เรียนรู้กิจกรรมบำบัดผ่านบุคคลที่เคยสูญเสีย


Community survivors and learning skills

ถ้าวันนึงคุณสูญเสียคนที่คุณรักไปอย่างกระทันหัน คุณจะก้าวผ่านเหตุการณ์นั้นไปอย่างไร.

จากงานที่อาจารย์วินัยมอบหมายให้หลังจากเรียนคาบวิชา232จบ คือการสัมภาษณ์บุคคลที่มีปัญหาหรือความบกพร่องทางกายหรือจิตใจที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน และวิธีการก้าวผ่านเหตุการณ์นั้น เมื่อได้รับมอบหมายมาบุคคลที่ผมนึกถึงเป็นคนแรกนั่นคือ “คุณย่า”ของผมเองครับท่านเคยเป็นโรคPTSD แต่ด้วยความที่เรื่องราวและสาเหตุของโรคนี้ค่อนข้างเป็นเรื่องที่สะเทือนใจต่อตัวคุณย่าผมมาก ผมจึงลังเลที่จะขอท่านสัมภาษณ์แต่เมื่อวันหยุดยาวที่ผ่านมาผมได้มีโอกาศโทรคุยกับคุณย่าและขออนุญาต ซึ่งคุณย่าก็ตอบตกลง

ย้อนไปก่อนผมเกิดประมาณเกือบ30ปีที่ คุณย่าของผมได้สูญเสียสามีหรือคุณปู่ไปอย่างกระทันหัน รถที่นั่งมากับคุณผู้โดนรถบรรทุกชนฝั่งคนขับ ทำให้คุณปู่เสียชีวิตทันที ณ ที่เกิดเหตุ คุณย่าของผมมีเพียงแผลถลอก และเลือดออกที่ศีรษะเท่านั้น คุณย่าเล่าว่าย่าร้องไห้สติแตกจนหลับไป พอตื่นขึ้นมาที่โรงพยาบาล ย่าก็ถามหาปู่ เมื่อรู้ความจริงว่าปู่เสียแล้ว ย่าก็ร้องไห้จนหลับไป คุณย่ามีอาการไม่ยอมรับความจริงอยู่ในช่วง3-4วันแรก หลังจากนั้นคุณย่าก็มักจะเหม่อลอย ไม่มีความสนใจในกิจกรรมใด ความอยากอาหารน้อยลง ตื่นขึ้นมาร้องไห้กลางดึก และมักจะฝันหรือนึกถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ คุณย่ามีอาการอย่างนี้นานหลายเดือน และรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล พออาการของคุณย่าดีขึ้นคือ ไม่ค่อยนึกถึงเหตุการณ์นั้นแล้ว ไม่ตื่นขึ้นกลางดึก มีเพียงอาการเหม่อลอยบางครั้ง คุณย่าก็กลับมารักษาตัวต่อที่บ้าน คุณย่าใช้เวลาปีกว่ากว่าที่จะก้าวผ่านฝันร้ายนั้นได้ ในช่วงที่ผ่านมาโรคPTSDส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันหลายอย่าง อย่างแรกคืองานที่คุณย่าทำต้องส่งต่อให้ลูกหลานข่วยดูแล ในส่วนของกิจวัตรประจำวันในช่วงแรก ย่าทานข้าวได้น้อยลง ปัสสาวะราดบางครั้ง และตื่นขึ้นกลางดึก ไม่มีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมใดๆ ซึ่งจุดที่คุณย่าก้าวผ่านมาได้คือตอนที่พ่อของผมเอาอัลบั้มรูปมาให้ย่า ย่านั่งดูรูปในนั้นเป็นวันๆ ย่าเล่าให้ฟังว่ารูปของปู่ในอัลบั้มนั้นดูมีความสุขทุกรูปเลย บวกกับกำลังใจของลูกหลานที่แวะเวียนมาเยี่ยม ย่าเลยคิดได้ว่า ถ้าปู่ยังอยู่ก็คงไม่อยากให้ย่าเศร้าเสียใจอยู่อย่างงี้ ย่าเลยเริ่มกินข้าว และดูแลตัวเอง อีกหนึ่งเหตุผลคือย่าเห็นพ่อมาเยี่ยมทุกวันแล้วไม่อยากให้ลูกเหนื่อยที่ต้องมาดูแลเพราะตัวเขาเองก็ทำอะไรได้ปกติ นั่นเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ย่าผ่านเหตุการณ์นั้นมาได้

ซึ่งย่าได้เล่าให้ฟังว่าหลังจากผ่านเรื่องราวนั้นมาย่าได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง อย่างแรกคือชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน คนที่เราคุยอยู่วันนี้พรุ่งนี้เขาอาจะไม่อยู่แล้วก็ได้ ตอนแรกย่าผมเป็นคนที่อยากทำนู่นนี่ตลอดเวลาเพราะเขาคิดว่าเขายังมีชีวิตอยู่ได้อีกนาน แต่พอมีเหตุการณ์นี้ย่าผมก็เริ่มเตรียมความพร้อมกับความตาย ย่าเล่าว่า จริงๆย่าก็ยังมีหลายอย่างที่อยากจะทำก่อนตายแต่ตอนนี้ย่าคิดว่าถ้าเขาเป็นอะไรไปเขาก็ไม่เสียใจเพราะเขาทำทุกวันที่เขายังมีชีวิตอยู่ได้ดีที่สุดแล้ว อย่างที่2คือย่าบอกว่าหลังผ่านเหตุการณ์นั้นมาทำให้ย่าหันมารักตัวเอง และคนอื่นมาขึ้น เพราะย่าไม่รู้ว่าถ้าเราไม่รักตัวเองกับคนอื่นให้มากที่สุดในตอนนี้เขาไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้บอกรักคนนนั้นหรือเปล่า นอกจากนี้สิ่งที่ย่าทำคือเป็นอาสาสมัครดูเกี่ยวกับคนมีปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนด้วยซึ่งถือเป็นการนำประสบการณ์ของย่ามาเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับผู้คน ซึ่งปัจจุบันก็ยังทำอยู่อย่างต่อเนื่องร่วมกับเทศบาลและกลุ่มอาสาคนอื่นๆ ซึ่งย่าเล่าว่า เพราะย่าเข้าใจคนที่มีจิตใจอ่อนไหวดี เพราะย่าเคยผ่านมาก่อน ดังนั้นสิ่งที่ย่าทำย่าเลยตั้งใจและจะทำไปจนกว่าจะไม่มีแรงหรือทำไม่ไหว

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด#ot#ADLs
หมายเลขบันทึก: 687326เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2020 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2020 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท