สะท้อนการเรียนรู้ในหัวข้อ Perspective on health practice in occupational therapy during the COVID-19 pandemic


Telehealth/Teletherapy คือ เป็นการใช้สื่อ application ในการสื่อสารส่งข้อมูลเพื่อการบริการทางด้านการบำบัดฟื้นฟู

ปัจจุบัน สื่อในประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมจึงมีความยากลำบากกว่าต่างประเทศ

How to get start in telehealth 

                ผู้บำบัดและผู้รับบริการต้องทำข้อตกลงระหว่างกัน โดยการเซ็นเอกสารยินยอมในการบำบัดรักษา ทั้งผู้บำบัดและผู้รับบริการ โดยจะระบุเกี่ยวกับ ข้อจำกัดเพิ่มเติมเรื่องความเป็นส่วนตัว ไม่อนุญาติให้บันทึกวิดีโอ บันทึกเสียง ต้องเป็นห้องปิด และสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือ ควรที่จะดำรงบทบาทนักบำบัด-ผู้รับบริการ และรักษาขอบเขตอย่างระมัดระวัง

        ต้องคุยกับผู้ปกครองและผู้รับบริการเด็กเพื่อทำความเข้าใจและตกลงตามเป้าประสงค์เดิม  หรือตั้งเป้าประสงค์ใหม่ โดยการใช้ teletherapy มาเป็นวิธีการในการบำบัด

Platform and process in the telehealth

                นอกจากการตั้งเป้าประสงค์ ผู้บำบัดต้องปรึกษาและตกลงกับผู้ปกครองว่าจะใช้รูปแบบและกระบวนการใดในการทำการบำบัดทางไกล โดยมีรูปแบบดังนี้

1. Parent coaching นักบำบัดจะตกลงกับผู้ปกครองว่า เป้าประสงค์ของวันนี้จะทำอะไรกันบ้าง แล้วจะให้ผู้ปกครองเป็นผู้ทำกับเด็ก และนักบำบัดให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ปกครองเช่น การชี้นำ การลดการช่วยเหลือ โดยนักบำบัดต้องระมัดระวังในการใช้คำพูดที่เป็นการสั่ง การติลบ เมื่อผู้ปกครองทำผิดหรือช่วยเหลือมากเกินไป

2. Teletherapy การที่ผู้บำบัดให้ผู้รับบริการทำตามที่ผู้บำบัดสั่งได้ เหมาะกับเด็กที่มี cognitive ที่ดี

3. Counselling เป็นการที่นักบำบัดให้คำแนะนำกับผู้ปกครองในการทำกิจกรรม โดยไม่ใช่แค่ครั้งเดียว แต่จะมีการปรึกษา และให้คำปรึกษาอยู่ทุกสัปดาห์ มีการ feedback กิจกรรมที่ได้ทำไป

ก่อนที่จะมีการบำบัด นักบำบัดก็จะส่ง email ไปหาผู้ปกครอง เพื่อบอกแผนการบำบัด และเตรียมอุปกรณ์

การเริ่มการบำบัด โดย

1. ทำความคุ้นเคยกับเด็ก 

2. ประเมินความสามารถของเด็กและผู้ปกครอง

3. เริ่มการบำบัด โดยมีการบอกว่าวันนี้จะทำอะไรบ้าง พักตอนไหน

4. ให้ feed back ผู้ปกครอง ให้เขาได้ตรวจสอบและทบทวนตนเอง ว่าควรจะปรับการช่วยเหลืออย่างไรบ้าง ควรจะชมก่อน ค่อย feedback ทางด้านลบ

ข้อดีของ telehealth

1. ปลอดภัยจากโควิด                                     2. สามารถทำทางไกลได้

3. ทำที่ไหนก็ได้                                            4. ตารางเวลามีความยืดหยุ่น

5. ได้เห็นผู้รับบริการในสถานที่จริง                      6. ประหยัดเวลาในการเดินทางและค่าใช้จ่าย

ข้อเสียของ telehealth

1. ผู้บำบัดไม่สามารถประเมินผู้รับบริการตัวต่อตัวได้

2. อุปกรณ์ เทคโนโลยีจำกัด

3. ต้องการผู้ช่วยดูแลผู้รับบริการ

กุญแจสู่ความสำเร็จ

1. เตรียมความพร้อม

2. มี SMART goals

3. มีความยืดหยุ่น

4. แก้ปัญหาเฉพาะหน้า

5. ทำให้เกิดขึ้นจริง

                        การใช้ application การทำ telehealth  ผ่านการใช้ application โดยมีการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ  ทำให้ได้ข้อมูลสุขภาพของผู้รับบริการเพิ่มมากขึ้น  

ข้อดี คือประหยัดเวลา ลดความเสี่ยงในการติดโรค ได้รู้ข้อมูลหลายๆด้าน จากสหวิชาชีพและผู้ดูแล

ข้อเสีย คือมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี ขาดความรู้ ความยุ่งยาก ซับซ้อนของเทคโนโลยี               

          ผู้เขียนมีความเห็นว่า ในช่วงสถานการ์ณโรคระบาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การปฏิบัติงานหลายๆอาชีพ รวมถึงอาชีพกิจกรรมบำบัด การนำเอา telehealth/teletherapy มาใช้เป็นแนวทางในการบำบัด เป็นวิธีที่ดี ต้องมีการเตรียมความพร้อมมากขึ้น มีความยืดหยุ่นมากขึ้น แม้ประสิทธิภาพจะไม่เท่ากับการได้มาเจอที่คลินิก และมีปัญหาทางด้านเทคโนโลยี แต่เป็นการแก้ไขปัญหาสถานการ์ณเพื่อให้การบำบัดดำเนินต่อ และป้องกันผลกระทบต่อความก้าวหน้าด้านการฟื้นฟูของผู้รับบริการ หากหยุดโปรแกรมการบำบัดเป็นเวลานาน

นางสาว สุนิสา สุขผล 6123010


        

หมายเลขบันทึก: 688413เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2021 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2021 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
   จากบทความข้างต้น ขอชื่นชมผู้เขียนในการสรุปความรู้ ข้อดี และข้อจำกัดของการให้บริการการบำบัดฟื้นฟูผ่านทาง Telehealth ได้ค่อนข้างครบถ้วน ขอเพิ่มเติมข้อจำกัดอีกหนึ่งอย่างของ Telehealth คือ ในการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการฝ่ายจิตสังคม ซึ่งยังไม่ค่อยมีการศึกษาวิจัยรองรับมากนัก   และเห็นด้วยกับผู้เขียนในประเด็นที่ว่า สื่อหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ในประเทศไทยยังไม่ค่อยมีความพร้อมในการรองรับการให้บริการทางสุขภาพผ่านทาง Telehealth มากนัก อาจเป็นเพราะการเข้าถึงเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์สื่อสาร อาทิ คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ซึ่งผู้รับบริการในพื้นที่ห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือไม่มีความรู้ความเข้าใจที่มากพอในการใช้งาน จึงเป็นอีกหนึ่งข้อจำกัดที่สำคัญในการให้บริการทางสุขภาพผ่าน Telehealth

จากการอ่านบทความข้างต้น ดิฉันสนใจในประเด็นที่กล่าวว่า สื่อในประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมจึงมีความยากลำบากในการทำ telehealth มากกว่าต่างประเทศ ซึ่งดิฉันเห็นด้วย เพราะเป็นความจริงที่ประเทศไทยประสบกับปัญหานี้ เนื่องจากมีหลายคนที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้สูงอายุ และสนใจในประเด็นกุญแจสู่ความสำเร็จ 5 ข้อ ที่เขียนได้อย่างครอบคลุม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอาชีพนักกิจกรรมบำบัดได้ โดยในภาพรวมผู้เขียนมีการเรียงลำดับเนื้อหาในการเขียนได้ดี ชัดเจน และตรงประเด็น

      บทความนี้ เปรียบเสมือนคู่มือฉบับย่อที่มีข้อมูลอย่าครบถ้วน สำหรับนักกิจกรรมบำบัดเพื่อการเตรียมตัวทำ teletherapy/telehealth โดยได้อธิบายให้เข้าใจเเละรู้จักมากขึ้น เเละบอกกล่าวถึงความสะดวกในการใช้เมื่อเทียบกับต่างประเทศ  ผู้เขียนได้บรรยายการเริ่มต้นทำ telehealth ได้กระชับเเละครบถ้วน สามารถนำไปฝึกปฏิบัติตามได้ เเละอธิบายถึงรูปแบบการรักษาต่างๆ ได้มีการเขียนขั้นตอนการทำ telehealth ไว้อย่างชัดเจน ตั้งเเต่เริ่มจนจบกระบวนการ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงข้อดีเเละข้อเสียเพื่อการพิจารณาอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการเเนะนำเพื่อการทำให้สำเร็จอีกด้วย      ผู้เขียนได้มีการสรุปเนื้อหาทั้งหมด เเละเเสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาและสถานการณ์ปัจจุบัน เเสดงถึงความเข้าใจอย่างเเท้จริงต่อเนื้อหาเเละความรู้ที่ได้รับ ซึ่งเหมาะสมที่จะได้เเบ่งปันเเละเรียนรู้กันต่อไป
      บทความนี้ เปรียบเสมือนคู่มือฉบับย่อที่มีข้อมูลอย่าครบถ้วน สำหรับนักกิจกรรมบำบัดเพื่อการเตรียมตัวทำ teletherapy/telehealth โดยได้อธิบายให้เข้าใจเเละรู้จักมากขึ้น เเละบอกกล่าวถึงความสะดวกในการใช้เมื่อเทียบกับต่างประเทศ  ผู้เขียนได้บรรยายการเริ่มต้นทำ telehealth ได้กระชับเเละครบถ้วน สามารถนำไปฝึกปฏิบัติตามได้ เเละอธิบายถึงรูปแบบการรักษาต่างๆ ได้มีการเขียนขั้นตอนการทำ telehealth ไว้อย่างชัดเจน ตั้งเเต่เริ่มจนจบกระบวนการ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงข้อดีเเละข้อเสียเพื่อการพิจารณาอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการเเนะนำเพื่อการทำให้สำเร็จอีกด้วย      ผู้เขียนได้มีการสรุปเนื้อหาทั้งหมด เเละเเสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาและสถานการณ์ปัจจุบัน เเสดงถึงความเข้าใจอย่างเเท้จริงต่อเนื้อหาเเละความรู้ที่ได้รับ ซึ่งเหมาะสมที่จะได้เเบ่งปันเเละเรียนรู้กันต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท