รูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)


การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)

แนวคิด
       เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ หรือความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนจะเป็นผู้สร้างสถานการณ์ในลักษณะที่ผู้เรียนจะเผชิญกับปัญหา ซึ่งในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะใช้กระบวนการที่ตรงกับธรรมชาติของวิชาหรือปัญหานั้น เช่นผู้เรียนจะศึกษาปัญหาทางชีววิทยา ก็จะใช้วิธีเดียวกันกับนักชีววิทยาศึกษา หรือผุ้เรียนจะศึกษาปัญหาประวัติศาสตร์ ก็จะใช้วิธีการเช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์ศึกษา ดังนั้น จึงเป็นวิธีจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ เหมาะสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แต่ก็สามารถใช้กับวิธีอื่น ๆ ได้ ในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะต้องนำข้อมูลทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเพื่อให้ได้ข้อค้นพบใหม่หรือเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น

กระบวนการสอน

         การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบเน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งผู้เรียนจะ
ใช้วิธีการหรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพและตรงกับธรรมชาติของวิชา หรือปัญหา ดังนั้น
จึงมีผู้นำเสนอวิธีการการจัดการเรียนรู้ไวหลากหลาย เช่น การแนะให้ผู้เรียนพบหลักการทางคณิตศาสตร์
ด้วยตนเองโดยวิธีอุปนัย การที่ผู้เรียนใช้กระบวนการแก้ปัญหาแล้วนำไปสู่การค้นพบ มีการกำหนด
ปัญหา ตั้งสมมติฐานและรวบรวมข้อมูล ทดสอบสมมติฐานและสรุปข้อค้นพบ ซึ่งอาจใช้วิธีการเก็บ
ข้อมูลจากการทดลองด้วย การที่ผู้สอนจัดโปรแกรมไว้ให้ผู้เรียนใช้การคิดแบบอุปนัยและนิรนัยในเรื่อง
ต่าง ๆ ก็สามารถได้ข้อค้นพบด้วยตนเอง ผู้สอนจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้วิธี
หรือกระบวนการที่เหมาะสม

จากดังกล่าว ขั้นตอนการเรียนรู้จึงปรับเปลี่ยนไปตามวิธีหรือกรอบกระบวนการต่าง ๆ ที่ใช้ แต่ในที่นี่จะเสนอผลการพบความรู้ ข้อสรุปใหม่ ด้วยการคิดแบบอุปนัยและนิรนัยการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
          1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

          ผู้สอนกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียนให้สนใจที่จะศึกษาบทเรียน
          2. ขั้นเรียนรู้ ประกอบด้วย
          2.1 ผู้สอนใช้วิธีจัดการเรียนรู้ แบบอุปนัยในตอนแรก เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบข้อสรุป
          2.2 ผู้สอนใช้วิธีตัดการเรียนรู้ แบบนิรนัย เพื่อให้ผู้เรียนน าข้อสรุปที่ได้ในข้อ 2 ไปใช้เพื่อเรียนรู้หรือ
ค้นพบข้อสรุปใหม่ในตอนที่สอง โดยอาศัยเทคนิคการซักถาม โต้ตอบ หรืออภิปรายเพื่อเป็นแนวทางในการค้นพบ
          2.3 ผู้เรียนสรุปข้อค้นพบหรือความคิดรวบยอดใหม่
          3. ขั้นนำไปใช้
          ผู้สอนให้ผู้เรียนนำเสนอแนวทางการนำข้อค้นพบที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหา อาจใช้วิธีการให้ทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อประเมินผลว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จริงหรือไม่
จุดเด่น

          1. ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล
          2. ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบสิ่งที่ค้นพบได้นานและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
          3. ผู้เรียนมีความมั่นใจ เพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่อย่างเข้าใจจริง
          4. ช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านความคิด
          5. ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ค้นคว้าเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง
          6. ก่อให้เกิดแรงจูงใจ ความพึงพอใจในตนเองต่อการเรียนสูง
          7. ผู้เรียนรู้วิธีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เช่น การหาข้อมูล การวิเคราะห์และสรุปข้อความรู้
          8. เหมาะสมกับผู้เรียนที่ฉลาด มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีแรงจูงใจสูง

จุดด้อย      

      1. ต้องใช้เวลาในการสอนมากพอสมควร

      2. ไม่เหมาะกับชั้นเรียนที่ผู้เรียนมีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกันมากเพราะผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้าจะเกิดความท้อแท้ใจเมื่อเห็นเพื่อนในห้องทำได้

       3. วิธีการสอนแบบค้นพบเหมาะสำหรับเนื้อหาบางตอนและเนื้อหาที่ไม่เคยเรียนมาก่อนเท่านั้น

       4. วิธีการสอนแบบค้นพบที่ต้องคิดเหตุผลและตั้งสมมุติฐานเหมาะกับผู้เรียนในวัยที่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับนามธรรมได้

        5. ผู้เรียนที่มีความสามารถไม่มากนักจะมีความยุ่งยากใจมากในการเรียนโยวิธีนี้โดยเฉพาะที่ต้องสรุปบทเรียนด้วยตนเอง

สิ่งสนับสนุนการเรียน

         ความพร้อมของสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนมีหลายประการ ได้ ความพร้อมทางกายภาพ เช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์เทคโนโลยี สื่อสังคม และสิ่งอำนวยความสะดวกหรือทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น อุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องสมุด หนังสือ ตำรา สิ่งพิมพ์ วารสาร  เป็นต้น

          ในส่วนของการสอนแบบโครงงานสิ่งสนับสนุนการเรียนในยุคปัจจุบันของศตวรรษที่ 21 ควรเน้นไปที่สื่อสังคม และอุปกรณ์เทคโนโลยีก ที่จะช่วยในการอำนวยความสะดวก อาทิเช่น Google , Youtube , Facebook , Power point เป็นต้น ตัวอย่างที่กล่าวมาข้างตนจะเป็นช่วยให้ผู้เรียนทำการสืบค้นและฝึกทักษะในการแสวงหาด้วยตนเองและยังง่ายต่อการสนทนาติดต่อคุยงานแลกเปลี่ยนระหว่าง ผู้เรียนกับสมาชิกในกลุ่มหรือการปรึกษาสอบถามกับผู้สอน

อ้างอิง จาก http://chittaponchuenta.blogsp...  
           จาก https://sites.google.com/site/... เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 พ.ค.63 





คำสำคัญ (Tags): #Discovery Method
หมายเลขบันทึก: 677638เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2020 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2020 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท