นวัตกรรม “การบ้านสู่การโรงเรียน” โรงเรียนบ้านสองสะโกม


 

รายงานนวัตกรรมโรงเรียน

โครงการ ๑ โรงเรียน ๑ นวัตกรรม  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปีงบประมาณ 25๖๓

โรงเรียนบ้านสองสะโกม อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์  สพป.สร. เขต ๓

……………………………………………………………………………….

ชื่อนวัตกรรม “การบ้านสู่การโรงเรียน”

๑. ความเป็นมาและความสำคัญ 

                โรงเรียนบ้านสองสะโกม   ที่ตั้ง หมู่ที่ ๕  ตำบล ไพล  อำเภอ ปราสาท จังหวัด สุรินทร์  สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุรินทร์ เขต ๓  โทร ๐๘๔ - ๙๕๘๑๕๗๙    เปิดสอนระดับชั้น อนุบาลปีที่  ๑ ถึงระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๖   เนื้อที่  ๘ ไร่ ๒ งาน ๕๘ ตารางวา  เขตพื้นที่บริการ  หมู่ที่ ๓,๔,๕,๖,๗ ตำบลไพล  อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

          ก่อนการดำเนินการโรงเรียนบ้านสองสะโกมได้เข้าอบรมโครงการนำร่องการใช้กระบวนการNo Homework ซึ่งเป็นโครงการที่สำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาสำคัญอันดับต้นๆ ที่โรงเรียนยังหาทางแก้ไม่สำเร็จ ที่ต้องอาศัยความเข้าใจ ความพร้อมใจ และความร่วมมือผนึกกำลังร่วมกัน ของคุณครูทั้งโรงเรียน และผู้อำนวยการโรงเรียน เนื่องจากที่ผ่านมามีเสียงสะท้อนทั้งจากผู้ปกครองและนักเรียน เรื่องของการบ้านที่มีมากจนส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้เรียน ทั้งความเครียด การขาดโอกาสที่จะพัฒนาทักษะอื่นๆ ไม่มีเวลาที่จะร่วมกิจกรรมกับครอบครัว โดยมีการประชุมเกิดขึ้นหลายครั้งสุดท้ายแล้วทุกฝ่ายมีความเห็นร่วมกันว่าโรงเรียนควรนำแนวความคิดในเรื่องดังกล่าวมาเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

 

๒. วัตถุประสงค์ 

-เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ RT, NT, O-NET

          -เพื่อลดภาระการทำการบ้านที่มากเกินไป

          -เพื่อลดความเครียดของนักเรียน

          -เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะพัฒนาทักษะอื่นๆนอกเหนือจากการเรียน

          -เพื่อเพิ่มเวลาร่วมกิจกรรมต่างๆกับครอบครัว

          -เพื่อเสริมสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ

๓. กระบวนการพัฒนาผลงานหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรมโรงเรียนบ้านสองสะโกม “การบ้านสู่การโรงเรียน”   

จากการได้เข้ารับฟังการบรรยายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษายกระดับ O-NET และคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการ No Homework โรงเรียนบ้านสองสะโกมได้มีการทดลองใช้นวัตกรรม “การบ้านสู่การโรงเรียน” ครั้งแรกในปีการศึกษา ๒๕๖๒ และได้ประชุมวางแผนการดำเนินงานพัฒนานวัตกรรมเพื่อเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแต่ในการเริ่มใช้นวัตกรรมในระยะแรกนั้น ทางโรงเรียนไม่ได้กำหนดวิชาในการทำการโรงเรียน หลังจากนั้นได้มีการประชุมหารือเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทางโรงเรียนจึงได้กำหนดการทำการโรงเรียนโดยให้เน้นสี่วิชาหลักคือ วิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์และวิชาภาษาอังกฤษ 

๓.๑) สภาพปัญหาก่อนการพัฒนา 

          นักเรียนมีการบ้านที่มากเกินไปทำให้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของนักเรียน ทั้งความเครียด การขาดโอกาสที่จะพัฒนาทักษะอื่นๆ ไม่มีเวลาที่จะร่วมกิจกรรมกับครอบครัว และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่อยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่ดีมากนัก  โรงเรียนบ้านสองสะโกม จึงเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ความสามารถในการสื่อสารความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี โดยครูต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน จึงออกแบบนวัตกรรม “การบ้านสู่การโรงเรียน”ขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียนในด้านต่างๆที่และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๓.๒) การออกแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา 

          โรงเรียนบ้านสองสะโกมได้ออกแบบการใช้นวัตกรรม“การบ้านสู่การโรงเรียน”เพื่อการพัฒนาผู้เรียนโดย ผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ประชุมเพื่อหารือร่วมกันในการวางแผนการใช้นวัตกรรม

“การบ้านสู่การโรงเรียน” โดยกำหนดวัน เวลา และวิชาที่เน้นพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติได้แก่

วิชาภาษาไทย,วิชาคณิตศาสตร์,วิชาวิทยาศาสตร์และวิชาภาษาอังกฤษ

๓.๓) ขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนา 

                    ๓.๑.๑   คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาประชุมวางแผนการดำเนินงาน

๓.๑.๒   ประชุมวางแผนกำหนดรูปแบบนวัตกรรม “การบ้านสู่การโรงเรียน”

๓.๑.๓   คณะครูและบุคลาการทางการศึกษาดำเนินการใช้นวัตกรรม

๓.๑.๔  ประเมินผลและสรุปผลการใช้นวัตกรรม

๓.๑.๕   ประชุมวางแผนกำหนดแนวทางในการพัฒนาต่อไป

๓.๔) ผลงานที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน  

                    จากการดำเนินการนวัตกรรม “การบ้านสู่การโรงเรียน” ของโรงเรียนบ้านสองสะโกม

ด้านผู้เรียน

                   -ผลสัมฤทธิ์ RT, NT, O-NET มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น

                     -ผู้เรียนมีความร่าเริง ลดความเครียด

                     -ผู้เรียนมีโอกาสที่จะพัฒนาทักษะอื่นๆนอกเหนือจากการเรียนเช่น ด้านกีฬา

                     -ผู้เรียนมีเวลาร่วมกิจกรรมต่างๆกับครอบครัว

                     -ผู้เรียนมีสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ

ด้านครู

                    -ครูผู้สอนมี ความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วม ในการใช้นวัตกรรม

          -ครูมีการเตรียมการสอนโดยศึกษานวัตกรรม และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ แผนจัดประสบการณ์การเรียน ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

-มีการนิเทศภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบโดยใช้วิธีการนิเทศที่หลากหลายและนำผลการนิเทศไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยการสอบระดับชาติมีคะแนนเฉลี่ยปีการศึกษา ๒๕๖๒ สูงมากขึ้นกว่าคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น 

ด้านผู้บริหาร ชุมชน

-มีความร่วมมือระหว่างผู้บริหาร ครูผู้สอนนักเรียน ผู้ปกครอง

หมายเลขบันทึก: 692533เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2021 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2021 12:54 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท