วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

สรุปองค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2563 ทั้ง 3 กลุ่มงาน


สรุปองค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2563 ทั้ง 3 กลุ่มงาน

          ในปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ได้มีการจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้ง 3 กลุ่มงาน ได้แก่ 1) กลุ่มงานวิชาการและกิจการนักศึกษา เรื่อง “การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) : การสะท้อนคิดและสถานการณ์เสมือนจริง” 2) กลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ เรื่อง “การเขียนโครงร่างการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากภายนอก” และ3) กลุ่มงานอำนวยการและยุทธศาสตร์ เรื่อง “เทคนิคการบริการที่ดี” โดยมีผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง และในทุกครั้งของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้ลงในเวปไซด์ KM ชุมชนของวิทยาลัย ฯ จากนั้นประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่เข้าไปแสดงความคิดเห็น ทำให้สามารถสรุปองค์ความรู้เป็นแนวปฏิบัติของวิทยาลัยใน 3 ประเด็น ดังนี้

1. การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning): การสะท้อนคิดและสถานการณ์เสมือนจริง

           การจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) : การสะท้อนคิดและสถานการณ์จำลองเสมือนจริง ในปีการศึกษา 2563 สามารถสรุปองค์ความรู้เป็นแนวปฏิบัติของวิทยาลัยใน 4 ประเด็น ดังนี้

                1.1 องค์ประกอบของการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)

    1.1.1 ประสบการณ์ (experience)

               1.1.2 การใคร่ครวญด้วยวิจารณญาณ (critical reflection)

    1.1.3 วาทกรรมที่เกิดจากการใคร่ครวญ (reflective discourse)

               1.1.4 การกระทำ (action)

1.2 กระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) (Mezirow, 2000)

    1.2.1 การเผชิญและตระหนักถึงภาวะวิกฤต

    1.2.2 การวิเคราะห์ตรวจสอบตนเอง

    1.2.3 การประเมินสมมติฐานตนเองเชิงวิพากษ์

    1.2.4 การตระหนักว่าตนและบุคคลอื่นๆ ก็มีการปรับเปลี่ยนกรอบความคิดในทํานองเดียวกัน

    1.2.5 การค้นหาทางเลือกของบทบาท ความสัมพันธ์และแนวทางการปฏิบัติใหม่

    1.2.6 การพัฒนาแผนปฏิบัติการ

    1.2.7 การศึกษาหาความรู้และทักษะเพื่อการดำเนินการตามแผน

    1.2.8 การทดลองปฏิบัติตามแผน

    1.2.9 การพัฒนาขีดความสามารถและความเชื่อมั่นในตนเองตามบทบาทใหม่

    1.2.10 การบูรณาการมโนทัศน์ใหม่ให้เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตอย่างเป็นหนึ่งเดียว

1.3 วิธีการจัดการเรียนการสอนที่นำไปสู่การเรียนรู้สู่เปลี่ยนแปลง

      1.3.1 การสะท้อนคิด (Reflection practice) 

             1) รูปแบบการสะท้อนคิดของกิ๊บส์ (Gibbs) 

            2) รูปแบบการสะท้อนคิดของ Discroll

      1.3.2 สถานการณ์จำลองเสมือนจริง (Simulation Based Learning)

            1) Prebrief ปฐมนิเทศ ชี้แจงรายละเอียด 

           2) Scenario ปฏิบัติในสถานการณ์ 

           3) Debreif สรุปผลการเรียนรู้ 

     1.3.3 การผสมผสานแนวคิด Transformative Learning และ Reflection practice เข้าด้วยกัน

           1) Concrete Experience ให้เผชิญภาวะวิกฤติที่ทำให้สับสน

           2) Reflection Observation ตรวจสอบความรู้ตนเอง ประเมินเชิงวิพากษ์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

           3) Abstract Conceptualization สำรวจหาบทบาทใหม่ พัฒนาแผน และหาความรู้เพิ่ม 

           4) Active Experimentation ทดลองปฏิบัติ พัฒนา และบูรณาการเข้ากับวิถีชีวิต 

               1.3.4 กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา

                      1) กิจกรรม Check in ในตอนเช้าก่อน Pre conference

                      2) กิจกรรม Check out ในตอนเย็น Post conference

                      3) กิจกรรม ฟังอย่างใคร่ครวญ

                      4) กิจกรรม กงล้อสี่ทิศ

                       5) กิจกรรมศิลปะ และ สุนทรียสนทนา

                      6) กิจกรรมสัมผัสธรรมชาติ

2. การเขียนโครงร่างการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากภายนอก

          การจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการเขียนโครงร่างการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากภายนอก ในปีการศึกษา 2563 สามารถสรุปองค์ความรู้เป็นแนวปฏิบัติของวิทยาลัยใน 3 ประเด็น ดังนี้

          2.1 มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ในการจะแสวงหาทุนสนับสนุนการวิจัยจากภายนอกสถาบัน 

                2.1.1 ชอบความท้าทาย อยากลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ   

               2.1.2 เพื่อเพิ่มคะแนนตัวชี้วัดประกันคุณภาพการศึกษาด้านการวิจัยของสถาบัน 

          2.2 มีหน่วยสนับสนุนที่เข็มแข็ง

               2.2.1 กัลยาณนิมิต (เพื่อน) หรือเครือข่าย

               2.2.2 องค์กรสนับสนุน (กลุ่มงานวิจัย) 

          2.3 มีการดำเนินการที่ดี 

               2.3.1 ทีมดี คือ คุยกันรู้เรื่อง มีภูมิความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา เป็นสหวิชาชีพ และกำหนดบทบาทในการดำเนินงานชัดเจน เช่น PI, co-researcher

               2.3.2 ศึกษาดี คือ Theme วัตถุประสงค์ timeline แบบฟอร์ม และระเบียบต่าง ๆ ของแหล่งทุน

               2.3.3 ลงมือเขียนทันที โดย ร่างเค้าโครงของโครงร่างวิจัย แบ่งงานกันเรียบเรียง ตรวจสอบความสมบูรณ์ อดทนแก้ไขจนโครงการเป็นที่น่าสะดุดสนใจของแหล่งทุน 

               2.3.4 อยู่ในเวลา คือ ส่งโครงร่างและแก้ไขโครงร่างให้ทันกำหนดเวลาของแหล่งทุน

          2.4 มีเคล็ดลับ (ที่ไม่ลับ) “เทคนิค 11 ต.” ให้ตรงเป้าเพื่อขับเคลื่อนการขอทุนวิจัยภายนอกสถาบัน ดังนี้ 

             2.4.1 ต. ที่ 1 “ต้อง” ผู้วิจัยอยู่ในสถานการณ์ต้องขอทุนเพื่อนเป้าหมายขององค์กร

   2.4.2 ต. ที่ 2 “ตื้อ” กลุ่มงานวิจัยตื้อนักวิจัย ผลักดัน สนับสนุนให้มีการขอทุนภายนอก 

   2.4.3 ต. ที่ 3 “ตอบรับ” นักวิจัยตอบรับการตื้อของกลุ่มงานวิจัยด้วยการเขียนโครงร่างวิจัย

   2.4.4 ต. ที่ 4 “ตรีม” โครงร่างวิจัยที่ส่งขอทุนต้องตรงตามตรีมการวิจัยของแหล่งทุน

   2.4.5 ต. ที่ 5 “ตรง” นักวิจัยควรมีความเชี่ยวชาญตรงตามโครงร่างวิจัยที่ส่งขอทุน

    2.4.6 ต. ที่ 6 “ตาม” แบบฟอร์มทุกชนิดตรวจสอบให้สมบูรณ์ ถูกต้องตามที่แหล่งทุนกำหนด

   2.4.7 ต. ที่ 7 “ติดตาม” นักวิจัยควรติดตามไลน์กลุ่มผู้ประสานงานและบริหารจัดการในสิ่งที่ต้องทำ

   2.4.8 ต. ที่ 8 “เตรียม” นักวิจัยเตรียมวางแผนการดำเนินโครงการวิจัยเมื่อได้รับการอนุมัติ

   2.4.9 ต. ที่ 9 “ต่อ” นักวิจัยต้องไปต่อเมื่อได้รับการประสานให้ทำสัญญารับทุน

    2.4.10 ต. ที่ 10 “เติมเต็ม” นักวิจัยต้องจัดการเติมเต็มให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ตามที่ได้เซ็นสัญญากับแหล่งทุนไว้ “ทั้งนี้ควรคำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับหน่วยงานต้นสังกัดหากทำผิดสัญญาที่ให้ไว้กับแหล่งทุน

              2.4.11 ต. ที่ 11 “ติดใจ” นักวิจัยควรทำให้ทีมติดใจในการทำงานร่วมกัน ทุกคนได้ประโยชน์ ช่วยเหลือกัน จากยาขมจะกลายเป็นงานประจำ

3. เทคนิคการบริการที่ดี

          การจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นเทคนิคการบริการที่ดี ในปีการศึกษา 2563 สามารถสรุปองค์ความรู้เป็นแนวปฏิบัติของวิทยาลัยใน 2 ประเด็น ดังนี้

          3.1 พัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ให้บริการที่ดี

              3.1.1 มีทัศนคติที่ดีต่องาน ได้แก่ รัก มีความสุข และสนุกกับงานที่ทำ

             3.1.2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่ทำ 

             3.1.3 มีความตั้งใจอยากให้บริการที่ดี 

3.2 พุทธชินราช Service Mind 

             3.2.1 Make believe เชื่อในงานที่ทำ มีความสุขและรักในงานบริการ

             3.2.2 Insist ยืนหยัดในสิ่งที่ทำ แม้เจอผู้รับบริการตำหนิ ต่อว่า เอาแต่ใจ ก็ทำงานจนสำเร็จ

             3.2.3 Necessitate ผู้รับบริการคือคนสำคัญ ไม่แบ่งแยกหรือเลือกที่รักมักที่ชัง

             3.2.4 Devote อุทิศตนให้กับงานที่ทำ ทุ่มเททำงานด้วยหัวใจบริการอย่างเต็มที่

 

หมายเลขบันทึก: 691221เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2021 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2021 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

Transformative Learning เป็นวิธีการสอนที่น่าสนใจมากเลยคะจะนำไปปรับใช้ต่อไปคะ ขอบคุณสำหรับสาระดีๆนี้นะคะ

ทั้ง 3 ประเด็นเป็นองค์ความรู้ที่ดีมากๆคะ สามารถนำมาปรับใช้ทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอนและตนเอง ขอบคุณสำหรับสาระดีๆคะ

ได้แนวทางใหม่ๆๆในการจัดการเรียนการสอน ขอบคุณสาระดีดีค่ะ

เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากหลายภาควิชา เพื่อนำมาปรับใช้ต่อไปดีมากค่ะ🙂😇

มีประโยชน์ในการเสริมความรู้เพื่อพัฒนางาน

สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยได้ดีมากเลยค่ะ

มีประโยชน์ในการพัฒนางานต่อไป

ชลลดา ติยะวิสุทธิ์ศรี

เทคนิคที่ได้จากกระบวนการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและการออกแบบการจัดการเรียนการสอนได้อย่างดี

เป็นการแลกเปลี่ยนที่สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีค่ะ

นฤมล เอกธรรมสุทธิ์

ทำให้ได้ความรู้และมุมมองที่กว้างขึ้น เข้าใจงานด้านอื่นมากขึ้น

วิลาวัณย์ สายสุวรรณ

“การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) : การสะท้อนคิดและสถานการณ์เสมือนจริง” เป็นวิธีการสอนที่ดีมาเลยคะ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาคทฤษฎีได้ดีมาก ช่วยให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น เข้าใจสถานการณ์ เข้าใจตนเอง สามารถวิเคราะห์ข้อดีและข้อควรพัฒนาในการดูแลผู้ป่วยและให้การพยาบาลที่ดียิ่งขึ้นคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท