การศึกษา ๒๕๗๓ เรียนเป็นผู้ก่อการ



องค์การ OECD เผยแพร่เอกสาร THE FUTURE OF EDUCATION AND SKILLS : Education 2030 (1)  ในปี ค.ศ. 2018    โดยบอกว่า อนาคตข้างหน้าไม่แน่นอนทั้งด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม    เราไม่สามารถคาดเดาอนาคตได้    การศึกษาจึงต้องช่วยให้ผู้เรียนพัฒนา ความใคร่รู้ (curiosity),  จินตนาการ (imagination),  ความยืดหยุ่น (resilience),  และความสามารถในการกำกับตนเอง (self-regulation)   

การศึกษาต้องช่วยให้ผู้เรียนเกิดสิ่งสำคัญ ๓ อย่างคือ ความเป็นผู้กระทำการ (agency)    มีเป้าหมายยิ่งใหญ่ในชีวิต (sense of purpose)   และมีสมรรถนะ (competencies) ที่ต้องการ    

นี่คือเป้าหมายหลักของการศึกษา ๒๕๗๓   โดยที่ปลายทางคือ สุขภาวะของบุคคล (individual well-being)  และสุขภาวะส่วนรวม (collective well-being)       

คำหนึ่งที่วงการศึกษาไทยไม่เคยพูดถึงเลยคือ learner agency   ซึ่งหมายถีงความเป็นผู้ก่อการ หรือผู้กระทำการ    ที่สำคัญยิ่งสำหรับการเป็นคนที่มีชีวิตที่ดีในโลกยุคปัจจุบันและอนาคต   

“Agency implies a sense of responsibility to participate in the world and, in so doing, to influence people, events and circumstances for the better. Agency requires the ability to frame a guiding purpose and identify actions to achieve a goal.”    ความเป็นผู้ก่อการหมายถึงสำนึกรับผิดชอบต่อโลก  ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมต่อคน เหตุการณ์ และเรื่องราว เพื่อสิ่งที่ดีกว่า    ผู้ก่อการต้องมีความสามารถกำหนดกรอบเป้าหมายที่ทรงคุณค่า  และกำหนดการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น   

 “To help enable agency, educators must not only recognise learners’ individuality, but also acknowledge the wider set of relationships – with their teachers, peers, families and communities – that influence their learning. A concept underlying the learning framework is “co-agency” – the interactive, mutually supportive relationships that help learners to progress towards their valued goals. In this context, everyone should be considered a learner, not only students but also teachers, school managers, parents and communities.”    ความเป็นผู้ก่อการพัฒนาขึ้นจากปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ครู พ่อแม่ และชุมชน  

  “Two factors, in particular, help learners enable agency. The first is a personalised learning environment that supports and motivates each student to nurture his or her passions, make connections between different learning experiences and opportunities, and design their own learning projects and processes in collaboration with others. The second is building a solid foundation: literacy and numeracy remain crucial. In the era of digital transformation and with the advent of big data, digital literacy and data literacy are becoming increasingly essential, as are physical health and mental well-being.”    มี ๒ ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความเป็นผู้ก่อการ  (๑) สภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้เฉพาะตัว  (๒) เรียนให้พื้นฐานแน่น  ได้แก่ด้านการอ่านและคณิตศาสตร์   และในยุคปัจจุบันรวมทั้ง ด้านดิจิตัล  ข้อมูล  สุขภาพร่างกาย  และจิตใจ

เชิญอ่าน OECD Learning Framework ได้ตามสบายใน (1) 

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ก.พ. ๖๔


หมายเลขบันทึก: 689412เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2021 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2021 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท