รูปแบบการเรียนการสอน แบบบูรณาการ (Integration Instruction)


การสอนแบบบูรณาการ (Integration Instruction)

แนวคิด

     เป็นการสอนที่นำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเข้ามาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดความรู้ที่หลากหลายและสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน จุดเน้นของการบูรณาการคือการองค์รวมของวิชามากกว่ารายละเอียดของวิชา การบูรณาการจำแนกเป็นบูรณาการตามจำนวนผู้สอน ได้แก่  บูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว แบบคู่ขนาน แบบเป็นทีม บูรณาการตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และบูรณา การแบบสหวิทยาการและแบบพหุวิทยาการ ขั้นตอนของการบูรณาการมี ดังนี้

1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาในภาพรวม และวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ แล้วจึงกำหนดสาระ
การเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2. จัดทำคำอธิบายรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้
3. สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กันในแต่ละศาสตร์สาขาวิชาและทำแผนการเรียนรู้

ข้อดี

         การเรียนการสอนด้วยหลักสูตรบูรณาการมีประโยชน์มากกว่าที่หลายคนคิด จากการศึกษาและทดลองใช้ทำให้เราทราบว่ามันมีข้อดีดังนี้ ได้แก่

1.มุ่งเน้นพัฒนาทักษะความรู้ความเข้าใจในระดับพื้นฐาน เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาต่อในระดับที่สูงขึ้น

2.ช่วยให้สามารถทำความเข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในประสบการณ์ชีวิตจริง

4.รองรับสไตล์การเรียนรู้ด้วยทฤษฎี สนับสนุนให้มุมมองความคิดที่หลากหลาย

5.สร้างความการโยงระหว่างสาขาวิชาต่าง ๆ

ข้อจำกัด

         การเรียนรู้แบบบูรณาการมีข้อดีข้อเสียต่างกัน เหมือนกับรูปแบบการสอนอื่นๆ โดยมีผู้คนตั้งข้อโต้แย้งมากมายเกี่ยวกับวิธีการสอนประเภทนี้ว่าไม่มีประสิทธิภาพจริงอย่างที่กล่าวอ้าง ลองสังเกตกับข้อดี-ข้อเสีย ของการสอนแบบบูรณาการได้จากด้านล่างนี้

1.ไม่มีเวลาเพียงพอในการสอนทุกอย่างแบบแยกกัน ทำให้ไม่เรียนรู้เนื้อหาได้ลึกมากพอ

2.เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงบวก กระตุ้นให้เกิดทำงานร่วมกันระหว่างผู้เรียน

3.หลักสูตรบูรณาการเหมาะสำหรับใช้โลกแห่งความจริง เพราะปัญหาในชีวิตจริงมักต้องใช้องค์ความรู้หลายๆ อย่างมาประกอบเพื่อแก้ไขปัญหา

4.เป็นแรงกระตุ้นให้นักเรียนประสบความสำเร็จในชีวิตจริง

5.ช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง


อ้างอิง จาก https://sites.google.com/site/... เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 พ.ค.63 




คำสำคัญ (Tags): #แบบบูรณาการ
หมายเลขบันทึก: 677643เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2020 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2020 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท