การฆ่าในมุมมองพุทธศาสนา..?


การฆ่าในมุมมองพุทธศาสนา..?

โดย...อุทัย  เอกสะพัง

    เมื่อมีคำถามถึงแนวทางคำสอนของพุทธศาสนาต่อกรณีการฆ่าเน้นชีวิตมนุษย์ที่ถูกฆ่าตายนั้น  มีหลักคำสอนของพุทธอย่างไรบ้าง  ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าหลักคำสอนเรื่องจริยศาสตร์ของพุทธนั้นเป็นสิ่งตายตัว  สิ่งที่ถูกต้องนั้นมนุษย์ไปทำที่ไหนในโลกในจักรวาลนี้ก็ถูกต้องทั้งนั้น  สิ่งใดผิดไม่ว่าจะทำในสังคมใดของมนุษย์ทั่วโลกมันก็ต้องผิดทั้งนั้น

        กรณีมีนิสิตกลุ่มหนึ่งในเทอมนี้มาขอสัมภาษณ์ผมเพื่อให้แสดงความคิดเห็นตามหลักพุทธนั้นมองอย่างไรในเรื่องการุณยฆาต ( Euthanasia )  ว่าโดยหลักพุทธมองจากกฎศีล 5 ข้อที่ว่าปาณาติปาตา  เวรมณี  สิกขา  ปะทัง  สมาธิยามิ. ทำให้เข้าใจว่าการฆ่าในทุกกรณีผิดศีลข้อนี้เพราะไปละเมิดสิทธิอันชอบธรรมตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตเช่นมนุษย์ ที่เขามีสิทธิเสรีภาพในวิถีชีวิตของเขาเอง  

        อนึ่ง  การฆ่าที่สมบูรณ์แบบในทางพุทธต้องครบองค์ 5 ประการคือ

1.สิ่งนั้นมีชีวิตมีลมหายใจอยู่

2.เข้าใจแจ่งแจ้งว่าสิ่งนั้นมีชีวิต

3.ผู้ฆ่ามีจิตคิดต้องการฆ่า

4.คนฆ่ามีความเพียรพยายามฆ่า

5.สิ่งมีชีวิตนั้นตายด้วยความเพียรพยายามนั้น

สำหรับการฆ่านั้นก็มีหลายวิธีการ  เช่น  การลงมือฆ่าด้วยมือของผู้ฆ่าเอง

การจ้างวานหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่าแทนตน  การใช้คำพูดฆ่าหรือการใช้อาวุธในการฆ่า  การฆ่าด้วยยาพิษที่แยบยล  การฆ่าด้วยใช้การหลอกหลุมพราง  การฆ่าด้วยศาสตร์มนต์ดำ  และการฆ่าด้วยอิทธิฤทธิ์  เป็นต้น

        การฆ่าตัวตายของมนุษย์ก็มีหลายรูปแบบที่ให้ศึกษา  ดังนี้

  1. 1. ผู้นั้นสมัครใจที่จะตายโดยตนเองมีสติสัมปชัญญะดีอยู่แต่ต้องการตายจึงร้องขอให้ฆ่าตนกรณีป่วยหยุดการรักษา  และผู้ป่วยต้องการยินยอมให้ฆ่า
  2. 2. ผู้นั้นป่วยเป็นเจ้าชายนิทราไม่อยู่ในฐานะที่จะตัดสินใจได้  ผู้เกี่ยวข้องมีมติปล่อยผู้ป่วยให้ตายไป  หรือทำการฆ่าผู้ป่วยเพื่อไม่ให้ทุกข์ทรมานมาก
  3. 3. ผู้นั้นไม่สมัครใจที่จะจบชีวิตตน  แต่ผู้เกี่ยวข้องตัดสินให้ฆ่าเสีย

ท่านผู้อ่านคงเข้าใจเอาเองนะครับว่าการฆ่าตามหลักพุทธศาสนาแล้วสอนว่าอย่างไรเมื่อเราต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องการฆ่านี้..?

........................................................

หมายเลขบันทึก: 686874เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2020 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2020 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท