สะท้อนการเรียนรู้ PBL ll


     ขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านในชั้นเรียนที่เข้ารับฟังการนำเสนองานของนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 และร่วมอภิปราย ให้คำแนะนำ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน

     ข้อมูลผู้รับบริการของกลุ่ม 1 คือ นางพิมพ์ แซ่ฮุย อายุ 68 ปี เป็นผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก มีลูก 2 คน และหลาน 1 คน ปัจจุบันอาศัยอยู่กับหลานตอนช่วงกลางวัน ผู้รับบริการสามารถทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐานและช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันทั่วไปได้ เวลาเดินออกไปข้างนอกใช้ไม้เท้า ถ้าเดินในบ้านจะเกาะของเดินไป ผู้รับบริการมีสติ สามารถพูดคุยรู้เรื่องและรับรู้เรื่องราวได้ดี และอาศัยอยู่บ้านกาชาด ซึ่งเป็นบ้านที่นายกเทศมนตรีศาลายาจัดสร้างขึ้นให้ และผู้รับบริการมีรายได้จากสิทธิของผู้สูงอายุและคนพิการ

     โดยปัญหาสำคัญในแต่ละด้านจากเมทริกซ์การฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชน กลุ่มเราได้เลือกหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการ ได้แก่ ด้านสุขภาพ เลือกการป้องกัน , ด้านการศึกษา เลือกการเรียนรู้ตลอดชีวิต , ด้านความเป็นอยู่ เลือกการพัฒนาทักษะ , ด้านสังคม เลือกความสัมพันธ์ การสมรสและครอบครัว , ด้านการเสริมพลัง เลือกการปรับเปลี่ยนสถานภาพชุมชน ซึ่งสิทธิผู้พิการที่ควรได้รับการฟื้นฟูสองอันดับแรกที่กลุ่มเราเลือก คือ ด้านความเคารพในศักดิ์ศรีของบุคคลและความเป็นตัวของตัวเองของเขาเหล่านั้น ตลอดจนอิสรภาพในการเลือกสิ่งต่าง ๆ ให้ตนเองและการที่ตนไม่ต้องขึ้นอยู่กับใคร และด้านการไม่แบ่งแยก

     ในการประเมิน ICF จะแบ่งเป็นหัวข้อ ดังนี้ body functions , body structures , activities and participation , environmental factors โดยกลุ่มเราอิงจากข้อมูลของผู้รับบริการและสมมติฐานตามอาการของโรค ซึ่งมีการแบ่งตามระดับความบกพร่อง ความสามารถในการเข้าร่วมกิจกรรม และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีทั้งสนับสนุนและขัดขวาง ตามที่ได้นำเสนอไป ซึ่งข้อมูลเพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ จะมาจากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการ เช่น รู้สึกเจ็บบริเวณไหนบ้าง , ถามกิจกรรมที่ทำในหนึ่งวัน , ถามกิจกรรมที่ผู้รับบริการชอบทำในแต่ละวัน , ถามเกี่ยวกับการร่วมกิจกรรมในชุมชน , ถามเรื่องการนอน , ถามเกี่ยวกับยาที่ทาน , ถามผู้รับบริการว่าสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินของผู้รับบริการบ้าง , ถามผู้รับบริการว่ามีใครมาเยี่ยมบ้าง , ถามผู้รับบริการว่ามีใครมาช่วยดูแลตอนกลางวันบ้าง , ถามผู้รับบริการว่ามีสิ่งแวดล้อมตรงไหนที่เป็นอุปสรรคต่อการทำกิจวัตรประจำวันไหม , ถามผู้รับบริการว่าต้องการความช่วยเหลืออะไรจากคนในชุมชนบ้าง นอกจากการสัมภาษณ์แล้วยังมีการสังเกตการณ์พูด การเดินของผู้รับบริการ และใช้การตรวจประเมิน sensory (proprioceptive , touch , temperature , pain) , muscle tone , balance , muscle power , voluntary movement

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากอาจารย์ฐิติยา

     สอบถามผู้รับบริการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดตามการพบแพทย์ (follow up) ผู้รับบริการมีการฟื้นฟู ดูแลสุขภาพตนเองที่บ้านอย่างไรบ้าง เนื่องจากการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดซ้ำอีกครั้งได้ และสอบถามเชื่อมโยงถึงการดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารของผู้รับบริการ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากอาจารย์วัฒนารี   

     เนื่องจากผู้รับบริการเป็นผู้สูงอายุ ในส่วนของเมทริกซ์กับการเชื่อมโยง ICF ในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงไม่ได้มุ่งหมายเฉพาะด้าน education แต่ควรมองให้ถึงบริบทชุมชนว่าผู้รับบริการอยู่บ้านทำอะไรบ้าง รวมทั้งสอบถามผู้รับบริการเพิ่มเติมในบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดที่จะไปสนับสนุน และส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ เช่น ด้าน leisure เนื่องจากผู้รับบริการอยู่ว่าง ๆ จึงควรส่งเสริมให้มี meaningful มากขึ้น

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากอาจารย์มะลิวัลย์     

     ในหัวข้อ activities and participation ควรมีการสอบถามผู้รับบริการเพิ่มเติม ดังนี้

        - ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในกิจกรรมที่สามารถทำได้ ณ ปัจจุบันหรือไม่

        - ตอนนี้ผู้รับบริการรู้สึกลำบากเรื่องอะไรบ้าง เช่น การเคลื่อนไหว การใช้มือ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องใช้สองมือร่วมกัน (bilateral hand activities)

        - ผู้รับบริการมีอะไรที่เป็นอุปสรรคบ้าง หรืออะไรที่ทำแล้วยังไม่พอใจบ้าง หรืออะไรที่อยากทำได้ดีกว่านี้บ้าง

        - ผู้รับบริการอยากให้นักกิจกรรมบำบัดช่วยเหลือเรื่องใดบ้าง (needs)

        - ให้ความรู้ในเรื่องการให้อุปกรณ์ช่วย การปรับเปลี่ยนสภาพบ้าน

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากอาจารย์ศุภลักษณ์     

     P+E+O = Performance ผู้รับบริการสามารถทำ Community-Based Rehabilitation ได้ ควรวิเคราะห์กิจกรรมว่าผู้รับบริการควรจะเริ่มจากสิ่งใดก่อน เช่น (d450) walking เพื่อไปทำ (d230) carrying out daily routine และนำไปสู่การทำ (d450) undertaking multiple task และในแต่ละด้านจะประเมินอะไรบ้าง เช่น walking ประเมิน sensory function , proprioceptive function , balance และเมื่อได้ข้อมูลแล้ว นักกิจกรรมบำบัดจะฟื้นฟูอะไรบ้าง จะให้โปรแกรมการฝึกที่บ้าน (Home program) กับผู้รับบริการ และญาติอย่างไร

คำสำคัญ (Tags): #ot#elderly#stroke#community
หมายเลขบันทึก: 688658เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2021 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2021 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วิเคราะห์ได้ดี แต่ควรเพิ่ม Social & Physical Environmental Ax for Self-Care Assistive Devices with Home Modification & Leisure Satisfaction Balanced Vocational Participation + Self-efficacy Ax

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท