ธรรมศาสน์ (ตอน๔) ตัณหาที่แตกต่าง



แม้ว่า ธศ. จะไม่เอาพพจ. และ พระสงฆ์ เป็นสรณะ อีกต่อไป แต่ท่านไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่เราจะทำการโยกท่านไปอยู่ในหิ้งของ  พระปูชนียบุคคล คือบุคคลที่สมควรได้รับการกราบไหว้บูชา แบบนี้ก็น่าจะพออยู่กันได้แบบไม่ขัดแย้งกันมากนักระหว่างธศ. กับพศ.

ยังมีเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องปรับคือเรื่อง สมุหทัย (ต้นเหตุแห่งทุกข์) สมค.สอนว่าคือ ตัณหา การจะดับทุกข์ก็ต้องดับที่ต้นเหตุ ซึ่งก็คือ การดับตัณหา นั่นเอง โดยพศ. แยกตัณหาเป็น ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา

แต่ในธรรมศาสน์นี้เราได้บอกแล้วว่าชีวิตเป็นสุข แต่แล้วสาเหตุแห่งสุขก็คือตัณหาเช่นเดียวกันกับ พศ.  และในธศ.นี้เราจะจำแนกตัณหาเป็น ๓ คือตัณหาดำ ตัณหาขาว และตัณหาใส หนทางดับสุข/ทุกข์ของเราคือการดับตัณหาดำ และขาว ให้เหลือแต่เพียงตัณหาใส ที่เปล่งแสงสุขสกาวให้แก่ผู้ที่หวังสันติสุข และเป็นพลังที่จะขับเคลื่อนให้ผู้บรรลุธรรมแล้วใช้เป็นกำลังในการทำงานแบบใสๆ อีกต่อไป

---คนถางทาง..๙ มีค. ๖๔

หมายเลขบันทึก: 689410เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2021 19:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2021 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท