สะท้อนการเรียนรู้ในหัวข้อ Perspective on Health Practice in Occupational Therapy during the Covid-19 pandemic


         จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ Covid-19 ของประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรค หลายคนเลือกที่จะใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน ไม่ออกไปข้างนอกเหมือนอย่างที่เคยเป็น ดังนั้น สังคมออนไลน์ จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ผู้คนได้ติดต่อสื่อสารกันขณะกักตัวอยู่ที่บ้าน และเป็นช่องทางที่น่าสนใจและสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์ได้เช่นกัน 

         Telehealth เป็นการบริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ในทางกิจกรรมบำบัด มีการอธิบายไว้ว่า Telehealth occupational therapy is “The application of telecommunication and information technologies for the delivery of rehabilitation services” (American Occupational Therapy Association [AOTA], 2013, p.S69) ซึ่งการให้บริการจะต้องได้รับการยินยอมและรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการ รวมไปถึงมีการบันทึกภาพเคลื่อนไหวระหว่างให้การบริการเพื่อเก็บเป็นประวัติการรักษาของผู้รับบริการ และนักกิจกรรมบำบัดจะต้องรักษาบทบาทการเป็นบุคลากรทางแพทย์ไว้ ไม่ใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้รับบริการจนเกินไป การให้บริการ Telehealth กับผู้รับบริการบางราย สามารถให้การรักษาต่อเนื่องจากเดิมได้เลย แต่สำหรับผู้รับบริการบางราย อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายในการรักษาใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้รับบริการมากที่สุด โดยจะมีรูปแบบการให้บริการ 3 แบบ ดังนี้ 

1. Parent coaching : ผู้บำบัดสอนทักษะการฝึกกับผู้ปกครองและให้ผู้ปกครองเป็นคนฝึกเอง 

2. Teletherapy : ผู้บำบัดให้การรักษากับผู้รับบริการโดยตรง 

3. Counselling : ผู้บำบัดให้คำแนะนำผู้ปกครองในการดูแลผู้รับบริการ 

          และก่อนการให้บริการ ผู้บำบัดจะต้องมีการเตรียมความพร้อม ทั้งเรื่องการพูดคุยกับผู้ปกครองถึงเป้าหมายในการรักษา แผนการรักษา และการเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการรักษา รวมไปถึงผู้บำบัดจะต้องเตรียมตัวเองในการออกแบบวิธีสร้างสัมพันธภาพ การออกแบบกิจกรรมในการรักษา เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้รับบริการ

ข้อดีของการให้บริการในรูปแบบ Telehealth

- ปลอดภัยในสถานการณ์ Covid-19

- สามารถให้บริการทางไกลได้ ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระยะทาง

- สามารถปรับเปลี่ยนหรือยืดหยุ่นตารางเวลาการฝึกได้

- สามารถฝึกบำบัดผู้รับบริการในสถานที่จริงและบริบทจริงของผู้รับบริการได้

- ประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลา

ข้อเสียของการให้บริการในรูปแบบ Telehealth

- การประเมินความสามารถของผู้รับบริการ อาจจะเกิดความบกพร่องได้ เนื่องจากผู้บำบัดทำการประเมินผ่านคำสั่ง และสังเกตผ่านหน้าจอเท่านั้น

- สามารถเกิดข้อจำกัดในเรื่องของอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี เช่น สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ดี เป็นต้น

- ส่วนใหญ่ ผู้รับบริการไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง มักมีผู้ดูแลคอยให้ความช่วยเหลือ 

          นอกจากนี้ ยังได้ทราบขั้นตอนในการสัมภาษณ์ เริ่มตั้งแต่การวางแผนเตรียมการสัมภาษณ์ การเริ่มต้นการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์และการสรุปการสัมภาษณ์ ไปจนถึงการรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและตรงประเด็น เมื่อถึงขั้นตอนของการรักษา มักจะมาในรูปแบบของการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็จะมีเทคนิคในการให้คำปรึกษา ได้แก่ การนำเข้าสู่บทสนทนา การตั้งคำถาม การทบทวนประโยค การสะท้อนความรู้สึกและการสรุปประเด็น ที่สำคัญ นักกิจกรรมนอกจากจะต้องเป็นผู้พูดที่ดีแล้ว ควรจะเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย จึงสามารถสรุปเทคนิคในการฟังออกมาได้ ดังนี้ 

Purposes ฟังแบบกำหนดชัดเจน อย่าฟังเพลินจนนอกประเด็น 

Relation ฟังแบบไม่ตัดสินผู้รับบริการ รอฟังเหตุผลของผู้รับบริการ 

Communication ฟังแบบมีภาษาท่าทางที่จริงใจ พูดเมื่อถึงเวลา 

Flexibility ฟังแบบยืดหยุ่นได้บ้าง แต่อย่าหลงประเด็น 

Positive reinforcement ฟังแบบชื่นชมและให้กำลังใจผู้รับบริการอยู่เสมอ

          หลายๆครั้ง นักกิจกรรมบำบัด อาจจะไม่ได้เป็นบุคลากรทางการแพทย์เพียงคนเดียวที่ต้องดูแลและให้การรักษาผู้รับบริการ ยังคงมีทีมแพทย์ ทีมพยาบาล ทีมนักสังคมสงเคราะห์ร่วมด้วย ดังนั้น การทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพอื่น จึงยังคงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะให้บริการในรูปแบบ Online หรือ Onsite ก็ตาม

          สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณพี่ๆ นักกิจกรรมบำบัดทั้งสามท่าน ที่ได้มามอบความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการให้บริการ Telehealth ในรายวิชา 338  กิจกรรมบำบัดในชุมชน และดิฉันจะเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ที่ได้ ไปประยุกต์ใช้กับการให้บริการ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในอนาคต


หมายเลขบันทึก: 688452เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2021 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2021 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จากทึ่ได้อ่านบทความนี้ ทำให้สามาถเข้าใจรูปแบบของการรักษาแบบtelehealthในแบบต่างๆได้ดี รวมถึงเทคนิคของการฟังขณะสัมภาษณ์ในการเป็นทั้งผู้ฟังที่ดีรวมถึงเป็นผู้พูดที่ดีอีกด้วย

จากที่ได้อ่านและทำความเข้าใจ พบว่าสามารถสรุปเนื้อหาได้ชัดเจน เข้าใจได้ง่าย สามารถนำเนื้อหาไปใช้กับการทำงานได้ในอนาคต เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านมากๆค่ะ

สะท้อนความรู้และสรุปเนื้อหาได้ดี มีการแสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อจำกัดของการทำtelehealthอย่างชัดเจนเนื้อหาก็เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ และเห็นด้วยกับที่ว่าการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพก็เป็นสิ่งสำคัญอยู่แม้ใช้telehealthก็ยังคงต้องมีการปรึกษาทำงานร่วมกันอยู่

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท