สะท้อนความรู้ PBL ll


  จากการร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ case conference ในการเรียนรู้แบบ Problem Base Learning (PBL) ในรายวิชากิจกรรมบำบัดในชุมชน สามารถสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอภิปรายร่วมกันดังนี้ 

ผู้รับบริการของกลุ่มเราคือคุณยายเอ (นามสมมติ) อายุ 81 ปี ล้ม กระดูกหักเมื่อ 1เดือนที่ผ่านมา นอนติดเตียงสามารถบอกความต้องการได้ พูดคุยเข้าใจ ปัจจุบันอาศัยอยู่กับลูกแต่ลูกจะกลับมาบ้านตอนบ่าย 2  

      จากข้อมูลของผู้รับบริการที่ได้ทราบ กลุ่มเราจึงร่วมกันวิเคราะห์ถึงปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน โดยวิเคราะห์ผ่าน ICF  ในด้านต่างๆดังนี้

  • Sleep functions : เนื่องจากคุณยายกระดูกหักบริเวณขา อาการปวดจากการที่กระดูกหักอาจส่งผลกระทบต่อการนอนของคุณยาย 
  • Emotional functions : คุณยายมีอายุมากและมีความเจ็บจากกระดูกหักบริเวณขาซึ่งอาจส่งผลให้อารมณ์แปรปรวน
  • Quality of vision and hearing functions : คุณภาพการมองเห็นและการได้ยินลดลงเนื่องจากคุณยายมีอายุมากอาจทำให้การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันมีความยากลำบาก เช่น การอ่านฉลากยา และการสื่อสาร
  • Proprioceptive functions : จากการที่กระดูกหักอาจทำให้มีความบกพร่องในการรับรู้ข้อต่อ
  • Urination functions : เนื่องจากคุณยายนอนติดเตียงอาจทำให้มีความยากลำบากในการขับถ่าย 
  • Mobility of joint functions : มีช่วงการเคลื่อนไหวจำกัดเนื่องจากกระดูกหัก
  • Stability of joint functions : มีความมั่นคงของข้อต่อลดลงเนื่องจากคุณยายมีอายุมาก
  • Muscle functions : เนื่องจากคุณยายนอนติดเตียงและมีอายุมากอาจทำให้กำลังกล้ามเนื้อลดลง
  • Stucture of pelvic region and lower extremity : กระดูกหักบริเวณขาส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของรยางค์ส่วนล่าง ( lower extremity )และกระดูกเชิงกราน ( pelvic ) ส่งผลให้คุณยายนอนติดเตียง

       เมื่อคาดการณ์ถึงปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตแล้วเราจึงร่วมกันวางแผนในการประเมินเพื่อทำให้ทราบถึงปัญหาที่ชัดเจนมากขึ้น ดังนี้

  • ประเมินจากการสัมภาษณ์ ในด้าน sleep functions , emotional functions , quality of vision , hearing functions , urination functions , transferring oneself , walking , washing oneself , family relationship  
  • ประเมินโดยการจับข้อต่อต่างๆและกล้ามเนื้อ ในด้าน muscle functions
  • Proprioceptive test ในด้าน proprioceptive function
  • ประเมินโดยใช้แบบประเมิน Barthel index ในด้าน caring for body parts , toileting , putting on clothes , eating , houseold task , preparing simple meals

      จากคำแนะนำของอาจารย์ทุกท่าน พวกเราได้กลับมารวบรวมประเด็นและสรุปผลว่า ควรจะหาข้อมูลเพิ่มเติมและส่งเสริมการให้บริการในหัวข้อดังต่อไปนี้

1. หาข้อมูลเรื่องวิธีการจัดการ pain management ใน very old age เช่น การทำ positioning โดยควรมีการประเมินภาวะกระดูกหักว่าส่งผลต่อความสามารถอย่างไร โดยอ้างอิงตาม ICF

2. ประเมินผู้รับบริการในเรื่องของ quality of life การทำ ADL บนเตียง ตามหลัก “DEATH”

D : Dressing

E : Eating

A : Ambulation

T : Toileting

H : House work

3. ประเมินความสามารถจริงที่ผู้รับบริการทำได้ตาม ICF และหาข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถสูงสุดที่เป็นไปได้

4. ประเมินสภาวะจิตใจ (phycho) เกี่ยวกับอาการเศร้าหลังจากที่เจ็บป่วย และสอบถามผลกระทบต่อการนอนหลับ(sleep function) 

5. ประเมินการทำกิจกรรมในช่วงที่อยู่คนเดียว (เช้า-ช่วงที่ลูกสาวกลับมา) และส่งเสริมให้ผู้รับบริการค้นหาและทำกิจกรรมตามที่ตนเองสนใจ

6. ประเมินและปรับสิ่งแวดล้อมภายในห้อง บริเวณรอบเตียง

7. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์

8. สอบถามถึงหน่วยงานและองค์กรที่เข้ามาช่วยเหลือ และศึกษาข้อมูลของหน่วยงานเพิ่มเติม รวมถึงสิทธิที่จะได้รับ

      สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านและเพื่อนๆนักศึกษากิจกรรมบำบัดปีที่ 3 ที่ร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้

หมายเลขบันทึก: 688649เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2021 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2021 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วิเคราะห์ได้ดี แต่ควรเพิ่ม Very Old Age Coping with Self-Care Anxiety and Graded Exposure on Bed Mobility Assistive Devices

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท