การเล่นแร่แปรธาตุของความใจบุญ: ว่าด้วยชนชั้นและพุทธศาสนาในภาคเหนือของประเทศไทย ตอนที่ 5


การทำบุญ: อาวุธของคนอ่อนแอ

นอกจากจะรวมถึงนิยามแบบแคบของผู้ให้และผู้รับแล้ว กระบวนทัศน์จึงเน้นไปที่การเลือกเองว่าจะทำหรือไม่ทำบุญในส่วนของผู้รับ ดังนั้นคำอธิบายที่พื้นฐานสำหรับการถวายของจึงเน้นไปที่ความปรารถนาของชาวบ้านในการเกิดมาในสภาวะที่ดี เพื่อพัฒนาสถานภาพของตนในโครงสร้างแบบเหลื่อมล้ำอันศักดิ์สิทธิ์ การได้รับอำนาจศักดิ์สิทธิ์มาคุ้มกันตัว การได้รับเสียงสรรเสริญจากสังคม การได้รับจิตใจที่เป็นบุญและมีความสุข การสะสมบุญกับพวกเขาและพ่อแม่ที่ตายไปเพื่อไปเกิดในสถานภาพที่ดีและร่ำรวยในชาติต่อไป และการได้รับอายุยืน สุขภาพที่ดี ความร่ำรวยและความสำเร็จ ตลอดจนการแต่งงานและครอบครัวที่มีความสุข Russell Sinemore และ Donald Swearer หลังจากพิจารณาว่าจะมีข้อขัดแย้งอันใดในนิกายพุทธหรือไม่ ได้ข้อสรุปว่า หากจะมีข้อข้อแย้งอันใดมีอยู่ เหตุผลเชิงจริยธรรมเกี่ยวกับหลักการความยุติธรรมจะไม่มีอยู่ ยกเว้นแต่ “คุณธรรมของปัจเจกบุคคลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น”

โดยการวาดภาพการทำบุญว่าเกี่ยวกับการไตร่ตรองอย่างสุขุมของผู้ให้ ดังนั้นบทบาทของคนจนในการปรับพฤติกรรมของตนให้เข้ากับคนร่ำรวยจึงถูกละทิ้ง การวาดภาพแบบนี้ละทิ้งจริยธรรมในการตอบสนองต่อสังคม และการทำบุญเป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้รับ ซึ่งอยู่ในเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบกว้างๆ เส้นระหว่างอำนาจนำและการต่อต้านจึงอยู่อย่างไม่แจ่มชัด ชนชั้นที่ต่ำกว่าแทบจะไม่เคยแสดงอาการเสี่ยง เพื่อแสดงถึงการต่อต้านโดยเปิดเผยเลย แต่อย่างที่ Antonio Gramsci เขียนไว้ “ไม่ต้องสงสัยเลยว่า อำนาจนำจะเอาแต่ประโยชน์ของตนเอง และแนวโน้มของกลุ่มที่ใช้อำนาจนำ และดุลยภาพที่เป็นการประนีประนอมกำลังจะถูกสร้าง” ดังนั้นอุดมการณ์อำนาจนำจะต้องปรากฏเพื่อสนับสนุนผลประโยชน์ของชนชั้นสูง และกลุ่มชนชั้นรอง ที่การยินยอมหรือการสนับสนุนจะถูกสร้าง E.P. Thompson สรุปถึงความคลุมเครือที่เป็นผลที่ได้ค่อนข้างดี นั่นคือ “แม้กระทั่งพวกเสรีนิยมและการกุศลนิยมอาจถูกมองว่าเป็นการกระทำที่มีการคำนวณถึงการอ่อนข้อให้ชนชั้นในนิยามของความขาดแคลนและความอดอยากที่ได้คำนวณไว้ก่อนแล้วโดยมวลชน นั่นคือ สิ่งที่ถูกให้คือสิ่งที่ได้รับ

David Little และ Summer Twiss ได้เขียนว่า “จริยธรรมนำเสนอสิ่งที่เราเรียกว่า ปัญหาของการร่วมมือในหมู่คนเห็นแก่ตัว ซึ่งจะเป็นกลุ่มหรือบุคคลที่แข่งขันกันและขัดแย้งกันเสมอ” ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องของการต่อรองซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งคนรวยและคนจนได้อ้างอิงว่ามีหลักการทางจริยธรรมร่วมกัน แต่จริยธรรมอาจเป็นอาวุธของคนจนให้สู้กับคนรวยได้ ดังที่ James C. Scott อธิบาย อุดมการณ์ที่เป็นที่ครอบงำจะฉีกหน้าผลประโยชน์ที่เป็นด้านบวก นั่นเป็นเพราะว่าอุดมการณ์รองจะตีความสิ่งต่างๆด้วยตนเอง และสัญญาที่อุดมการณ์หลักจะมีต่อมันในเบื้องแรก การทำกุศลในพุทธ ถึงแม้ว่าจะเป็นการให้ความชอบธรรมกับคนรวย แต่ก็ยังมีแรงกดทางศีลธรรมต่อคนรวยว่าจะต้องสุภาพด้วย พ่อค้าที่มีชื่อเสียงในชาวพุทธคือสุทัตตะที่ได้แบ่งปันความร่ำรวยของเขาไปให้คนอื่นๆ เขาได้คำชมเชยจากพุทธะและมีชื่อเสียงที่น่าภาคภูมิใจคืออนาถบิณฑิก ซึ่งแปลว่า เขาเป็นคนที่ให้อาหารกับคนยากจนและคนที่ไม่มีอำนาจ พระราชวรมุนี หนึ่งในพระที่มีชื่อเสียง เขียนไว้ว่า การสะสมความร่ำรวยเป็นบาป ยกเว้นแต่คนรวยเป็นคนให้ทาน หรือเป็นทรัพยากรให้กับสังคม หรือเป็นเนื้อนาที่ความร่ำรวยเพิ่มระดับขึ้นไปเพื่อคนที่ตามมาข้างหลัง”

แรงกดดันทางสังคมของศีลธรรมถูกกระตุ้นด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าการประกอบพิธีกรรมการทำบุญเป็นสาธารณะหรือต้องการให้สาธารณะเข้ามาชื่นชม Keyes สังเกตว่าการประกอบการทำบุญเป็นทางหนึ่งของการได้รับคำชมเชยจากสังคม เขาเขียนว่า “คนทำบุญย่อมอยู่ในสายตาคนอื่น การตระหนักรู้ทางสังคมว่าเป็นคนมีเมตตาใจดี” โดยนัยยะเดียวกัน Thomas Kirsch ยังวิจารณ์ว่า “ความเป็นสาธารณะที่รอบล้อมพิธีกรรมชาวพุทธอยู่นั้นก็คือ ผลประโยชน์ทางศาสนาเชิงปัจเจกบุคคลที่มีมากขึ้น และจุดมุ่งหมายของมันจะเกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีกรรมทั้งสิ้น พิธีกรรมเหล่านี้จะแสดงออกคุณค่าทางศาสนาและสังคมร่วมกัน” ความเป็นสาธารณะที่รอบล้อมพิธีกรรมทำบุญขนาดใหญ่กดดันให้ชนชั้นสูงต้องมีความสุภาพซึ่งสอดคล้องกับวิธีปฏิบัติ และยืนยันเชิงสาธารณะของคุณค่าของความใจดีดังกล่าวด้วย

การป้องกันวิญญาณและการกล่าวโทษพ่อมดยิ่งกระตุ้นให้จำเป็นต้องมีจริยธรรมของความใจดีเข้าไปอีก ถึงแม้ว่าจะเหลือน้อยในทุกวันนี้ พ่อมดและรูปแบบอื่นๆของการห้ามวิญญาณเป็นคำอธิบายทั่วไปของความเจ็บป่วยและโชคร้าย บางครั้งหมอผีจะดึงสกัดพวกผีโดยการเฆี่ยนคนไข้ ออกชื่อวิญญาณที่เข้ามาสิงหรือแม่มด ในทางภาคเหนือของประเทศไทย พ่อมดจะเป็นคนที่ร่ำรวย ที่เรียกกันว่า ผีกะ (ผีที่โลภ) ดังที่ Hamlett อธิบาย

มีการกล่าวกันว่าผีเหล่านี้เกิดมาจากคนจนที่ตายไปแล้ว จิตวิญญาณของคนจนที่ตายเหล่านี้จะเกลียดคนที่ไม่ให้อาหารหรือไม่ให้ที่อยู่กับพวกเขา เมื่อพวกเขาตายจึงกลับมาหลอกหลอนเพื่อนบ้าน

ผีที่โลภเหล่านี้จะถูกขับออกไปจากหมู่บ้าน และทรัพย์สมบัติที่ผีเหล่านี้สิงสถิต โดยนัยยะเดียวกัน เมื่อเจ้าผู้ปกครองของเชียงใหม่ล้มป่วย คนที่ติดต่อกับจิตวิญญาณได้ ซึ่งเป็นสมาชิกของราชวงศ์ บอกว่า “จิตวิญญาณไม่พอใจการที่เขากดขี่ประชาชน และแนะนำให้เขายกเลิกภาษีที่เก็บมาเกินนี่ซะ”

ความผิดพลาดของชนชั้นสูงที่ดำรงด้วยสัญญาที่ไม่ชัดเจนในรหัสทางจริยธรรมของตนเองย่อมมาซึ่งการนินทาและการวิจารณ์อยู่เป็นประจำ ดังที่หนังสือชื่อ “การเมืองของการมีชื่อเสียง” ของ F. G. Bailey ดังที่ Keyes ได้เขียนไว้ “ชาวบ้านต้องอาศัยการเคารพยกย่องทางสังคม และการดูถูก ในฐานะเป็นวิธีการหลักในการกระตุ้นให้เกิดการยอมรับทางบรรทัดฐานทางสังคม Keyes พรรณนาถึงหมู่บ้านที่ร่ำรวยที่มีโรงสี, ร้านค้าในหมู่บ้าน, รถบรรทุก, หมูฝูงใหญ่, และพื้นดินของตนเอง ถึงแม้ว่าเขาจะใจดีบริจาคให้กับชุมชนของเขา แต่เขายังคงให้การสนับสนุนกับการประกอบพิธีกรรมขึ้นบ้านใหม่ด้วย ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะใจกว้างต่อชุมชนปานใด แต่ก็ยังเน้นการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่เน้นญาติและสนับสนุนกับครอบครัว ในขณะที่คนหลายคนเคารพในความขยัน “แต่ก็มีอีกหลายคนพูดว่าเขาเอาแต่หาเงิน และบางครั้งก็สูบฉีดชาวบ้านคนอื่นๆด้วย”

ถึงแม้ว่าจะมีการกล่าวโทษถึงความเห็นแก่ตัว และส่งเสริมให้เกิดการไม่มีตัวตนขณะกระทำบุญในชีวิตทางจริยธรรมของชาวบ้านก็ตาม แต่การคุกคามทางการก็ยังดำรงอยู่เสมอ ประวัติศาสตร์ได้บันทึกถึงการลุกฮือของชาวนาที่เร้าใจอยู่เสมอ ไม่ใช้เร้าใจอย่างเดียว  แต่มีประสิทธิภาพไม่น้อยเลย เช่น การขโมย และการทำลายทรัพย์สิน โดยมากจะมีสหสัมพันธ์กับการขาดแคลน ระหว่างการอดอยากในลำปางปี 1892 Taylor ได้จดไว้ว่า จะไม่มีใครกล้าเดินทางจากเชียงใหม่ไปลำปางที่เป็นกลุ่มที่น้อยกว่า 50 คน เพราะว่าจะ “มีโจรเที่ยวปล้นเมือง ขโมยคนหรือกลุ่มที่ไม่ได้ป้องกัน” เขายังเสริมอีกว่า “บ้านคนรวยที่มีข้าวเก็บไว้ในถัง และไม่ขายกับคนที่เดือดร้อน พวกคนโกรธจะเผาข้าวและถังไปพร้อมๆกัน ระหว่างช่วงนั้น ชาวบ้านบอกฉันว่าได้ซ่อนข้าวในหมอนและชายคาบ้านของพวกเขา แม้กระทั่งข้าวเหนียวที่จุ่มในหม้อที่ต้องข้างคืนเพื่อเตรียมหุงในวันต่อไปจะไม่มีเก็บไว้เป็นอันขาด

ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 ชาวบ้านก็ยังคงใช้กลวิธีเดิมๆ ในขณะที่ราคาข้าวเพิ่มขึ้นกว่าเมื่อตอนเก็บเกี่ยวปี 1978 ฉันได้ยินชาวบ้านที่ไม่มีที่ดินเริ่มใคร่ครวญทางเลือกอีกหลายๆทาง นับตั้งแต่การขโมยไปจนถึงการประท้วงที่อำเภอหรือจังหวัดและการเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ด้วย ชาวบ้านบางคนโจมตีรถบรรทุกข้าว ในสถานการณ์หนึ่ง ฉันได้ไปเยี่ยมหญิงชาวบ้านที่ร่ำรวยคนหนึ่ง ซึ่งขายข้าวเปลือกจำนวนน้อยให้กับชาวบ้านที่ยากจน โดยปกติแล้ว ชาวบ้านที่รวยมักจะขายข้าวที่เป็นส่วนเกิน (ข้าวที่เหลือกินเหลือใช้) ในปริมาณที่มากกว่า จนไม่ต้องปีนขึ้นไปในยุ้งในแต่ละวันเพื่อขายเป็นจำนวนน้อยๆ ในขณะที่เธอลงมาจากยุ้ง และสังเกตเห็นการปรากฏตัวของฉัน เธอก็เริ่มบ่นว่า หากคนร่ำรวยไม่ช่วยเหลือคนยากจนและเพื่อนบ้านในการขายข้าวเป็นจำนวนน้อยๆที่พวกเขาพอกินพอใช้ ในไม่ช้าคนนั่นแหละจะมาขโมยและปล้นยุ้งโดยกำลัง โดยการที่เธอเป็นคนใจกว้าง เธอจึงสามารถมีความสุขกับการทำบุญของเธอได้, ได้รับการเคารพ, ความกตัญญูกับคนที่โชคไม่ดีเหมือนเธอ, และเธอยังสามารถควบคุมยุ้งฉางในความดูแลของเธอเอง ดังนั้นแม้กระทั่งการกระทำแห่งความเมตตายังคงมีตัวบทซ้อนๆกันอยู่หลายตัวบท คนรวยจะมีสุขเพราะว่าการกระทำทำให้พวกเขารู้สึกดีและพิสูจน์ถึงกรรมดีที่เขาทำด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจากคนจนที่ทำให้พวกเขาต้องบริจาค

ถึงแม้ว่าการกระทำกุศลจะเป็นเครื่องมือของคนอ่อนแอ แต่แรงกดดันทางจริยธรรมไม่พอที่จะลบความแตกต่างจากทางเศรษฐกิจหรือการเมืองระหว่างคนรวยกับคนจนไปได้ การกระทำกุศลปิดบังความไม่เท่าเทียม ภายใต้หน้าตาของความชอบธรรม ดังนั้นชนชั้นสูงสามารถมีใจกว้างขวางกับการให้ข้าวกับคนยากจน หรือใส่บาตรให้พระ หรือสถานะของการกระทำกุศลเปิดโอกาสให้คนรวยรักษาได้ทั้งฉากและจำนวนที่จะให้ภายใต้การกระทำของตนเอง คุณลักษณะของกลไกเชิงอุดมการณ์ที่เป็นตัวครอบงำ การกระทำกุศลจะเปิดให้เห็นถึงการบูชายัญและการยับยั้งโดยคนรวย แต่สัมผัสไม่ไปถึงแก่นแกน การกระทำกุศลเชื่อมโยงทั้งคนมีและคนไม่มี คนให้กับคนรับ ในความสัมพันธ์แบบของขวัญจะถูกบูชายัญ เพื่อคงไว้ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม 

สถานะของการกระทำกุศลทำให้ความตึงเครียดระหว่างชนชั้นลดลง ในแง่หนึ่งการกระทำกุศลปกป้องสถานภาพที่เหนือกว่าของคนรวย ในอีกแง่หนึ่ง มันทำให้คนที่ต้องการมากที่สุดลดความอยากลง เพราะทำให้คนยากได้รับการบรรเทาเพียงชั่วครั้งคราวจากความรุนแรงของความไม่เทียมกันทางเศรษฐกิจ การกระทำกุศลไม่ใช่เกี่ยวข้องกับอภิปรัชญา หรือเรื่องโลกหน้าเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับความทุกข์ยากทางกายและในโลกนี้เท่านั้น ในทางประวัติศาสตร์แล้ว การกระทำกุศลทำหน้าที่เป็นผลลัพธ์ของการผ่อนคลายหรือการบรรเทาเบาบางทางการเมืองระหว่างชนชั้น ซึ่งทั้งคนรวยและจนจะไม่มีผู้ชนะและผู้แพ้ คนรวยจะให้บริบทที่ไม่จำกัด และควบคุมเป็นด้านหลัก หรือมิฉะนั้นพวกเขาจะถูกมองว่าใจแคบและการได้การเสี่ยงจากการลุกฮือของการต่อต้านจากชาวนา การกระทำกุศลไม่ใช่เป็นผลของความใจกว้างของคนรวยที่ต้องการจะให้โชคดีในการเกิดใหม่เท่านั้น แต่ยังเกิดจากแรงกดดันทั้งทางสังคมและจริยธรรมของคนจน

แปลและเรียบเรียงจาก

Katherine A. Bowie. The Alchemy of Charity: Of Class and Buddhism in Northern Thailand.

หมายเลขบันทึก: 691037เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2021 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2021 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท