ชีวิตที่พอเพียง ๓๙๐๒. PMAC 2021 : 5. PL 4 ยกระดับสุขภาพมนุษย์และสุขภาพโลก ด้วยการขจัด “การระบาดร่วม” (syndemic)



 ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔     ๑๙.๐๐ - ๒๐.๓๐ น. เวลาไทย    เป็นรายการสรุป  Protecting and Improving Human and Planetary Health – A Syndemic View    ซึ่งเป็นการสรุปสาระของ Subtheme 4 : Covid-19 and the Global Megatrends    โดยมีศาสตราจารย์ Peter Friberg แห่งประเทศสวีเดน เป็นผู้ประสานงาน (1)    

หัวใจคือ เราจะร่วมกันดำเนินการให้เกิด “Building back better” หรือ “ฟื้นดีกว่าเดิม” ได้อย่างไร 

คำตอบคือ จะ “ฟื้นดีกว่าเดิม” ได้ต้องเข้าใจหลักการ syndemic (การระบาดร่วม)   ที่บอกว่า โควิด ๑๙ เป็นเพียงปลายเหตุ    ต้นเหตุเริ่มมาเป็นพันปี    เมื่อมนุษย์ถางป่าทำการเกษตร  และตั้งบ้านเมือง    ทำให้พื้นที่ป่าลดลงอย่างมาก    สัตว์ป่าสูญพันธุ์หรือปรับตัวเข้ามาใกล้ชิดมนุษย์ยิ่งขึ้น   กิจกรรมของมนุษย์ รวมทั้งระบบเศรษฐกิจ ก่อภาวการณ์เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ      ... การพัฒนาสู่สภาพไร้สมดุล   

การระบาดร่วม คือการระบาดของหลากหลายปัจจัยที่ทำให้โลกพัฒนาอย่างไม่สมดุล    เป็นสภาพที่เอื้อให้จุลชีพกระโดดจากป่าสู่สังคมมนุษย์    เป็นสัญญาณเตือน ปลุกให้มนุษย์สร้างแนวทางอารยธรรมใหม่    ที่ ศ. นพ. ประเวศวะสี เสนอแนวทาง พุทธพัฒนา (๒)    แทนที่แนวทางกิเลสนำที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน   

เป็นวิกฤติร่วม    คือทั้งวิกฤติโควิด ๑๙   และวิกฤติระบบการพัฒนา (Development crisis)     ที่ภายนอกดูเหมือนดี    แต่ลึกๆ เปราะบาง    แต่โควิดได้เผยให้เห็นว่า ระบบพัฒนาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นตัวสาเหตุของปัญหาทั้งมวล    ที่เรียกว่า syndemic (การระบาดร่วม)   

  “ฟื้นดีกว่าเดิม” สู่สภาพที่สมดุล   ในทุกด้าน    และต้องฟื้นสู่สภาพทีฝ่ายต่างๆ ร่วมมือกัน ในลักษณะ multilateral cooperation ยิ่งกว่าเดิม  

“ฟื้นดีกว่าเดิม” ในลักษณะที่เอื้อต่อชีวิตที่ดีของคนรุ่นต่อไป    ไม่ใช่คิดถึงความอยู่ดีกินดีของคนรุ่นนี้เท่านั้น … intergenerational equity   

สุขภาพหมายถึงปัจจัยทั้งมวล    เป็นสุขภาพบูรณาการ    เชื่อมโยงสู่ทุกภาคส่วนในสังคม    รวมทั้งด้านสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อภูมิอากาศโลก    

ภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงสู่ภาวะโลกร้อน (ที่เกิดจากการพัฒนาแนวกิเลสนำ)    สร้างความอ่อนแอของธรรมชาติ    เอื้อให้โรคระบาดเกิดขึ้นได้ง่าย  

ฟื้นดีกว่าเดิม (Build back better)    ต้องไม่หวังฟื้นกลับสู่ที่เดิมยุคก่อนโควิด    แต่ต้องมีเป้าหมายที่ต่างจากเดิม    ใช้มาตรการระยะยาว ๒๐ ปี เพื่อสร้างระบบโลกใหม่   

ผลกระทบจากการระบาดของ โควิด ๑๙ ครั้งนี้จะส่งผลระยะยาวเป็น ๒๐ ปี    โดยที่มีประชากรจำนวนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบในปัจจุบัน ที่ส่งผลร้ายต่อชีวิตในระยะยาว ได้แก่แม่และเด็ก และวัยรุ่น    มีผู้ประเมินว่า วิกฤติครั้งนี้ทำให้มีการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ ๔๐๐,๐๐๐ ราย   การฟื้นตัวของระบบต่างๆ จึงต้องคำนึงถึงกลุ่มคนผู้ด้อยโอกาสที่ถูกกระทบมากโดยไม่รู้ตัว    ทำให้ความไม่เสมอภาคในสังคมรุนแรงยิ่งขึ้น     

วิจารณ์ พานิช

๓ ก.พ. ๖๔


หมายเลขบันทึก: 689257เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2021 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2021 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท