พัฒนาตนเองได้ด้วยหลัก Model of Human Occupation (MoHo)


“อันดับแรกมาทำความรู้จักกับ Model of Human Occupation (MoHo) กันก่อน”

Model of Human Occupation (MoHo)

เป็นหลักการทางกิจกรรมบำบัด ใช้วิธีการตั้งคำถาม โดยจะเน้นถาม ทำอะไร อย่างไร และเพราะอะไร แล้วประเมินแยกแยะปัญหาเพื่อตั้งเป้าหมายรายบุคคลจาก Assets (สิ่งดีๆในตัวเรา), Liabilities (สินทรัพย์-หนี้สินที่เรามี), Performance (ความสามารถที่แสดงออกมา), Influence (สิ่งที่มีผลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวทำให้เปลี่ยนพฤติกรรมการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต) และเพิ่มความสามารถของผู้รับบริการในการแสดงบทบาทที่มีความหมายในชีวิตโดยใช้สิ่งรอบตัวเป็นสื่อในการพัฒนา, ปรับตัวตามช่วงวัย และการสร้างทักษะชีวิต (นิสัยใหม่และบทบาทใหม่) ให้กับผู้รับบริการ

ในประเทศไทยนักกิจกรรมบำบัดสามารถใช้ Model of Human Occupation (MoHo) เพื่อแก้ปัญหาสุขภาวะสังคมไทยได้

การตั้งคำถามตามหลัก MoHo 

1. Occupation Identity : คุณลักษณะบุคคลต่อการทำกิจกรรมดำเนินชีวิต     

2. Occupational Competence : กิจกรรมพัฒนาศักยภาพในด้านใด             

3. Participation : การมีส่วนร่วม                                   

4. Performance : ความสามารถในการทำกิจกรรม                               

5. Skill (Communication/Interaction skills, Motor skills, Process skills)

6. - Volition : เจตจำนง

    - Habituation : พฤติกรรม + นิสัย

    - Performance Capacity : แสดงได้อย่างเต็มความสามารถ

7. Environment :อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว

ประโยชน์ของ MoHo ต่อการพัฒนาตนเอง

MoHo ทำให้เรารู้จักตนเองมากขึ้น โดยทุกๆคนก็มีนิสัยที่ไม่ดี บางคนรู้ตัวแต่บางคนก็ไม่รู้ตัว หลักการ MoHo นี้สามารถใช้ตั้งคำถามที่ทำให้เรารู้นิสัยที่ไม่ดีของตัวเรา เมื่อเรารู้ตัวแล้วก็จะทำให้เราอยากที่จะเปลี่ยนนิสัยตรงส่วนนี้ให้ดีขึ้น และ MoHo ทำให้เรารู้เป้าหมายของตนเองและรู้วิธีการที่จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายนั้น อีกทั้งยังทำให้เราได้พัฒนาความสามารถของตนเองรวมถึงการดึงศักยภาพของเราออกมาได้อย่างดียิ่งขึ้น และทำให้เราได้รู้คุณค่าของตนเอง โดย MoHo นั้นจะเป็นการตั้งคำถามต่างๆกับตัวเรา ที่จะทำให้เราได้รับรู้ถึงเจตจำนงของตนเองว่าเรามีกิจกรรมอะไรที่เราอยากจะทำแต่ยังไม่ได้ทำไหม กิจกรรมที่เราทำอยู่นั้นเราทำไปเพราะอะไร หรือเราอยากที่จะพัฒนาตนเองในด้านใดบ้าง แล้วจะสามารถพัฒนามันได้อย่างไร ถ้าเรารู้คำตอบของคำถามเหล่านี้ก็จะทำให้เราได้รู้วิธีที่จะพัฒนาตนเองและทำให้ได้รู้ว่าบทบาทไหนที่เหมาะสมสำหรับเรา

ยกตัวอย่างเช่น : 

- ฉันเป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัดที่มีเป้าหมายอยากจะฝึกพูดภาษาจีนให้ได้เพราะว่าภาษาจีนเป็นภาษาที่สำคัญและเผื่อในอนาคตสามารถใช้สื่อสารกับผู้รับบริการได้ แต่ตอนนี้ติดปัญหาตรงที่ยังไม่ค่อยมีเวลาฝึกเรียนและเรียนรู้ได้ช้า ซึ่ง MoHo จะสามารถช่วยให้คำแนะนำฉันในด้านการแบ่งเวลาให้เหมาะสม รวมถึงทำให้ฉันรู้ว่าตนเองมีทักษะความสามารถอะไรบ้าง จะพัฒนามันได้อย่างไร และแนะนำวิธีการฝึกฝนทักษะต่างๆที่จะส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของฉันให้ดีขึ้นได้ จนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

- ฉันเป็นคนที่ไม่มั่นใจในตนเองและไม่รู้ว่าตนเองมีความสามารถพิเศษในด้านใด หลักการ MoHo จะช่วยให้ฉันค้นหาความสามารถพิเศษของตนเองได้ และดึงศักยภาพของฉันออกมา โดยที่เริ่มจากฉันมีเจตจำนงที่จะต้องการหาความสามารถพิเศษของตนเอง การที่นักกิจกรรมบำบัดได้ตั้งคำถามใน 7 หัวข้อของ MoHo สามารถทำให้ฉันรู้ตัวเองว่าชอบทำกิจกรรมอะไรแล้วกิจกรรมนั้นพัฒนาศักยภาพของฉันในด้านใดบ้าง อย่างเช่น ฉันชอบฟังเพลง และมีความสนใจในด้านการร้องเพลง การฟังเพลงเป็นประจำนี้ก็สามารถเพิ่มศักยภาพในด้านการร้องเพลงของฉันได้ คำถาม MoHo ยังทำให้รู้ว่าตัวเองอยากเข้าร่วมกิจกรรมนี้ไหม ได้ลองสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวว่ามีอิทธิพลอย่างไรในการแสดงความสามารถพิเศษของฉัน ทำให้ได้รู้ทักษะต่างๆของตนเองและได้ฝึกฝนทักษะใหม่ๆเพิ่มขึ้นเพื่อที่จะได้พัฒนาความสามารถของตนเองที่มีอยู่เดิมแต่อาจจะไม่รู้ให้เป็นความสามารถพิเศษที่มีประสิทธิภาพได้ รวมถึงเป็นการได้เสริมสร้างความมั่นใจในตนเองให้มีมากยิ่งขึ้นด้วย

หมายเลขบันทึก: 685002เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 17:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท