“พ่อจ๋าจะบล็อคคนในเฟสนี่ทำไง” : เมื่อลูกเผชิญหน้ากับการคุกคามทางเพศบนไซเบอร์
เคสนี้ เจอกับลูกตัวเอง และลูกมาปรึกษากับแม่และพ่อสามสี่วันก่อน
เมื่อรับแอดคน แล้วเขาทักมาอย่างไม่น่าไว้ใจ สเตตัสไม่ชัด โปรไฟล์ดูเคลือบแคลง
แถมซักไซร้ถามรายละเอียดต่างๆ
ลูกคุยกับแม่ก่อน แม่อยู่ต่างอำเภอ อ่านดูแล้วแม่ก็บอกให้บล็อกเลย แต่ลูกกดบล็อกแล้วมันมีให้เลือกตอบว่าบล็อกเพราะอะไร เช่น เพราะเห็นว่าเป็นการคุกคาม , เพราะเห็นว่าสร้างความรำคาญใจ , เพราะเห็นว่า........บลาๆๆ
ลูกอายุสิบขวบอ่านแล้วงง ถามพ่อว่าแต่ละข้อมันหมายความว่ายังไง
(อันนี้พ่อนึกในใจ ผู้บริหาร Facebook น่าจะปรับปรุงข้อความให้ผู้ใช้ที่เป็นเด็ก เยาวชนหรือคนที่ไม่ถนัดในการตีความภาษาอ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้นหน่อย)
พอพ่อแปลความหมายแต่ละข้อเสร็จปุ๊บ ลูกบอกหนูเลือกบล็อกเพราะถูกคุกคามนี่แหละพ่อ
พ่อยิ้ม เอ่อ ลูกเข้าใจได้เร็ว นี่เรียนจากประสบการณ์ตรง
พ่อขอเอาเรื่องที่หนูเจอนี่ลงเฟสได้ไหม จะได้เตือนคนอื่นๆด้วย
"โอเคค่ะ"
สังเกตการสื่อสารในแชตที่ลูกแคปหน้าจอมา ลูกมีทักษะโต้ตอบคนแปลกหน้าได้ดี ซัดกลับซะเขาหงาย แต่ก็อย่าไว้ใจเพราะพวกนี้คงมีวิธีต้อนอีกหลายอย่างที่เราอาจไม่ทันรู้
ส่วนสำคัญมาจากการที่พ่อแม่ปูทางไว้ ให้เรียนรู้โลกกว้างอย่างมีภูมิคุ้มกัน และมีช่องทางให้ปรึกษาพ่อแม่ตลอด โดยใช้วินัยเชิงบวก ที่ไม่เน้นลงโทษหรือทำให้เด็กเสีย self
ภูมิใจที่ลูกไว้ใจมาปรึกษา แต่ก็จะต้องสร้างการเรียนรู้เท่าทันสื่อและภัยสังคมให้ลูกอีกเยอะ
โลกนี้ไม่ได้มีแต่ด้านสวยงาม เราจะสอนให้ลูกเก่ง มารยาทงามอย่างเดียวไม่พอ ต้องสอนให้ทันโลกและมีทักษะการเอาตัวรอดจากคนที่มุ่งร้าย
แต่ถ้าพ่อแม่บ้านอื่นไม่เป็นอย่างเรา จะทำอย่างไร
อืมมม เดี๋ยวนำเรื่องนี้ไปจัดเป็นหนึ่งตอนใน Podcast น่าจะดี มีประโยชน์แก่ทุกครอบครัว
ฝากทุกท่านที่มีบุตรหลานด้วยนะครับ อย่าคิดว่ามีลูกชายแล้วจะไม่โดน เดี๋ยวนี้จะเพศไหนๆก็มีสิทธิโดนคุกคามทางนั้น
สังคมปัจจุบัน เราหลีกหนีเรื่องเหล่านี้ได้ยาก และเด็กจำนวนมากกำลังตกเป็นเหยื่อหรืออยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ในโรงเรียนก็ยังไม่มีหลักสูตรเรื่องนี้โดยตรง
แต่เราคงนิ่งเฉยไม่ได้
เราสามารถสร้างสรรค์สังคมที่เป็นมิตรแก่เด็ก เยาวชน ได้ถ้าเราร่วมมือกัน
#MediaLiteracy
#CyberBully
#SexualHarassment
#การคุกคามทางเพศ
#การสื่อสารกับการป้องกันตัว
ไม่มีความเห็น