ได้พูดคุย (จีบ) จนเข้าอกเข้าใจกัน และจนได้แต่งงานเป็นเจ้าของ (สามี) 
ได้เดิน วิ่ง (ถนน) ได้อาบ (คงคา หรือแม่น้ำ) นั้นเอง...

ส่วนสุขในเมืองคน คือสุขเกิดจากการมีทรัพย์ สุขเกิดจาก

การใช้จ่ายทรัพย์ สุขเพราะไม่เป็นหนี้ สุขเพราะทำงาน

ไม่มีโทษ ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง ยังมีคนพูดมาว่า ทุกข์ในเมืองคนมีแต่แดดกับฝน 
สุขอยู่ในเมืองคน มีแต่กินกับม่วน....

ก็อาจจะใช่ ท้ายสุดขอฝากข้อคิดไว้ว่า

“ถ้าใจสงบ แม้เสียงรถวิ่ง

ก็ไม่กระทบจิตใจ 
แต่ถ้าใจไม่สงบ เสียงอะไรนิด

เสียงอะไรหน่อย ก็เอะอะโวยวาย

นี้เป็นการวัดสมรรถนะด้านจิตใจคน...

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 692594เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2021 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2021 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท