การพัฒนาแบบฝึกเตรียมความพร้อมทางภาษาโดยใช้คำคล้องจอง สำหรับเด็กชั้นเตรียมอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบัวโคก


ชื่อเรื่อง : การพัฒนาแบบฝึกเตรียมความพร้อมทางภาษาโดยใช้คำคล้องจอง สำหรับเด็กชั้นเตรียมอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบัวโคก ชื่อผู้วิจัย : วรรณา ดวงสถาพร, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบัวโคก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2562.

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาแบบฝึกเตรียมความพร้อมทางภาษาโดยใช้คำคล้องจอง สำหรับเด็กชั้นเตรียมอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบัวโคก มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกเตรียมความพร้อมทางภาษาโดยใช้คำคล้องจอง สำหรับเด็กชั้นเตรียมอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบัวโคก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการฟังและการพูดก่อนและหลังเรียนจากแบบฝึกเตรียมความพร้อมทางภาษาโดยใช้คำคล้องจอง 3) ศึกษาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กชั้นเตรียมอนุบาลจากการเรียนโดยใช้แบบฝึกเตรียมความพร้อมทางภาษาโดยใช้คำคล้องจองกับเกณฑ์เป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการเรียนจากแบบฝึกเตรียมความพร้อมทางภาษาทางภาษาโดยใช้คำคล้องจอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือเด็กนักเรียนชั้นเตรียมอนุบาลอายุ 3-4 ห้องเรียนที่ 1 จำนวน 21 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบัวโคก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบฝึกเตรียมความพร้อมทางภาษาโดยใช้คำคล้องจองสำหรับเด็กชั้นเตรียมอนุบาลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบัวโคก 2) แผนการจัดประสบการณ์ส่งเสริมความพร้อมทางภาษาชั้นเตรียมอนุบาล 2 3) แบบประเมินความสามารถด้านการฟังและการพูดสำหรับเด็กชั้นเตรียมอนุบาล และ 4) แบบสอบถามความ พึงพอใจเด็กชั้นเตรียมอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t (t – test) และการหาประสิทธิภาพโดยการใช้สูตร / ผลการวิจัย พบว่า 1. แบบฝึกเตรียมความพร้อมทางภาษาโดยใช้คำคล้องจอง สำหรับเด็กชั้นเตรียมอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบัวโคก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.40/84.57 สูงกว่าเกณฑ์ 80/802. เด็กชั้นเตรียมอนุบาลมีทักษะความสามารถด้านการฟังและการพูดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. เด็กชั้นเตรียมอนุบาล มีคะแนนทักษะความสามารถด้านการฟังและการพูดผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดคือมีคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 จำนวน 21 คน จากนักเรียนทั้งหมด 21 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้4. เด็กชั้นเตรียมอนุบาลมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเตรียมความพร้อมทางภาษาโดยใช้คำคล้องจอง สำหรับเด็กชั้นเตรียมอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบัวโคก อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

หมายเลขบันทึก: 679856เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2020 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2020 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท