การก่อตัวระเบียบโลกใหม่ หรือ การซ่อมระเบียบโลกเดิม และดีเบตในทางทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของ เสรีนิยมใหม่ กับ สัจนิยมใหม่


ในบันทึกครั้งก่อน ผมได้กล่าวว่าการขึ้นมาของทรัมป์ทำลายความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ในสายตานานาชาติลงไปมาก ข้อพิสูจน์คำกล่าวอ้างนี้ของผมอย่างเป็นรูปธรรมชิ้นหนึ่งคือ รายงานการสำรวจความเห็นของคณะมนตรียุโรปด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (European Council on Foreign Relations) ในหัวข้อ "The crisis of American power: How Europeans see Biden’s America" ก็จะชี้ให้เห็นได้ชัด ผลสำรวจชี้ว่าสำหรับประเทศเยอรมนีความไม่ไว้วางใจสหรัฐฯ หลังการขึ้นมาของทรัมป์มีถึงร้อยละ ๕๓  ในขณะที่ความไว้วางใจลดเหลือเพียงร้อยละ ๑๕ สำหรับยุโรปโดยเฉลี่ยนั้นความไม่ไว้วางใจอยู่ที่ร้อยละ ๓๑ ในขณะที่ไว้วางในอยู่ที่ร้อยละ ๒๗ ดังแผนภูมิด้านล่างนี้

สหรัฐฯ ภายใต้การนำของไบเด็นจะฟื้นฟูความน่าเชื่อถือและเกียรติภูมิของตนขึ้นมาในสายตานานาชาติ โดยเฉพาะยุโรปได้มากน้อยเท่าใดเป็นเรื่องในอนาคตที่เราจะต้องจับตามองต่อไป เมื่อพิจารณาลงในรายละเอียดแล้วก็ไม่ใช่ทำได้โดยง่ายหากมองจากผลเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ผ่านมาว่าราวกับแบ่งครึ่งซีกประเทศ และที่สำคัญทั้งไบเด็นและทรัมป์ต่างก็ทำคะแนนได้เกินผู้ชนะประธานาธิบดีครั้งก่อนมาก คือไบเด็นได้คะแนนป็อบปูลาร์โหวตไป ๘๑ ล้านเสียง ในขณะที่ทรัมป์ได้ไป ๗๔ ล้านเสียง ถือเป็นอันดับหนึ่งและอันดับสองในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปรากฎการณ์นี้ยังคงสะท้อนการแบ่งขั้วทางการเมือง (political polarization) อย่างลึกล้ำในอเมริกา ดังนั้นแม้ว่าไบเด็นมีความมุ่งมั่นจะฟื้นฟูเกียรติภูมิของสหรัฐฯ กลับคืนมา รวมทั้งฝ่ายเดโมแครตในรอบนี้ยังได้เปรียบในคะแนนเสียงทั้งจากสภาล่างและสภาสูง แต่การกดดันจากมวลชนฝ่ายตรงข้ามซึ่งยังคงมีอยู่ จะทำให้งานของเขาไม่ราบรื่นดังคิด

ในระยะยาวแล้วนี่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพความเหลื่อมล้ำจากการพัฒนาประเทศและโลกาภิวัฒน์ ที่ส่งผลต่อคนส่วนหนึ่งในสหรัฐฯ อาทิเช่นประชาชนในแถบสนิม (rust belt) ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมปล่องไฟและถ่านหิน ที่ไม่ได้รับอานิสงส์จากโลกาภิวัฒน์ดังที่ควรจะเป็น รวมถึงแถบไบเบิล (bible belt) ทางตอนใต้ของสหรัฐฯ ที่มีความภักดีในคริสต์ศาสนายึดมั่นในอัตลักษณ์พิวริตันดั้งเดิมซึ่งเป็นที่มั่นฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่เป็นฐานเสียงของพรรครีพับรีกัน กำลังร่วมของคนเหล่านี้ได้แสดงออกให้เห็นในผลการลงคะแนนเสียงถึง ๗๔ ล้านเสียงของทรัมป์นั่นเอง

การแบ่งขั้วทางการเมืองนี้ยังถูกผสมโรงจากการรุกรานทางไซเบอร์ และการก่อสงครามจิตวิทยา (นักวิชาการบางรายมองว่าเป็นการเมืองในปริภูมิทางจิตใจหรือ Noopolitik) โดยใช้ทั้งมาตรการการป้ายสีผ่านสื่อ (Kompromat) และการโฆษณาชวนเชื่อ (Active Measures) จากรัสเซีย ผมได้เขียนบทความเอาไว้เป็นภาษาอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องนี้ในมีเดียม

เครก อังเกอร์ ถึงกับตั้งชื่อหนังสือที่พูดถึงเรื่องเหล่านี้ในชื่อ "American Kompromat" รวมถึงการที่รัสเซียได้ลงทุนบ่มเพาะทรัมป์เอาไว้ใช้เพื่อการนี้ตั้งแต่ปี ๑๙๗๗ ในสมัยที่ทรัมป์แต่งงานกับนางอิวานาซึ่งเป็นนางแบบสาวชาวเช็ค แต่ก็อย่างที่ผู้รู้กล่าวเอาไว้มาตรการเหล่านี้ของรัสเซียไม่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นฐาน มาตรการของรัสเซียเป็นแต่เพียงการ "เสริมแรง" ของปัญหาที่ฝังตัวและกำลังอักเสบในสังคมสหรัฐฯ ให้มีอาการรุนแรงขึ้นเท่านั้น

จอห์น ไซเฟอร์ ซึ่งเคยทำงานในหน่วยข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ (CIA) มานานถึง ๒๘ ปี เขาเคยประจำการในระดับหัวหน้างานทั้งใน ยุโรป บอลข่าน เอเชีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ รวมถึงรับผิดชอบปฏิบัติการเกี่ยวกับรัสเซียมาก่อนที่สำนักงานใหญ่ ก็ได้ให้ความเห็นว่าข้อมูลหลายประเด็นในหนังสือของอังเกอร์ออกจะเป็นเรื่องเกินความเป็นจริงไป ปฏิบัติการของรัสเซียทั้งในช่วงที่ยังเป็นโซเวียตสมัยสงครามเย็น และสมัยเมื่อเป็นรัสเซียในช่วงหลังสงครามเย็นก็ไม่ได้ต่อเนื่องกันดังที่เข้าใจ กล่าวโดยสรุปเขาไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปของอังเกอร์ว่าทรัมป์ถูกรัสเซียควบคุมชักใยอยู่ โดยส่วนตัวผมเห็นด้วยกับไซเฟอร์ ผมคิดว่าทั้งทรัมป์และรัสเซียต่างใช้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน

เมื่อเป็นเช่นนั้นปัญหาการแบ่งขั้วทางการเมืองอย่างรุนแรงในสังคมอเมริกันนี้จึงมีปัญหาส่วนหนึ่งอยู่ที่ "ทฤษฎีชี้นำ" ทั้งจากรัฐประศาสนศาสตร์ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐประศาสนศาสตร์ว่าด้วยความรู้การจัดองค์กร นโยบาย และการคลังเพื่อบริหารกิจการภายในประเทศ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยลักษณะปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงแทนในระดับนานาชาติทั้งตัวแสดงแทนที่เป็นประเทศและไม่ใช่ประเทศ ในสมัยก่อนสองวิชารวมเป็นหนึ่งเดียว เพิ่งมีการแบ่งแยกศาสตร์นี้ออกจากกันเริ่มขึ้นในสมัยประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน ซึ่งเขาเขียนบทความ "The Study of Administration" ในปี ๑๘๘๗ บทความนี้ถือเป็นจุดกำเนิดของวิชารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ และในขณะเดียวกัน การก่อตั้งภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยอเบอริสวิธส์ (University of Aberystwyth) ในปี ๑๙๑๙ และการบริจาครางวัลเป็นเงินสองหมื่นปอนด์ของ เดวิด เดวีส์ เพื่อสนับสนุนตำแหน่งประธานวู้ดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson Chair) ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็ถือเป็นการสถาปนาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยใหม่อย่างเป็นทางการ  แนวนโยบายต่างประเทศเชิงเสรีนิยมอย่างที่เรียกกันว่า "Wilsonianism" ซึ่งเป็นพื้นฐานของการก่อตั้งสันนิบาตชาติ หรือต้นแบบของสหประชาชาติก็มีที่มาจากไอเดียของวิลสันเช่นกัน

ปัจจุบันเริ่มมีการพูดถึงการรวมสาขาวิชาทั้งสองเข้าด้วยกัน ในลักษณะสหวิทยาการ (multidisciplinary) สมัยใหม่เพิ่มมากขึ้น

ดูการพูดถึงการแบ่งแยกของรัฐประศาสนศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะรวมสองสาขาเข้าด้วยกันได้ที่บทความของ Charles PHUA Chao Rong
ดูการพูดถึงการแบ่งแยกของรัฐประศาสนศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะรวมสองสาขาเข้าด้วยกันได้ที่บทความของ Charles PHUA Chao Rong

 Charles PHUA Chao Rong ได้พูดถึงการแบ่งแยกของรัฐประศาสนศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในบทความ "Value of Public Administration Management to International Relations: Scaffolding an Inter-Disciplinary Research Agenda" ของเขา

นอกจากคู่เทียบ (dichotomy) ระหว่างสองศาสตร์นี้แล้ว ภายในสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ยังมีคู่เทียบระหว่าง "สัจนิยมใหม่" (นำโดย Kenneth Waltz) และ "เสรีนิยมใหม่" (นำโดย Robert Keohane และ Joseph Nye) อีกด้วย

ความแตกต่างระหว่างสองสำนักคิดนี้อยู่ที่สามประเด็นด้วยกันคือ ๑) สภาพพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าเป็น "อนาธิปไตย", ๒) การได้ประโยชน์ของรัฐชาติ มองจากมุมมองผลประโยชน์ในเชิงสัมบูรณ์ (absolute gain) หรือผลประโยชน์ในเชิงเปรียบเทียบ (relative gain), และ ๓) สภาพโครงสร้างทางการเมืองส่งผลต่อทั้งการสร้างความร่วมมือและการแบ่งปันทรัพยากรอย่างไร

ทั้งสามเรื่องนี้ฟังดูเหมือนง่าย แต่ในความเป็นจริงมีรายละเอียดที่ก่อตัวขึ้นจากความแตกต่างพื้นฐานทั้งสามนี้อย่างลึกซึ้งซับซ้อนมาก การโต้เถียงของสองสำนักคิดนี้ยังคงดำรงอยู่จนปัจจุบัน แต่ดูเหมือนว่าสำนักคิดเสรีนิยมใหม่จะครอบงำความคิดของนักนโยบายทั้งในรัฐประศาสนศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยส่วนใหญ่ โดยมีนักนโยบายสายสัจนิยมใหม่ปรากฎตัวแทรกสอดขึ้นมามีบทบาทในการกำหนดนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศบ้างเป็นครั้งคราว ตามแต่สถานการณ์ระดับโลก

การครอบงำของสำนักคิดเสรีนิยมใหม่ในการกำหนดนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (อนึ่ง ความนิยมของสำนักคิดเสรีนิยมใหม่นี้ มีข้อมูลว่าถึงกับทำให้พวก "อนุรักษ์นิยมใหม่" เข้าร่วมสนับสนุนด้วยกลาย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนของ Irving Kristol จากที่ช่วงแรกเขาวิพากษ์เสรีนิยมใหม่อย่างหนักเมื่อเขาได้รับเชิญจากมิลตัล ฟรีดแมนในงานครบรอบ ๒๕ ปีของสมาคม Mont Pèlerin Society ในปี ๑๙๗๒) ไปจนถึงนโยบายในรัฐประศาสนศาสตร์ ทำให้ตกเป็นเป้าโจมตีจากฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายก้าวหน้า ที่มักจะถือสำนักคิดมาร์กซิสต์และวาทกรรมวิพากษ์อาทิฟูโกต์ บางครั้งการวิพากษ์แนวคิดเสรีนิยมใหม่ สร้างความคลุมเครือไม่ชัดเจนว่าหมายถึง "สำนักคิดด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ", "ระเบียบโลกที่ก่อตัวหลังสงครามเย็น" หรือ "แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ" กันแน่

มากไปกว่านั้น สำหรับแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ก็มีความสับสนว่าพวกฝ่ายก้าวหน้าหมายถึงอะไร เพราะคำว่าเสรีนิยมใหม่ (neoliberalism) นั้นในความหมายดั้งเดิมนั้น นำมาจากแนวคิดเรื่อง Ordoliberalism (เสรีนิยมเชิงระเบียบ) จากสำนักคิดไฟรบวร์กในเยอรมนี โดยมีเป้าหมายที่จะลดการผูกขาดและการก่อตัวของทุนขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีผลต่อการเข้าไปมีอิทธิพลต่อรัฐบาลและมีแนวโน้มสร้างรัฐบาลแบบเผด็จการขึ้น ดังเช่นรัฐนาซีเยอรมันในอดีต ข้อเสนอ "เสรีนิยมเชิงระเบียบ" จึงต่างออกไปจากที่พวกฝ่ายก้าวหน้าเข้าใจอย่างสิ้นเชิง (โปรดดู "คำประกาศเรื่อง Ordo แห่งปี ๑๙๓๖") หากจะหมายถึงระเบียบโลกที่ก่อตัวหลังสงครามเย็นโดยเฉพาะในเชิงนโยบายเศรษฐกิจ ดังที่รับรู้รับทราบในนามของ "ฉันทามติวอชิงตัน" หรือ "ระเบียบเบรตตันวูดส์" นั้นก็เสื่อมคลายลงไปมากแล้ว ปัจจุบันการผงาดขึ้นของจีนก็ได้สร้างสถาบันทางเลือกเพิ่มขึ้นจากสถาบันสมัยเบรตตันวูดส์มาก ทั้ง BRI รวมทั้งธนาคาร AIIB ที่ได้รับการสนับสนุนจากแม้ฝั่งยุโรป หรือการก่อตัวของ RCEP ในปีกลายก็ตาม

สำหรับในเมืองไทยนั้น สังคมวิชาการของเรายังไม่มีความสามารถสร้างข้อถกเถียงในระดับชี้นำหรือถึงกับสร้างสำนักคิดใหม่ขึ้นในแวดวงวิชาการนานาชาติได้ เรื่องนี้คนทั่วไปมักเข้าใจว่าที่สังคมวิชาการไทยไม่สามารถสร้างคุณภาพในขนาดนี้ได้นั้น เป็นเพราะปัญหาจากงบประมาณ แต่ในความเป็นจริงแล้วงบประมาณประจำปีของมหาวิทยาลัยชั้นนำในไทยอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยมหิดล ไม่ได้น้อยไปกว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore: NUS) การที่ไม่มีมหาวิทยาลัยไทยได้รับการจัดอันดับใน ๑๐๐ อันดับแรกของโลก จึงสะท้อนความล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดิน และเป็นเรื่องที่ไม่อาจทำความเข้าใจได้!

นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นปัญหาจากการขาดความเข้าใจเรื่องภาษาอังกฤษอย่างแตกฉานของคนไทย จนทำให้ไม่สามารถสร้างอิทธิพลทางความคิดในระดับนานาชาติได้เหมือนชาติพัฒนาแล้วอื่น ๆ ผมได้เขียนโน้ตเป็นภาษาอังกฤษไว้ในเฟสบุ๊คเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ จึงขอนำมาบันทึกในที่นี้เอาไว้ด้วย (หมายเหตุ: เฟสบุ๊คทำการยกเลิก Note ไปเรียบร้อยแล้ว ผมเห็นว่ามีเหตุผลจำเป็นที่จะต้องอพยพออกจากเฟสบุ๊คมาสู่แพลตฟอร์มอื่นดังเช่น gotoknow ด้วยเหตุผลการเปลี่ยนนโยบายไปมาของเฟสบุ๊คเช่นนี้)


บันทึกเก่าในโน้ตของเฟสบุ๊คตั้งแต่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔

"Exposure Challenge on Thai Think Tanks"

Yesterday, I posted on my FB that Thai Think-Tanks need to do more works than any other ASEAN Think-Tanks. I called this problem as an "Exposure Challenge" for Thai Think Tank's community. Since, in Thailand which is different from most ASEAN countries, we need to communicate with Thai language.

Actually, language is not only a barrier to protect foreign influence to Thai society, but also a cage to restrain most of Thai people to engage in global affair. (Of course, Thai elitist citizens with well education, fluently using English can be much easier engaging on global network) But, once you produce your literature in Thai, no matter how much your worksd being referred to networks in Thai society or contribute to a significant impact on Thai society, it won't be recognized and could be considered as 0% impact on global level. It's easier for Think tanks who use English to be estimated on an impact of those literature as rating  on global ranking such as The Global "GO-TO Think Tanks" index. (Don't be surprised to see only 8 Thai Think Tanks on the list)

Different level of language usage

On the other hand, since most Thai people don't use English in their daily life, even best English literature will never make a major impact on local society as well. It's definitely a clean separation of two worlds - two languages condition. (This situation is very much different from major countries that have similar language barrier and never been colonized such as China and Japan).

A normal / enable of communication level of language will never be enough to produce a classic literature. You will need a higher level of language, a convincing and luxury one, which mostly involving with deep understanding of each philosophical and cultural condition.

Please consider a different level of language and an impact on your feeling that I would like to express "hopeless" :
1. I'm hopeless
2. It's definitely despair
3. Abandon all hope, ye who enter here (from "Inferno")

Thai literature also needs similar convincing level of language in order to make a significant impact. Now you can see how difficult we have to survive on "Global/Local Exposure" challenge.

Unintended Exposure



However, two years ago, I had published article in both English and Thai. Well, It's just an experiment at that time. The article is "The Old Asian Way Excuse" published on Asia Sentinel (English language) http://asiasentinel.com/index.... and published on SIU and Prachatai (Thai language)

The article touched a sensitive political issue (at that time) in both Singapore and Thailand. In Thailand, it had commented on the People's Alliance for Democracy (PAD) or the yellow shirt people on seizing of two Thai International Airports. While in Singapore, it had reminded us about a determinedly political struggle life of Singaporian politician and a former Workers' Party (WP) leader, Joshua Benjamin Jeyaretnam or JBJ against a ruling government party, a People Action Party (PAP). He had still maintained his fighting spirit until his departure.

The article had tried to conceptualize a major structural social transform on Asia continent, under two important factors : "Political will" and "Global information revolution". Asia is trying to preserve its "national security" (which is considered undemocratic and can not be disconnected from the elite class' interest) under the rational of whatsoever reasons such as political ideology, religion, racist, culture, and so on. This idea can be called as "Asian way" which Asian leaders coincidentally agree to value "social stability" over "individual right". The article, however, raised a question that how long Asian can resist global trend under current information revolution spear heading by internet and social media. (as we have seen in north Africa and the middle east early this year).

As a Thai, I was not surprised on a hot debate of PAD movement in Thai article. But, I was quite surprised to see English article with very actively responses among Singaporian readers criticizing on Singapore's PAP. (see threads on Asia Sentinal comments or copies of the article on various websites : such as http://www.sammyboy.com/showth... -- see especially on the emphasized parts, I didn't do that by myself)


The shaking has begun

Yesterday, Singapore election results made PAP losing their seat (Foreign Minister George Yeo and four other PAP candidates lost out to the WP in a group contest, forcing him out of the cabinet), while the WP gains 6 seats, the highest since establishing of Singapore. Lee Hsien Loong said "This is a very different world in 2011 as compared to 2006, and a very different Singapore", while Low Thia Khiang, the current WP leader has commented "Singaporeans wanted a more responsive, inclusive, transparent, accountable government" and "a more caring leadership".

WP was heavily using Internet and Social Media to penetrate  the government's defense line by mainstream media as predicted on my article. (In Singapore, the mainstream local media outlets are widely regarded as PAP mouthpieces)

Of course, the article would never be a major cause of this change. But according to such active response, it contributed to such vibration in Singapore.

Someone has told me, only tech gadgets such as twitter and facebook (as a fashion) are meaningless without understanding of using it to impact to the society. You need an idea, a sharp situation analysis and a deep understanding of technology in order to make change via creating  passion on people mind. Singapore is already a prove evidence.

I'm curious that this is a power of doubly exposure. However, it's definitely an unintended exposure of my article that I've to confess.

หมายเลขบันทึก: 688665เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2021 18:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2021 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท