ธรรมศาสน์ (ตอน๕)..ไตรลักษณ์/ทวิลักษณ์


ถึงตรงนี้ขอวิสัชชนาเรื่องไตรลักษณ์เพิ่มเติมสักหน่อย เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญมากในพศ. (และในธศ.ด้วย) โดยที่พศ.กำหนดขั้นตอนไตรลักษณ์เป็น อนิจจัง/ทุกขัง/อนัตตา คือสังขารเปลี่ยนแปลงไป (ด้วยกฎอนิจจัง) พอเปลี่ยนไปแล้วก็เป็นทุกข์ เพราะทุกข์คืออาการที่ทนอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไป 

เราเห็นว่าแบบนี้มันกลับหัวกลับหางพิกลอยู่นะ คือเอาผลมาเป็นเหตุ..แบบนี้ไม่ต้องมีทุกข์เลยก็ได้ คือมีอนิจจัง/อนัตตาพอแล้ว คืออนิจจังนั้นเหมารวมเอาทั้งตัวทุกข์เองและอนิจจามาไว้ด้วยกัน แบบว่าทูอินวัน จึงไม่ต้องมีทุกขังมาอยู่ในไตรลักษณ์ก็ย่อมได้ (กลายเป็นทวิลักษณ์)

ถ้าเราสลับที่เป็น ทุกขัง/อนิจจัง น่าจะเป็นเหตุผลที่ดีกว่า เพราะสังขารทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ เพราะเป็นทุกข์ พอทนอยู่ไม่ได้ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามหลักอนิจจัง แบบนี้ดูจะสมเหตุผลกว่า ไม่กลับหัวกลับหาง หรือเป็นทวิลักษณ์

อนึ่งที่ตีความ ทุกข์ คือการทนอยู่ไม่ได้นั้น น่าจะเป็นการตีความของลพ.เงื่อม แล้วระบาดออกไปมาก แต่ก่อนหน้านี้ก็ตีความว่า ทุกข์คือไม่สุข  แต่แล้วความสุขก็เป็นสังขาร ก็ทนอยู่ไม่ได้เช่นเดียวกัน แบบนี้จะอลเวงหาคำนิยามของทุกข์ไม่ได้เลย

---คนถางทาง..๗มีค.๖๔

หมายเลขบันทึก: 689416เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2021 02:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2021 02:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท