รูปแบบการเรียนการสอน แบบโครงงาน(Project Method)



รูปแบบการเรียนการสอน แบบโครงงาน(Project Method)

     แนวคิด

            เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หรือปฏิบัติงานตามหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ ซึ่งผู้เรียนจะต้องฝึกกระบวนการทำงานอย่างมีขั้นตอน มีการวางแผนในการทำงานหรือการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ จนการดำเนินงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้อย่างหลากหลาย อันเป็นประสบการณ์ตรงที่มีคุณค่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ วิธีการสอนแบบโครงงานสามารถควบคู่กับการสอนแบบบูรณาการได้ ทั้งในแบบบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และบูรณาการระหว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาบูรณาการเพื่อทำโครงงาน

กระบวนการสอน

         1. ขั้นกำหนดปัญหา หรือสำรวจสนใจผู้สอนเสนอสถานการณ์หรือตัวอย่างที่เป็นปัญหาและกระตุ้นให้ผู้เรียนหาวิธีการแก้ปัญหาหรือยั่วยุให้ผู้เรียนมีความต้องการใคร่เรียนใคร่รู้ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

          2. ขั้นกำหนดจุงมุ่งหมายในการเรียน ผู้สอนแนะนำให้ผู้เรียนกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนว่าเรียนเพื่ออะไร จะทำโครงงานนั้นเพื่อแก้ปัญหาอะไร ซึ่งทำให้ผู้เรียนกำหนดโครงงานแนวทางในการดำเนินงานได้ตรงตามจุดมุ่งหมาย

          3.ขั้นวางแผนและวิเคราะห์โครงงาน ให้ผู้เรียนวางแผนแก้ปัญหา ซึ่งโครงงานเดี่ยวกลุ่มก็ได้แล้วเสนอแผนการดำเนินงานให้ผู้สอนพิจารณษ ให้คำแนะนำช่วยเหลือและข้อเสนอแนะการวางแผนโครงงานของผู้เรียน ผู้เรียนเขียนโครงงานตามหัวข้อซึ่งมีหัวข้อสำคัญ (ชื่อโครงาน หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย เจ้าเค้าโครงการ ที่ปรึกษาโครงการ แหล่งความรู้ สถานที่ดำเนินการ ที่ปรึกษาโครงการ แหล่งความรู้ สถานที่ดำเนินการ ระยะเวลดำเนินการ งบประมาท วิธีดำเนินการ เครื่องที่ใช้ ผลที่คาดว่าจะได้รับ)

          4. ขั้นลงมือปฏิบัติหรือแก้ปัญหา ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติหรือแก้ปัญกาตามแผนการที่กำหนดไว้โดบมีผู้สอนเป็นที่ปรึกษา คอยสังเกต ติดตาม แนะนำให้ผู้เรียนรู้จักสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกผล ดำเนินการด้วยความอดทน มีการปรึกษาเป็นระยะ ๆ ครูผู้สอนจะเข้าไปเกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็น ผู้เรียนมีการใช้ความคิด และความรู้ในการวางแผนและตัดสินใจทำด้วยตัวเอง

          5. ขั้นประเมินผลระหว่างปฏิบัติงาน ผู้สอนแนะนำให้ผู้เรียนรู้จักประเมินผลก่อนดำเนินการระหว่างก่อนและหลังดำเนินการ คือรู้จักการพิจารณาว่าก่อนที่จะดำเนินการที่มี่สภาพอย่างไร มีปัญหาอะไรมั้ยระหว่างทำการดำเนินการ มีการแก้ไข หรือ วิธีการแก้ไขอย่างไร และสามารถนำความรู้ไปพัฒนาปรับปรุงงานได้อย่างดีขึ้น หรือเอาความรู้นั้นไปใช้ในชีวิตได้อย่างไร โดยผู้เรียนประเมินโครงงานของตนเองหรือเพื่อนร่วมประเมิน จากนั้นผู้สอนจึงประเมินผลโครงงานตามแบบประเมิน ซึ่งผู้ปกครองอาจจะมีส่วนร่วมในการประเมินด้วยก็ได้

          6. ขั้นสรุป รายงานผล และเสนอผลงาน เมื่อผู้เรียนทำงานตามแผนและเก็บข้อมูล ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปและเขียนรายงานเพื่อนำเสนอผลงาน ซึ่งนอกเหนือจากรายงานเอกสารแล้ว อาจจะแผนภูมิ กราฟ แบบจำลอง เป็น

จุดเด่น

          1. เป็นการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนมีบทบาท มีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ปฏิบัติจริง คิดเองทำเอง อย่างรอบคอบและอย่างเป็นระบบ

          2. ผู้เรียนรู้จักวิธีการค้นหาข้อมูล ในการสร้างองค์ความรู้และสรุปออกมาได้ด้วยตนเอง

          3. ผู้เรียนได้มีทักษะในการแก้ปัญหา มีทักษะกระบวนการในการทำงาน

          4. ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ ทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้

          5. ฝึกการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีเหตุผล มีการยอมรับในความรู้ ความสามารถซึ่งกันและกัน

          6. ฝึกลักษณะนิสัยการทำงานที่ดี การจัดบันทึก การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ความรับผิดชอบ ความซื่อตรง การวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ

          7. ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถนำความรู้ ความคิด หรือแนวทางที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือในสถานการณ์ได้

จุดด้อย

          1. ใช้ระยะเวลานานในการดำเนินงาน

          2. ครูจำเป็นต้องมีความรู้ที่เพียงพอในการดำเนินการในรูปแบบของโครงงาน

          3. อาจทำให้ผู้เรียนได้รับในหลักวิชาการไม่เพียงพอ

สิ่งสนับสนุนการเรียน

         ความพร้อมของสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนมีหลายประการ ได้ ความพร้อมทางกายภาพ เช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์เทคโนโลยี สื่อสังคม และสิ่งอำนวยความสะดวกหรือทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น อุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องสมุด หนังสือ ตำรา สิ่งพิมพ์ วารสาร  เป็นต้น

          ในส่วนของการสอนแบบโครงงานสิ่งสนับสนุนการเรียนในยุคปัจจุบันของศตวรรษที่ 21 ควรเน้นไปที่สื่อสังคม และอุปกรณ์เทคโนโลยีก ที่จะช่วยในการอำนวยความสะดวก อาทิเช่น Google , Youtube , Facebook , Power point เป็นต้น ตัวอย่างที่กล่าวมาข้างตนจะเป็นช่วยให้ผู้เรียนทำการสืบค้นและฝึกทักษะในการแสวงหาด้วยตนเองและยังง่ายต่อการสนทนาติดต่อคุยงานแลกเปลี่ยนระหว่าง ผู้เรียนกับสมาชิกในกลุ่มหรือการปรึกษาสอบถามกับผู้สอน


อ้างอิง 


จาก https://sites.google.com/site/... เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 พ.ค.63 


คำสำคัญ (Tags): #Project Method
หมายเลขบันทึก: 677637เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2020 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2020 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท