สะท้อนความรู้ PBL II


สรุปประเด็นสำคัญในการเรียนรู้แบบ Problem based learning ในรายวิชากิจกรรมบำบัดในชุมชน

ชื่อผู้รับบริการ : เด็กชายพี

อายุ 2 ปี อาศัยอยู่กับ คุณปู่

ประวัติ

  เด็กเคยมีประวัติพัฒนาการช้า เช่น พูดช้าเดินช้า ยังเอามือดูดนิ้ว

  สิ่งแวดล้อมที่บ้าน คือ มีเด็กหลายคน แต่ไม่ค่อยสะอาดเท่าไหร่

  อาศัยอยู่กับปู่ ปู่กังวลด้านการขับถ่าย เด็กไม่ค่อยทานผักเด็กมักกินอาหารที่ไม่ค่อยมีผัก ทานผลไม้ได้นิดหน่อย

เมทริกซ์การฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชน

สุขภาพ

-การสนับสนุนและส่งเสริม

เนื่องจากเด็กมีพัฒนาการพูดล่าช้า ควรให้คำแนะนำคุณปู่ให้หมั่นชวนเด็กพูดคุยสอนคำง่ายๆ เช่น เรียกชื่อคน สิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ชวนพูดคุยขณะทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก เช่น อาบน้ำแต่งตัว รวมถึงการเล่น

-การดูแลทางการแพทย์

สนับสนุนให้คุณปู่ดูแลสุขภาพของเด็กให้เหมาะสม ไปพบแพทย์เพื่อประเมินพัฒนาการ ดูแลอาหารการกินเนื่องจากมีปัญหาด้านการขับถ่าย หากเด็กไม่ชอบผักแนะนำให้ปู่ปรับเปลี่ยนเมนูผักเป็นสิ่งที่เด็กชอบ เช่น ผักชุบแป้งทอดกรอบจิ้มซอส รวมถึงอาจจะต้องยาที่เด็กต้องรับประทาน

การศึกษา

-ปฐมวัย

เตรียมความพร้อมก่อนเข้าอนุบาล โดยฝึกให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ระดับหนึ่ง เช่น ช่วยใส่เสื้อผ้า ฝึกทานข้าว และ แปรงฟันเอง โดยมีคุณปู่คอยช่วยเหลือ ฝึกนับเลข รู้จักรูปสัตว์ ตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แนะนำให้คุณปู่เล่านิทานให้เด็กฟังเพื่อนส่งเสริมการจินตการและความรู้

ความเป็นอยู่

-การพัฒนาทักษะ

ควรพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการเข้าสังคมทั้ง verbal และ non verbal เพื่อให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เพิ่มสุขภาวะทางกาย ทำกิจกรรมที่เสริมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ ส่งเสริมจริยธรรมคุณธรรมง่ายๆ เช่น สอนให้เด็กทำการบ้านและส่งให้ตรงเวลา ให้เด็กช่วยทำงานบ้านง่ายๆ สอนให้เก็บออมเงินไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เป็นต้น

สังคม

-สันทนาการ การพักผ่อนและการกีฬา

แนะนำให้คุณปู่กระตุ้นให้เด็กมีการร้องเพลงa-z,ก-ฮ เพลงนิทานสำหรับเด็ก เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาควบคู่ไปกับการส่งเสริมสันทนาการในเด็ก ส่งเสริมกิจกรรมที่กระตุ้นการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ด้วย เช่น ให้เด็กได้วิ่งเล่นกับเพื่อน เล่นเตะบอล ปั่นจักรยาน

การเสริมพลัง

-การปรับเปลี่ยนสถานภาพทางชุมชน

จัดการประชุมการแลกเปลี่ยนความรู้ในการดูแลเด็กให้สำหรับครอบครัวที่สนใจจะแลกเปลี่ยนความรู้ โดยจัดกลุ่มให้ครอบครัวที่มีเด็กอายุไล่เลี่ยกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

จากการประเมิน ICF สามารถแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อใหญ่ ที่ต้องพิจารณาถึงความสำคัญ นั่นคือ 1.การจัดกลุ่มครอบครัวดูแลเด็กวัยใกล้เคียงกัน 2.การประเมินDenver-II  3.การสื่อสาร ซึ่งในข้อหลังนี้ต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่ทำให้การสื่อสารเกิดความล้าช้า ได้แก่ oromotor strcture เช่น การเคลื่อนไหวของลิ้นเป็นอย่างไร กล้ามเนื้อรอบปากทำงานดีหรือไม่ สามารถส่งเสียงออกมาได้ไหม เป็นต้น , การเลี้ยงดูต่างวัย , พ่อแม่หรือผู้ดูแลเป็นต้นแบบในการพูดให้แก่เด็กหรือไม่

          สิ่งได้จากการแนะนำจากอาจารย์เพิ่มเติมคือ
- ต้องประเมิน Fine Motor and Gross motor ว่ามี Delayed หรือไม่
- มีปัจจัยมาจากสิ่งแวดล้อมที่บ้านหรือไม่ เช่น การเลี้ยงดูนั้น ผู้ปกครองได้มีโอกาสส่งเสริมด้านการเคลื่อนไหวหรือไม่
- ต้องสอบถามประวัติการคลอดเพิ่มเติม
- ควรเน้นแนวทางการรักษา ฟื้นฟู มากกว่าการป้องกัน
- การจัดกลุ่มครอบครัวดูแลเด็กวัยเดียวกัน ให้ครอบครัวที่มีลูกหลานอายุใกล้เคียงกันได้ติดต่อพูดคุยปรึกษาปัญหาที่แต่ละคนพบเจอ
- ประเมิน Denver ll เพื่อดูระดับพัฒนาการของเด็ก
- เกิดจากพันธุกรรม พ่อแม่เคยมีประวัติพูดช้าหรือไม่
- ควรตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับความสามารถของเด็กในการทำ BADL โดยเฉพาะการสวมใส่กางเกง การดูแลการขับถ่ายของตนเอง

และจากข้อมูลพบว่าผู้รับบริการเพศชาย ในวัย 2 ขวบ พบว่า

-มีพัฒนาการในด้านการพูดช้า

-ดูดนิ้วมือ อาจมีสาเหตุมาจาก Tactile defensiveness (จากICF: Pretalking communication เพื่อหาสาเหตุของ OMI ได้แก่ การดูโครงสร้างภายในช่องปาก ช่องว่างระหว่างวัยของคุณปู่และหลาน ความเป็นต้นแบบของพ่อแม่)

-ไม่ทานผัก สาเหตุมาจาก Delayed feeding to chewing ability

หมายเลขบันทึก: 688663เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2021 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2021 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วิเคราะห์ดี แต่ควรเพิ่ม Toileting Training @ 2 y + Caregiver Psychoeducation (Worrying about Eating related Constipation + How to Improve Delayed Speech related Sound Production (Play) +/- OMD Ax and Home Safety Ax

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท