วิพากษ์นโยบายและมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น



เช้าวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๓ ฟังวิทยุจุฬา มีข่าว รมต. ศึกษาและ รมต. สาธารณสุข ร่วมกันดำเนินการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยเน้นการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา    และอ้างถึง พรบ. ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙    กระตุ้นให้ผมเขียนบันทึกนี้    เพื่อเสนอให้วงการศึกษามองเรื่องปัญหาวัยรุ่นให้ลึกกว่าที่อยู่ใน พรบ. และในข่าว

มองไปให้ถึง root cause   และป้องกันแก้ไขที่ root cause จึงจะได้ผล    ต้องไปให้ถึงรากเหง้าของปัญหาครับ    ไม่ใช้เน้นเฉพาะที่ปลายทาง  

พรบ. ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙นิยามคำว่าวัยรุ่นว่าหมายถึงคนอายุ ๑๐ ถึง ๒๐ ปี ที่กำลังเรียนอยู่ในสถานศึกษาระดับใดก็ได้   

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีรากของปัญหามาก่อนเด็กเป็นวัยรุ่น    คือ (๑) ปัญหา EF ไม่พัฒนา หรือพัฒนายาก    มีปัจจัยเกี่ยวข้องตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์    คือความเครียดเรื้อรังของแม่    และเมื่อคลอดออกมา การเลี้ยงดู และการศึกษาก็ไม่เอื้อต่อการพัฒนา EF   

รากเหง้าของปัญหาประการที่ (๒) และเป็นปัญหาหลักคือ คุณภาพของระบบการศึกษา    ที่ทอดทิ้งเด็กจำนวนหนึ่ง  ทำให้เด็กเหล่านั้นขาดความสุขในโรงเรียน    ขาดความมุ่งมั่นในชีวิต    เขาจึงหาความสุขจากทางอื่น เรื่องเพศเป็นแนวทางหนึ่งของความสุขชั่วแล่น    และนำไปสู่การตั้งครรภ์    ยังมีทางหาความสุขที่ไม่ถาวรอีกหลายอย่าง เช่น ยาเสพติด   เด็กแว้น  ติดเกม ฯลฯ

การแก้ปัญหาต่างๆ หากไม่คิดไปให้ถึงรากเหง้าของปัญหา    เราอาจอยู่ในสภาพ “ขยันแต่โง่” ทำมากได้ผลน้อย

วิจารณ์ พานิช

๓๐ กย. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 684862เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2020 18:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2020 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท