กิจกรรมบำบัดในชุมชน


สะท้อนการเรียนรู้ในหัวข้อ Perspective on health practice in occupational therapy during the COVID-19 pandemic

     จากการได้เรียนรู้ออนไลน์ในคาบวิชากิจกรรมบำบัดในชุมชนครั้งที่4 หัวข้อ Respective on health in occupational therapy during the COVID-19 pandemic  จากพี่แนน พี่กี พี่โม นักกิจกรรมบำบัด ทำให้ได้ทราบวิธีการบำบัดรักษาที่เรียกว่า “ Telehealth” 

     เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทำให้การลงชุมชนเพื่อไปบำบัดรักษา ฟื้นฟู มีความเสี่ยงสูงทั้งผู้รับบริการและผู้บำบัด ทำให้มีการนำ Telehealth ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาให้บริการดูแล ฟื้นฟู ให้คำปรึกษาสุขภาพของประชาชนผ่านการวิดิโอคอลหรือรูปแบบอื่นๆ ซึ่งการทำ telehelth มีข้อดีคือสามารถทำทางไกลได้ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และทำให้ได้เห็นผู้รับบริการในสิ่งแวดล้อมจริงของผู้รับบริการทำให้วิธีบำบัดรักษาวิธีนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการให้บริการในสถานการณ์ปัจจุบัน

     จากการฟังประสบการณ์ของพี่ๆทั้ง3คนทำให้รับความรู้ตั้งแต่เรื่องกระบวนการทำ telehealth ที่เริ่มแรกควรจะมีการพูดคุยกับผู้ปกครองในการยินยอมให้การบำบัดรักษา ความเป็นส่วนตัว และการบอกให้ผู้ปกครองทราบถึงการบันทึกวิดิโอขณะทำการบำบัดรักษาโดยข้อมูลจะถูกเก็บเป็นความลับ รวมถึงการตั้งเป้าประสงค์ร่วมกันกับผู้ปกครองเพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้ปกครองและผู้รับบริการ และการเลือก platform ให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ โดยplatform มี3รูปแบบคือ 

  1. Parent coaching : ผู้ปกครองเป็นผู้บำบัดด้วยตนเองโดยจะได้รับคำแนะนำจากผู้บำบัด
  2. Teletetherapy : ผู้บำบัดทำการบำบัดรักษารักษาเด็กผ่านการวิดิโอคอลและมีผู้ปกครองคอยดูและอยู่ข้างๆเด็ก
  3. Counselling : การให้คำแนะนำกับผู้ปกครอง 

     นอกจากนี้แล้วยังได้ทราบขั้นตอนการสัมภาษณ์ เทคนิคการให้คำปรึกษา และการใช้ Teleconsultation ในชุมชนผ่าน application ในการสื่อสารระหว่างทีมสหวิชาชีพกับผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการได้เข้าถึงการรักษาได้อย่างทั่วถึง ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

  • ข้อดี คือ ประหยัดเวลา , ลดความเสี่ยงต่อการระบาดของโควิด-19 , ได้รับข้อมูลจากทั้งผู้ดูแลและบุคลากรทางการแพทย์ในชุมชน และง่ายต่อการติดต่อกับบุคลากรทางการแพทย์
  • ข้อเสีย คือ ผู้รับบริการบางคนไม่มีsmartphone หรือ internet ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาผ่าน telehealth ได้, application มีความซับซ้อนทำให้ผู้ดูแล เช่น อสม. หรือ ผู้ดูแลสูงอายุ มีความยากลำบากในการใช้งาน
หมายเลขบันทึก: 688414เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2021 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2021 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท