แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการสร้างสุขด้วยสติในโรงเรียน
เมื่อวันหนึ่งมีเพื่อนร่วมเส้นทางการศึกษา ขอนำคณะครูแกนนำมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมงานสร้างสุขด้วยสติในโรงเรียน บรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันด้วยสุนทรียสนทนาก้อเกิดขึ้น
การทำงานสร้างสุขด้วยสติ เป็นการทำงานที่ท้าทายสำหรับทุกคน เพราะเป็นเรื่องของการเริ่มจากการระเบิดจากข้างในคน ซึ่งผลมันเกิดกับตัวเองและคนรอบข้าง ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนาอยากให้เกิดในสถานที่เราอยู่อาศัยและอยู่ร่วมกับผู้อื่น
แต่บางครั้งการปฏิบัติงานที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการนำนวัตกรรมเข้าไปใช้ในองค์กร แบบครั้งเรามักจะได้ยินคำถามตามมาว่า
เริ่มต้นอย่างไร?
ทำไงให้ทุกคนยอมรับการเปลี่ยนแปลง?
นานไหมกว่าจะเห็นผล?
อุปสรรคมีไหม? แก้อย่างไร?
????!!!!
เราต้องไม่ลืมว่าการที่เราจะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง สิ่งนั้นคือความตั้งใจ
เมื่อเราตั้งใจมากๆ สิ่งนั้น คือ ศรัทธา
...การที่คุณครูก้าวขึ้นบันไดขั้นแรกที่จะไปสอนนักเรียนชั้นสอง คุณครูย่อมไม่สามารถหยั่งรู้ว่าหลังจากคุณครูก้าวจากบันไดขั้นสุดท้ายแล้วเดินเข้าห้องเรียน คุณครูจะเจอสิ่งใด...
...นักเรียนพร้อมไหมที่จะเรียนรู้กับครู
...คุณครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้แล้วประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของการออกแบบการเรียนรู้ที่วางไว้ไหม
....
แต่...สิ่งที่นำพาคุณครูเดินจากบันไดขั้นแรกไปจนถึงการห้องเรียน.. จนออกจากห้องเรียนลง.. มานั่งพักที่ห้องพักครู
สิ่งนั้น คือ...ศรัทธา..ที่คุณครูคิดว่าจะสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ศรัทธาในจิตวิญญาญของความเป็นครู เป็นผู้เติมเต็ม ความรู้ ประสบการณ์ ทักษะต่างๆ แก่นักเรียน
บันไดขั้นแรกจึงสำคัญเสมอ เมื่อคุณครูมีความตั้งใจลงมือทำ ความสำเร็จย่อมเกิด เพราะมีแรงศรัทธาเป็นเครื่องเหนี่ยวนำ
. จงอย่ากลัวที่จะล้มเหลว ทุกอย่างคือการเรียนรู้ ทำ 10 อย่าง สำเร็จ 3 อย่าง ดีกว่าคิดแล้วไม่ได้ลงมือทำ ที่สำคัญอย่ารอให้"พร้อม" แล้วค่อยลงมือทำ เพราะคุณไม่มีทางพร้อมอย่างสมบูรณ์แบบ
. จงลงมือทำ แล้วเรียนรู้ระหว่างทาง ความสำเร็จปลายทางสำคัญ แต่น้อยกว่าระหว่างทาง
อย่ากลัวที่จะทำอะไรที่แปลกแตกต่างไปจากเดิม...
. ทำก็ถูกด่า ไม่ทำก็ถูกด่า เลือกทำดีกว่า อย่างน้อยได้ลงมือทำ
ไม่มีความเห็น