องค์กรประเมินภายนอกที่ต้องศึกษา และตัวเลือกสำหรับโรงเรียนหลังพรบ.การศึกษา 2562 ประกาศใช้


การประเมินภายนอกหลังจากที่พรบ.การศึกษา 2562 ประกาศใช้สถานศึกษา หรือโรงเรียนมีโอกาสที่จะเลือกองค์กรที่จะเข้ามาประเมินภายนอกได้ หลายๆ องค์กรที่ดำเนินการประเมินการประเมินภายนอกในประเทศไทย และให้การรับรองในประเทศไทยอยู่แล้ว อย่างน้อย 4-6 องค์กร อาทิ 1. The Council of International Schools (CIS) 2. Education Development Trust (EDT)    3.Education Development Trust (EDT)  4.New England Association of Schools and Colleges (NEASC) 5. OFSTED ซึ่งทำหน้าที่ประเมินโรงเรียนนานาชาติ  ในโอกาสอันใกล้ดูเหมือนสถานศึกษา หรือโรงเรียนจะมีทางเลือกใหม่ๆ แต่การจะได้รับรองจากองค์กรเหล่านี้ การประกันคุณภาพภายในก็คงจะต้องมีการปรับองคาพยพ กันขนานใหญ่เหมือนกัน

ถ้าพูดถึงการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาในระดับโลก ก็ต้องพูดถึงอเมริกา วันนี้มีเรื่องมาเล่า ถึงการประเมินสถานศึกษาในโรงเรียนที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญและร่วมประเมิน นั้นคือนายสมสุข เศรษฐิน Board of Trustee ของ International School Bangkok (ISB)  ๕ วาระโรงเรียนนานาชาติ ISB ก่อตั้งในประเทศไทย ตั้งแต่ปี ๒๔๙๔ ได้รับ accreditation จาก Westem Association of School and Colleges ซึ่งเป็นองค์กรหลักที่ทำการ accredit  K-12 ในรัฐ California สหรัฐอเมริกาและสถาบันการศึกษาอื่นๆ ทั่วโลกและเป็น Board of Trustee คนไทยคนแรกของโรงเรียนที่ได้รับความไว้วางใจจาก Board of Trustee เป็นผู้นำคณะทำงานยกร่าง พรบ. โรงเรียนเอกชน 2554 ในนามสมาคมโรงเรียนนานาชาติ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง พรบ. โรงเรียนเอกชน ๒๕๕๐ จนผ่านสภาได้สำเร็จ เล่าให้ฟังว่า

สถาบันการรับรองคุณภาพของสหรัฐอเมริกา มี ๖ สมาคมหลัก ประกอบด้วย (๑) New England Association of Schools and Colleges (1885) (๒) North Central Association of Colleges and Schools (1895) (๓) Southern Association of Colleges and Schools (1895) (๔)  Northwest Association of Schools and Colleges (1917) (๕) Middle States Association of Colleges and Schools (1919)และ(๖)  Western Association of Schools and Colleges (1962) โดยสมาคมทั้ง ๖ แห่งดังกล่าวทำหน้าที่ประเมินทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัย และมีสถาบัน CHEA.org (1991) ให้การรับรองอีกชั้นหนึ่ง โดยสมาคมทั้ง ๖ แห่งดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นจากการรวมตัวของโรงเรียนที่อยากดี พร้อมยกตัวอย่างสมาคม New England Associations of Schools and Colleges - NEASC แบ่งออกเป็น ๔ หน่วยงาน ๑. โรงเรียนสามัญภาคบังคับของรัฐ และ อาชีว (Commission on Public Schools)ได้รับงบประมาณจากรัฐ ๒. โรงเรียนภาคบังคับของเอกชน (Commission on Independent Schools) ไม่ได้รับงบจากรัฐเลย ๓. โรงเรียนภาคบังคับนานาชาติ (Commission on International Education)ไม่ได้รับงบจากรัฐเลย ๔. อุดมศึกษา (Commission of Higher Education) NECHE

          โดยจุดประสงค์ของการประเมินคุณภาพของ NEASC – CPS Commission on Public Schools เป็นการยืนยันว่าโรงเรียนมีโครงสร้างการบริหาร นโยบาย และระบบที่สามารถสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิผลอย่างยั่งยืน ทำการหาลักษณะเฉพาะของโรงเรียน จุดแข็ง และสิ่งที่จะต้องปรับปรุง มีการกำหนด สมรรถนะ องค์ความรู้ ค่านิยม เพื่อที่จะทำให้มั่นใจว่านักเรียนจะประสบความสำเร็จในอนาคตได้

 ทั้งนี้ปรัชญาของกระบวนการ Accreditation เกิดจากความต้องการยกระดับคุณภาพโรงเรียนของตัวเอง เพื่อให้สาธารณมั่นใจว่าสถานศึกษามีโครงสร้างการบริหาร มีระบบที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ในด้านการบริหารสมาคมมีกรรมการมาจากการคัดเลือกตัวแทนของโรงเรียนสมาชิก ทำการบริหารกระบวนการ การกำหนดมาตรฐาน การกระจายองค์ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ และสัมมนา การอบรมผู้ตรวจ การพิจารณาและการจัดการข้อมูลผลการประเมิน การร้องเรียน การแก้ไข การปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน การตัดสินมาตรฐานคือการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำสุดที่จะยอมรับได้ ดังนั้นในแต่ละประเด็นหลักจึงมีการตัดสินว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ไม่ได้ให้คะแนน ๑-๕ หากพบว่ามาตรฐานสูงกว่าถือว่าผ่านแต่หากต่ำกว่ามาตรฐานถือว่าไม่ผ่านข้อนั้นๆ ส่วนประเด็นรองจะมีการประเมินระดับความก้าวหน้าของแต่ละประเด็น เกณฑ์มาตรฐานการประเมินคุณภาพได้จากงานวิจัย และประสบการณ์ที่ได้จากการรวบรวม Best Practices จากสมาชิกด้วยกันเอง ซึ่งจะมีกระบวนการแก้ไข ปรับปรุง อย่างสม่ำเสมอ มีกระบวนการ peers Review เป็นการเรียนรู้จากเพื่อนครูและผู้บริหารการศึกษาอาวุโสอาสาสมัครของสมาคมที่มีประสบการณ์ในการทำ accreditation และการปรับปรุงตามแผน มีผลการทำงานปรับปรุงโรงเรียนของตัวเองที่มีประสิทธิผล โดยใน ๓ ปีแรกสมาคมจะแต่งตั้งทีมพี่เลี้ยงเพื่อช่วยให้โรงเรียนเข้าใจมาตรฐานและกระบวนการประเมินมีโครงสร้างที่เหมาะสมในการทำการปรับปรุงตนเองให้เข้าเกณฑ์มาตรฐาน ก่อนที่จะมีการตรวจอย่างเป็นทางการ การทำรายงานการประเมินตนเอง ไม่ใช่การกรอกรายงานโดยครูอาวุโสน้อยสุดหรือจ้างเขียนเพื่อส่งหน่วยเหนือ และไม่ใช่งานที่ผอ.สั่งให้คนอื่นทำโดยที่ตัวเองไม่ได้เป็นผู้นำและไม่เข้าใจกระบวนการและเกณฑ์มาตรฐาน สมาคมจะมีการแต่งตั้งคณะผู้ตรวจ  ๖-๘ คนที่ไม่มีส่วนได้เสียทั้งทางตรงหรือทางอ้อมกับโรงเรียน โดยเลือกจากอาสาสมัครของสมาคมซึ่งแต่ละท่านมีงานประจำตามโรงเรียนที่เป็นสมาชิกปัจจุบันอยู่แล้ว มาทำการรับรองและแนะนำการปรับปรุงคุณภาพการเรียนรู้ของโรงเรียนสมาชิก เพื่อเป็นการสะท้อนจากมุมมองของผู้ชำนาญการจากภายนอก และสร้างความเชื่อถือ ไม่ได้ทำการตรวจตามรายการว่ามีหรือไม่มี แต่เป็นการสัมภาษณ์และดูหลักฐานเชิงประจักษ์ ว่าเป็นจริงตามรายงานการประเมินตนเองหรือไม่ เป็นการประเมินเชิงคุณภาพไม่ใช่ปริมาณ เมื่อโรงเรียนผ่านการประเมินจะมีการปรับสถานะจากสมาชิกชั่วคราวมาเป็นสมาชิก ซึ่งจะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการให้ความรู้กับสมาชิกอื่นและเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้เพิ่มเติมโดยสมัครเป็นผู้ตรวจอาสาหรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารสมาคมได้ ไม่มีการแบ่ง IQA หรือ EQA เพราะอิงมาตรฐานเดียว การทำEQA เป็นการยืนยันจากสมาคมเพื่อความน่าเชื่อถือเท่านั้น 

ตัวอย่างองค์ประกอบของกระบวนการหรือวงจรการดำเนินงานเพื่อการรับรองคุณภาพในรอบ  ๑๐ ปี ของโรงเรียนหลังจากที่สมาคมรับรองการประเมิน รับโรงเรียนเข้าเป็นสมาชิกชั่วคราวแล้ว โรงเรียนจะต้องจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการประกันคุณภาพ (Steering Committee) เพื่อผลักดันกระบวนการให้สำเร็จ ทำการประเมินตนเอง Self Reflection โดยปี 2019-2020 คณะทำงาน Self Review Committee 2020 การประชุมร่วม Collaborative Conference ในกลุ่มขนาดเล็กกับ Peer educators ซึ่งสมาคมเป็นผู้กำหนดให้ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง 2020-2021 การสร้างแผนพัฒนาและทำการปรับปรุงการดำเนินงานตามแผน หลังจากนั้นโรงเรียนต้องดำเนินการส่งรายงานสรุป Reflective Summary Report โดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีและดำเนินการตรวจเยี่ยมโดยคณะผู้ตรวจ Decennial Accreditation Visit ในปี 2020 New/revised Growth Plan  2023 Progress updates 2025-2028 การประกันคุณภาพรอบใหม่ New Cycle begins 2029  

พร้อมกันนี้นายสมสุขยังได้กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้ด้วยตนองตามปรัชญาของโรงเรียนในอเมริกา โดยระบุว่าเมื่อเด็กมีสมรรถนะพื้นฐานมาแล้วตั้งแต่ K-๘ พอเข้าชั้นมัธยมปลาย ก็ไม่มีการแบ่งสายวิทย์ สายศิลป์ เพราะทุกวิชาหลักยังเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่จำเป็น แต่เด็กสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัดไม่ใช่ตัดวิชาทิ้งไปเลย แต่ละวิชาจะมีการแบ่งระดับเนื้อหาเป็น ๓ ระดับ โดยการครอบคลุมเนื้อหามากขึ้น 

๑. ระดับพื้นฐาน (Physics, Pre-Calculus, Chemistry)       

๒. ระดับ honor (Honor Physics, Honor Pre-Calculus,Honor) 

๓. ระดับ Advanced Place (ซึ่งมีการกำหนดเนื้อหาหลักสูตรโดยองค์กรภายนอก College Board) สามารถสอบเพื่อใช้ข้ามวิชาวิทยาลัยปี ๑ ในบางคณะได้ 

๔ ระดับ Tutoring ในโรงเรียนชั้นนำ แต่ละสายจะมี track วิ่งตามสายของมันเอง โดยที่เด็กสามารถเปลี่ยนใจเลื่อนลงได้ใน Week ที่สองของภาคเด็กจะเรียนกับรุ่นพี่หรือรุ่นน้องในแต่ละวิชาไม่เหมือนกันเพราะเดินเรียนตามห้องของวิชาที่ลงเรียนมีความแตกต่างจากระบบ Fix ห้องเรียนอย่างมาก และที่สำคัญคือไม่มีห้องเด็กเก่ง ห้องเด็กไม่เก่ง 

นายสมสุขให้ข้อมูลต่อว่า Vision for Learning 2020 ของสมาคม NEASC – CPS ประกอบด้วย เกณฑ์มาตรฐาน ๕ หมวด ๓๒ ประเด็น สังเกตได้ว่าไม่มีคำว่า Teaching เลย โดย ๕ หมวด ๓๒ ประเด็นประกอบด้วย หมวด ๑ Learning Culture ประกอบด้วย ๗ ประเด็น หมวด ๒ Student Learning ๙ ประเด็น หมวด ๓ Professional Practices ๖ ประเด็น หมวด ๔ Learning Support ๕ ประเด็น หมวด ๕ Learning Resources ๕ ประเด็น 

          ทั้งนี้โรงเรียนต้องผ่าน ๖ ประเด็นหลักพื้นฐานก่อนที่จะดำเนินการขั้นต่อไป  

ประเด็นพื้นฐานนั้น เป็นขั้นต่ำสุดทีโรงเรียนพึงมี ๖ (Foundation Elements) เป็นข้อย่อยในประเด็นที่อยู่ใน มาตรฐานทั้ง  ๕ หมวด (๓๒ประเด็น)ซึ่งการประเมินประเด็นพื้นฐานนั้นมีความชัดเจนว่า ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน เท่านั้นเพราะเป็นการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาที่จำเพาะเจาะจงของโรงเรียนนั้นๆเมื่อผ่านจึงจะสามารถพัฒนาต่อยอดในหัวข้ออื่นๆในหมวดนั้นๆได้และประเด็นอื่น อาทิในมาตรฐานหมวด ๑ (มี๗ ประเด็น) วัฒนธรรมของการเรียนรู้ Learning Culture promotes shared values andresponsibility for achieving the school’s vision. จะต้องผ่านใน

ประเด็นพื้นฐานที่ ๑ ข้อ ๑.๑a โรงเรียนมีสภาวะแวดล้อม ที่ปลอดภัย ทั้งร่างกายและจิตใจ (Safe Environment) ตัวอย่างสิ่งที่ต้อง พิจารณา:ความเรียบร้อยความสะอาดของอาคารสถานที่มีมาตรการจัดการและการซ้อมกรณีเกิดเพลิงไหม้ หรือภัยอย่างอื่น การให้ความเข้าใจในเรื่องสุขอนามัยและความสะอาด มีกระบวนการตรวจตราอย่างสม่ำเสมอโดยดูจากบันทึกรายงาน นอกเหนือจากการเดินตรวจอาคาร สถานที่แล้ว ยังจะมีการสุ่มตรวจแผนลำดับการซ่อมหรืองานแจ้งซ่อมและงานปรับปรุงต่างๆ และสัมภาษณ์คนที่เกี่ยวข้องหรือ เด็กที่มีการรายงานอุบัติเหตุมีมาตรการทีป้องกันการกีดกัน การแกล้ง รังแก ในหมู่เด็กๆ และ ครู ไม่มีการแบ่งแยกเนื่องจาก เชื้อชาติ ศาสนา เพศสภาพและอื่นๆ มีมาตรการทีชัดเจน ยุติธรรม เสมอภาค มีการสื่อสารและเน้นย้ำถึงค่านิยมหลักในเรื่องเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอเป็นที่เข้าใจและรับรู้ของทุกคนในประชาคมโรงเรียน จะมีการยืนยันสิ่งต่างๆเหล่านี้ จากการดูเอกสาร รายงานการประชุม สุ่มสัมภาษณ์ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรอื่นๆของโรงเรียน สุ่มดูรายงานการทะเลาะวิวาท การลงโทษ เป็นต้น

ประเด็นพื้นฐานที่ ๒ ข้อ ๑.๒aต้องมีเอกสารแสดงถึงค่านิยมหลัก ความเชื่อ ในเรื่องการเรียนรู้ และคุณสมบัติพึงประสงค์ของของนักเรียน (Vision of the Graduate, Core Values and Beliefs) ตัวอย่างสิ่ง ที่ต้องพิจารณา:ค่านิยมหลักเป็นสิ่ง ที่ประชาคมโรงเรียนยึดถือด้วยความเข้าใจ อย่างเท่าเทียม เสมอภาค จากเอกสารการประชุม สื่อเอกสารรอบโรงเรียน มีการสุ่มสัมภาษณ์ถึงความเข้าใจของนักเรียน ครู และบุคลากรอื่น ๆในโรงเรียนและมาตรการเมื่อ ไม่ปฏิบัติตาม บันทึกการลงโทษทางวินัยนักเรียนและครูต้องมีความเข้าใจในนิยามและความเชื่อ ของ “การเรียนรู้” ซึ่งจะเห็นได้ตอนที่เยี่ยมสังเกตในห้องเรียน การปรับปรุงวิธีการสอน ปรับปรุงหลักสูตรและสื่อการสอนเพื่อสนับสนุนความแตกต่างในวิธีการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน สอนให้เด็กมีความเข้าใจในวิธีการเรียนรู้ที่ตนเองถนัด จะมีการตรวจบันทึกการประชุมของครูหัวหน้าหมวดวิชา ครูในชั้นปี และระหว่างชั้นปี และมีการสัมภาษณ์ครูถึงความเข้าใจในสิ่ง ทีระบุในบันทึก มีวิธีการในการปรับให้นักเรียนที่ตามไม่ทัน มีการสัมภาษณ์นักเรียนว่ามีรู้จุดประสงค์ของวิชาทีเรียนอยู่หรือไม่เข้าใจว่าเอาไปใช้ทำอะไร ใช้อย่างไร มีความเชื่อมโยงกับชีวิตจริงอย่างไรต้องมีเอกสารระบุคุณลักษณะอย่างชัดเจนของผู้สำเร็จการศึกษาว่าจะต้องมีสมรรถนะที่สามารถต่อยอดได้มีองค์ความรู้ มีความเข้าใจ มีลักษณะนิสัย ที่จำเป็นต่อความสำเร็จในอนาคต มีการให้แนะนำและสื่อสารให้กับนักเรียนและผู้ปกครองเพื่อพัฒนาให้ได้มาซึ่งคุณลักษณะเหล่านั้น ครูต้องตอบได้ว่าสื่อการสอนและกิจกรรมต่างๆรวมไปถึงวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนว่าไปเสริมสร้างข้อไหน อย่างไร และมีวิธีการประเมินอย่างไร

ในมาตรฐานหมวด ๒ (มี๙ ประเด็น) การเรียนรู้ของนักเรียนStudent Learning practices maximize the impact of learning foreach student. ๒.๒a ต้องมีเอกสารหลักสูตรที่มีรูปแบบแนวเดียวกันในทุกวิชาทุกแผนก ของโรงเรียน(Written Curriculum) แต่โรงเรียนต้องผ่านใน

ประเด็นพื้นฐานที่  ๓ ข้อ ๒.๒a มีเอกสารหลักสูตรที่มีรูปแบบแนวเดียวกันในทุกวิชาทุกแผนก ของโรงเรียน (Written Curriculum)ตัวอย่างสิ่งที่ทีต้องพิจารณา:การมีเอกสารเพื่อเป็นพื้นฐานที่จะใช้ในการปรับปรุงเพื่อ ให้บรรลุจุดประสงค์ของการเรียนรู้ในขั้น ต่อ ๆ ไปและเป็นเอกสารที่ใช้อ้างอิงโดยหมวดมาตรฐานอื่นๆซึ่ง ต้องบูรณาการกันทั้งหมด ตรวจดูเอกสารเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้น ในห้องเรียนและงานของนักเรียน ดูบันทึกการประชุมครูหมวดวิชา และสัมภาษณ์การรับรู้และความเข้าใจในจุดประสงค์ของครูและนักเรียน เป็นต้น

มาตรฐานหมวด ๓ (๖ ประเด็น) การจัดการเพื่อ การเรียนรู้ Professional Practices ensure that practices and structures are in place to support and improve student learning ๓.๑a ต้องมีเอกสารแผนการปรับปรุงที่เป็นปัจจุบัน (School Growth/ Improvement Plan)

ประเด็นพื้นฐานที่ ๔ ข้อ ๓.๑ a โรงเรียนต้องมีเอกสารแผนการปรับปรุงที่เป็นปัจจุบัน (SchoolGrowth/Improvement Plan) ตัวอย่างสิ่งที่ต้องพิจารณา:เป็นเอกสารที่สะท้อนว่าโรงเรียนมีการประเมินตนเองอย่างไร รู้จักตัวเองแค่ไหน เข้าใจในมาตรฐานขั้นต่ำหรือไม่ และได้ทำการประเมินอย่างถูกต้องและมีการจัดลำดับความสำคัญในสิ่งที่จะต้องแก้ไขรวมถึงผู้รับผิดชอบ กำหนดเวลาแล้วเสร็จในทุกหมวดมาตรฐานที่ต้องบูรณาการกันหมด มีการตรวจรายงานการประชุม ย้อนหลัง และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ดูความถี่ใน การประชุมและความคืบหน้าในแต่ละครั้ง

มาตรฐานหมวด ๔ (๕ ประเด็น) การสนับสนุนการเรียนรู้Learning Support ensures that the school has appropriate systems to support student learning and well-being. ๔.๑a ต้องมีกระบวนการจัดการและแผนการแก้ไข ในทุกกรณีที่ไม่ได้เป็นไปตามสิ่งที่ควรจะเป็น (Intervention strategies)

ประเด็นพื้นฐานที่ ๕ ข้อ ๔.๑ a ต้องมีกระบวนการจัดการและแผนการแก้ไข ในทุกกรณีที่ไม่ได้เป็นไปตามสิ่ง ที่ควรจะเป็น(intervention strategies) ตัวอย่างสิ่งที่ต้องพิจารณา:เด็กขาดความสนใจในห้อง เด็กตามบทเรียนไม่ทัน เด็กไม่ได้เป็นไปตามค่านิยมหลักที่กำหนด เด็กขาดสมรรถนะที่พึงประสงค์ที่กำหนดไว้ เด็กเลื่อนขึ้นชั้น มาโดยไม่มีความรู้พื้นฐานเพียงพอ โดยดูได้จากการตรวจดูงานของเด็กเหล่านั้น ดูวิธีการตรวจของครูว่ามีการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจ และถามหามาตรการที่มีประสิทธิผลในเงื่อนนเวลาที่เหมาะสมและการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง มีการสัมภาษณ์ครูและเด็กในกรณีต่าง ๆ ดูว่ามีการประชุมครูในหมวดวิชาว่ามีการเรียนรู้จากกันและกันหรือไม่มีการปรับขบวนการวัดผลและการเรียนในชั้นก่อนหน้าอย่างไรหากพบว่าเด็กเลื่อนนชั้นมาโดยขาดความรู้ มีการตรวจเยี่ยมมเพื่อสังเกตและปรับปรุงวิธีการสอนในห้องของครูแต่ละคนโดยผู้บริหารในความถี่ที่เหมาะสมและมีแผนพัฒนาเพื่อแก้ไขจุดอ่อนอย่างไร มีมาตรการอย่างไรกับครูที่ต่ำกว่ามาตรฐาน

มาตรฐานหมวด ๕ (๕ ประเด็น) ทรัพยากรที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ Learning Resources ensure that the school has the resources necessary to meet the learning needs of all students. ๕.๑ a ต้องมีอาคาร สถานที่ ที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้

ประเด็นพื้นฐานที่ ๖ข้อ ๕.๑ a อาคารสถานที ที่ เหมาะสม (School Site and Plant) ตัวอย่างสิ่ง ที่ต้องพิจารณา:เช่น โครงสร้างอาคาร สถานที่ ป้ายชี้บ่ง ราวกันตก ราวบันได พื้นต่างระดับ ความลื่นของพื้นผิว ปลั๊กไฟฟ้าและสวิตช์ต่างๆ อุปกรณ์และเครื่องเล่นที่เหมาะกับวัยของเด็ก แสงสว่าง การระบายอากาศ เสียงรบกวนสัตว์พาหะ อุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องทดลอง เครื่องกำจัดควันพิษจากสารเคมี อุปกรณ์ป้องกันร่างการระหว่างการทดลอง ถังดับเพลิง เครื่องล้างตา หน้า และส่วนอื่นของร่างกายเมื่อเกิดอุบัติเหตุสารเคมี ชั้นวางเคริ่องมือและการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ความคมของเครื่องเล่น อุปกรณ์ที่อาจจะทำให้บาดเจ็บได้ ฟิลม์ป้องกันเศษกระจกไม่ไห้บาดเมื่อแตก ฯลฯ นอกเหนือจากการเดินตรวจอาคาร สถานที่แล้วยังจะมีการสุ่มตรวจแผนลำดับการซ่อมหรืองานแจ้งซ่อมและงานปรับปรุงต่างๆ และสัมภาษณ์คนที่เกี่ยวข้องและดูรายงานอุบัติเหตุ

ลักษณะเด่นของการประเมินคุณภาพด้วยการทำ Accreditation

๑. ระบบของอเมริกามีวิวัฒนาการมากว่า ๑๓๖ ปีและมีการปรับปรุงมาตรฐานและกระบวนการอย่างสม่ำเสมอและมีการเผยแพร่ความรู้ต่อสาธารณะอย่างเปิดเผย

๒. สอนให้โรงเรียนมีกระบวนการปรับปรุงตัวเองอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน และรับผิดชอบด้วยตัวเอง เมื่อชำนาญแล้วก็มีส่วนร่วมในการช่วยโรงเรียนอื่นในการยกระดับคุณภาพและเรียนรู้ไปด้วยกัน หรือแม้กระทั่งมีส่วน

ร่วมในการปรับปรุงมาตรฐาน จึงเหมือนเพื่อนแนะเพื่อนมากกว่าที่จะเป็นครูตรวจให้คะแนนลูกศิษย์

 ๓. เป็นระบบที่เป็นไปตามบริบทของแต่โรงเรียนเพราะเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำ จะทำให้เหนือกว่าได้ แต่ต้อง

พิจารณาให้ครบ ๓๒ ประเด็นเพราะเชื่อมโยงกันหมด ทำให้เกิดบูรณาการ

 ๔. เราสามารถนำมาปรับใช้ได้โดยไม่ต้องลองผิดลองถูก

 ๕. เป็นการจัดหมวดมาตรฐานที่เป็น Outcome Based เน้นกระบวนการเรียนรู้ลงไปถึงระดับเด็กแต่ละคน ไม่มีการด้อยค่าโดยการแยกห้องเด็กเก่งเด็กไม่เก่ง

 ๖. เป็นการตรวจหาหลักฐานว่ามีการจัดการการเรียนรู้ การบริหาร และมีทรัพยากรทีจำเป็น อย่างเหมาะสมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชั้นเรียน ระดับคาบ/ตอนเรียน ระดับรายวิชา ระดับโมดูล ระดับหลักสูตรการศึกษา และระดับสถานศึกษา ความเข้าใจเรื่องการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในทุกระดับ และ ต้องได้รับการถ่ายทอดให้กับผู้เรียน ครู/ผู้ช่วยสอน ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสถานศึกษาให้รับรู้

๗. หากผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ  ๖ ประเด็น ก็จะเข้ากระบวนการปรับปรุงประเด็นอื่นๆอย่างละเอียดโดยไม่มีการให้คะแนนหรือระดับสถานะ (๕ดีมาก ๔ดี ๓พอใช้ ...) เพราะการมีระดับจะนำไปสู่การหาค่าเฉลี่ย ของคะแนนเพื่อมากำหนดเกณฑ์ผ่านซึ่งไม่มีความหมายในเชิงคุณภาพแต่อย่างใด แต่จะเป็นการประเมินความก้าวหน้าของแต่ละประเด็นเพื่อติดตามขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องและจะต้องรายงานความก้าวหน้าทุก ๓ ปีในทุกประเด็น

 ๘. เป็นกระบวนการทำงานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน

o จากสอนให้เสร็จเป็นสอนให้สำเร็จในมุมครูอาจารย์

o จากเรียนให้จบเป็นการเรียนให้บรรลุ ใช้ความรู้ได้จริงในมุมผู้เรียน และ

o จากโรงเรียนที่ไม่มีใครอยากเข้าเป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานสูงในมุมผู้บริหาร

 

หมายเลขบันทึก: 691013เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2021 08:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2021 08:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท