ชีวิตที่พอเพียง 3783. หมดยุค จีดีพี สู่ยุค เอ็มโอแอล


 

บทความเรื่อง Measuring What Matters : It’s time to replace gross domestic product with real metrics of well-being and sustainability  โดย Josept E. Stiglitz  บอกเราว่า น่าจะหมดยุค GDP แล้ว    เราควรสร้างระบบวัดที่ช่วยชี้ทิศการพัฒนาสังคม ประเทศ และโลก เสียใหม่    และ Stiglitz ใช้ชื่อว่า Measuring Our Lives    และชื่อเรื่องเน้นที่ well-being และ sustainability

กล่าวคือ GDP แคบไป    ไม่ได้บอกสุขภาวะของสังคม    ไม่ได้บอกความเท่าเทียมกันในสังคม    มันวัดเฉพาะด้านตลาดเท่านั้น    และแม้ด้านตลาด มันก็ไม่ได้บอกความยั่งยืน    มันชักจูงให้ธุรกิจ และประเทศใช้มาตรวัดความสำเร็จแบบสายตาสั้น    ไม่มองการณ์ไกล    เราจึงควรหาดัชนีใหม่ที่บอกชีวิตที่ดีของผู้คน และความยั่งยืนของสังคม และโลก

เขายกตัวอย่างที่ GDP thinking นำไปสู่ความอ่อนแอของระบบสุขภาพของอเมริกา ที่เน้นประสิทธิภาพการใช้เตียงโรงพยาบาล    ให้อัตราครองเตียงใกล้ ๑๐๐ ที่สุด    ผลคือปัจจุบันมีสัดส่วนเตียงต่อประชากร ๑,๐๐๐ คนเท่ากับ ๒.๘  : ๑,๐๐๐ (ต่ำกว่าประเทศรายได้สูงอื่นๆ มาก) พอโควิดมา ก็ไม่มีเตียงในโรงพยาบาลรองรับผู้ป่วยอย่างเพียงพอ    รวมทั้งระบบของเขา โรงงานบรรจุภัณฑ์เนื้อสัตว์ไม่จ่ายค่าจ้างหากคนงานลาป่วย    เมื่อโควิดมา คนงานป่วยก็ต้องทนไปทำงาน และเอาเชื้อโควิดไปแพร่     เพราะต้องการเพิ่มจีดีพี โรงงานในจีนผลิตหน้ากากอนามัยได้ราคาต่ำกว่า    อเมริกาจึงมุ่งซื้อจากจีน    พอโควิดมา จีนเองต้องการใช้หน้ากากสูงขึ้นมาก    จึงไม่ขาย อเมริกาจึงขาดหน้ากากอนามัย    นี่คือตัวอย่างที่ GDP mindset ทำให้ระบบสุขภาพของอเมริกาอ่อนแอ  และตั้งรับโควิด ๑๙ ไม่อยู่     

บทความนี้ค่อนข้างยาว    และตอนท้ายแนะนำหนังสือ ๓ เล่มที่น่าอ่านมาก    สรุปสาระของดัชนีที่ดีกว่า จีดีพี เป็นกลุ่มดัชนี    ที่ OECD แนะนำ ๑๑ ตัว (๑)(๒) ตรงกับในบทความ คือ housing, income, jobs, community, education, environment, civic engagement, health, life satisfaction, safety, work life balance.      Stiglitz แนะนำว่า แต่ละประเทศต้องคิดสร้าง Dashboard ของตนเอง เอาไว้ติดตามประเมินความก้าวหน้าของประเทศ คู่ไปกับ จีดีพี  

ประเด็นที่ผมอยากเน้นสำหรับสังคมไทยคือ เรื่อง ความเชื่อมั่น (trust) ระหว่างกัน     บทความบอกว่า ประเทศที่พลเมืองมีความเชื่อมั่นในรัฐบาล และเชื่อมั่นต่อกันและกัน    เป็นประเทศที่แข็งแรงกว่า   

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ส.ค. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 682316เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2020 18:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2020 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท