ทัศนะวิภาษวิธีในเรื่องพัฒนาการทางสังคม: เฮเกล และ มาร์กซ์


ทั้งผู้มองโลกในแง่ดีและแง่ร้ายต่างซื้อภาพของพัฒนาการในสังคมมนุษย์ทั้งสิ้น ทั้งคู่เชื่อในพัฒนาการด้านบวกของมนุษย์, วิวัฒนาการของมนุษย์, ความก้าวหน้าในสังคมมนุษย์, และการเจริญเติบโตเป็นคุณลักษณะอันจำเป็นของความจริง แต่ความคิดของมาร์กซ์เรื่องวิภาษวิธีคืออะไร?

วิวัฒน์ในสังคมมนุษย์

ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 สิ่งต่างๆดูเหมือนจะมีการพัฒนาในโลกตะวันตก อุตสาหกรรมนำไปสู่ความทันสมัย โลกดูเหมือนจะไม่เหมือนเดิม เทคโนโลยีทำให้วิถีของมนุษย์เปลี่ยนแปลง

สำหรับใครหลายคน การเกี่ยวข้องกับชีวิตสมัยใหม่จะไม่เหมือนกับชีวิตเกษตรกรรมที่ยังอยู่ในยุคโบราณ ตอนนี้ผู้คนไม่ได้เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตรอดอีกต่อไป แต่วุ่นวายอยู่กับจะทำอะไรกับเวลาว่างดี

ความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้มนุษย์มีชีวิตที่ยืดยาวขึ้น มันดูคล้ายๆกับว่าจะไม่มีข้อสงสัยอันใดที่ประวัติศาสตร์ของมนุษย์จะเต็มไปด้วยความเจริญเติบโตและการพัฒนาที่เป็นดั่งชัยชนะ และทัศนะแบบนี้คือการแบ่งปันร่วมกันระหว่างผู้มองโลกในแง่ดีและแง่ร้าย

บางที หนึ่งในผู้มองโลกในแง่ดีที่ทรงพลังอำนาจคือคาร์ล มาร์กซ์ มาร์กซ์ได้รับความคิดทางประวัติศาสตร์มาจากเฮเกล เฮเกลมองประวัติศาสตร์ว่าเป็นทางที่ถูกกำหนดไว้แล้ว และสุดท้ายจะนำไปสู่สภาวะที่สมบูรณ์ของอิสรภาพของมนุษย์

วิภาษวิธีแบบเฮเกล

เส้นทางถูกกำหนดโดยกระบวนการวิภาษวิธี ในแต่ละยุคสมัย สภาวะในโลกจะกำหนดสิ่งตรงกันข้ามกับตนเอง สำหรับเฮเกลแล้ว กระบวนการวิภาษวิธีเป็นจิตใจของพระเจ้ามาเพื่อเข้าใจสภาวะในตนเอง อันดับแรกพระเจ้าเป็นประธาน หรือสิ่งที่รู้คิด ต่อมาการคิด เธอจำเป็นต้องหากรรม หรือบางสิ่งที่สามารถคิดถึงได้

ดังนั้นพระเจ้าจึงเป็นทั้งประธานและกรรม สิ่งหนึ่งสร้างสิ่งที่ตรงข้ามตนเองขึ้นมา เธอไม่สามารถเจ้านายได้ หากไม่มีทาส เพราะหากไร้ทาส เจ้านายก็คงไร้ประโยชน์ แต่เมื่อคุณนำสิ่งที่เป็นศัตรูซึ่งและกัน สองสิ่งย่อมแตกหัก หรือแต่ละส่วนต้องการเป็นอิสระจากอีกส่วนหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือสิ่งที่มีอยู่ในตนเองและเพื่อตนเอง

โชคร้ายเป็นอย่างยิ่ง ที่ความขัดแย้งนั้นจะทำลายสิ่งตรงกันข้ามไป จะเหลือเพียงสิ่งหนึ่งที่จะเป็นพื้นฐานในขั้นต่อไป สิ่งนี้จะสร้างคู่กันข้ามต่อไปเรื่อยๆ ในที่สุด จักรวาลจะมีสภาพอย่างที่มันเป็น

มาร์กซ์เก็บภาพความจริงนี้ไว้เหมือนเป็นกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่ดำเนินในตัวของมันเอง แต่แทนที่จะมีลักษณะไม่ใช่วัตถุ หรือเป็นเจตจำนงของพระเจ้าแบบเฮเกลคิด แต่มาร์กซ์เห็นว่าจักรวาลนี้ประกอบจากวัตถุมากกว่าสภาวะของจิตแบบเฮเกล มาร์กซ์เสนอว่ากระบวนการทางวิภาษวิธีในพัฒนาการของเศรษฐกิจและวัฒนธรรมนั้นคือการต่อสู้ทางชนชั้น

สภาพของเศรษฐกิจสังคมอันใหม่จะนำเสนอความก้าวหน้าในสังคมมนุษย์ แต่ก็มีรากเหง้าของการทำลายกันด้วย การปฏิวัติที่ทำลายสภาพเศรษฐกิจสังคมอันเดิมเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อทำให้มนุษย์ก้าวหน้าต่อในขั้นต่อไป

จากสังคมทาสถึงทุนนิยม

สำหรับมาร์กซ์แล้ว สังคมทาสเป็นความชั่วร้ายที่จำเป็น เพราะเป็นสังคมทาสเท่านั้นที่มนุษย์จะได้สร้างโครงสร้างที่เป็นสิ่งของในวัฒนธรรมที่เป็นจริง ในขณะเดียวกัน ที่สถาบันทาสเป็นความจำเป็นเพื่อความก้าวหน้าของมนุษย์ แต่สุดท้ายสังคมทาสก็ถูกปฏิวัติ  อิสรภาพและความเป็นมนุษย์ถูกปอกเปลือกจากพวกเขา

ความขัดแย้งระหว่างนายกับทาสนำไปสู่การปฏิวัติที่ทำลายสังคมทั้งหมดเหลือไว้แต่สังคมอันใหม่ ศักดินานิยม ที่ประชาชนไม่ได้เป็นเจ้าของคนอื่นโดยตรง คนงานเหล่านี้อย่างน้อยก็เป็นอิสระ ขุนนางไม่สามารถจะกำกับการกระทำของคนงานได้ แต่ขุนนางควบคุมแผ่นดิน ที่ผลิตอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ

ในที่สุดก็มีการปฏิวัติชาวนา และในที่สุดก็เกิดสังคมทุนนิยมขึ้นมา ซึ่งเจ้าของที่ดินไม่ได้เป็นคนกำหนดสังคมอีกต่อไป แต่เจ้าของโรงงานที่กำหนดวิถีการผลิตขึ้นมา

ทุนนิยม: อีก 1 ขั้นของการพัฒนาสังคมมนุษย์

ในขณะที่เราคิดว่ามาร์กซ์มีอคติกันทุนนิยม แต่มาร์กซ์ไม่คิดว่าทุนนิยมจะไม่ดีโดยตัวของมันเองหรือเป็นระบบที่เลว จริงๆแล้วเขาคิดว่ามันเป็นขั้นตอนที่จำเป็นในระบบเศรษฐกิจ ทุนนิยมจะต้องเกิดขึ้น และมันมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาของมนุษย์

ทุนนิยมเกิดขึ้นเพราะอยากได้กำไรสูงที่สุด และกดขี่กรรมกรและทรัพยากรในกระบวนการผลิต ยิ่งคุณสร้างสิ่งต่างๆได้ถูกลงและง่ายลงมากขึ้นเท่าใด คุณก็ยิ่งได้กำไรมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นนักทุนนิยมจึงคิดหาวิธีในการได้สิ่งของที่มากและรวดเร็วแถมถูกอีกต่างหาก ผลที่ได้คือการกำจัดความขาดแคลน และมนุษย์ได้ทุกๆสิ่งที่ต้องการ

แต่ในการทำสิ่งนี้ให้เกิดขึ้น กรรมกรจะถูกแปลกแยก, ลดทอนความเป็นมนุษย์, ไม่มีความสัมพันธ์อันใดระหว่างกันเอง พวกเขา และงานที่ถูกสร้างขึ้นมา ในที่สุดพวกเขาจะคิดว่านี่พอกันที เราจะมีขั้นตอนสังคมอันใหม่ และการปฏิวัติของกรรมกร

ยูโทเปียแบบคอมมิวนิสต์

จากการเป็นเจ้าของบางสิ่งร่วมกัน และในที่สุดเราจะเจอยุโทเปียแบบคอมมิวนิสต์ ในสังคมยูโทเปีย นักทุนนิยมคิดหาวิธีในการทำให้เราได้สิ่งของโดยการใช้ทรัพยากรและความสามารถจำนวนน้อย พวกเราเลยมีเวลาน้อยในการดูแลพวกมัน เราจะมีความกระหายในการทำสิ่งที่พวกเรารัก ไม่ว่าจะเป็นการตกปลา, การเล่นดนตรี, การเขียนบทกวี, การศึกษาจักรวาล หรือแม้แต่การทำให้คนอื่นๆหัวเราะ

ภาพอันสุดท้ายนี้คือการที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมจริงๆ เราอยู่ในชุมชน และเราใช้ชุมชนในการคิดวิธีแก้ปัญหา แต่โครงสร้างต่างๆจำเป็นต้องแก้ปัญหาอีกโครงสร้างและต่อๆกันมาจนในที่สุดเราจะอยู่ร่วมกันแบบไม่มีปัญหาได้

แปลและเรียบเรียงจาก

Steven Gimbel. A Dialectic View of Social Development: Hegel and Marx

https://www.thegreatcoursesdaily.com/a-dialectic-view-of-social-development-hegel-and-marx/

หมายเลขบันทึก: 689499เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2021 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2021 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท