ประวัติพระครูกัลยานานุวัตร (หลวงปู่เหลา กลฺยาโณ)



<p></p><p>ประวัติพระครูกัลยาณานุวัตร (หลวงปู่เหลา กลฺยาโณ)</p>

ชาติกำเนิด

พระครูกัลยาณานุวัตร (หลวงปู่เหลา กลฺยาโณ-แดงอ่อน) เกิดเมื่อ วันจันทร์ ที่ ๘ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔  เวลา ๕.๐๐ น. ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๖ ปี มะเส็ง ณ บ้านท่าสีสะอาด เลขที่ ๑๑๐ หมู่ ๑๗ ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น (ปัจจุบัน บ้านวังหินชาต ตำบลขนวน อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น) เป็นบุตรของ นางที แดงอ่อน และ นายไห แดงอ่อน มีพี่น้องร่วมกันทั้งหมด ๑๑ ซึ่งประกอบด้วย ๑.นางสูญ  แดงอ่อน (ถึงแก่กรรม) ๒.นายหนูจันทร์  แดงอ่อน (ถึงแก่กรรม) ๓.นางเนา  สีแสงจันทร์ (ถึงแก่กรรม) ๔. พระครูกัลยาณานุวัตร ๕.นายเบา แดงอ่อน (ถึงแก่กรรม) ๖. นางแปร  สีหงษา ๗.นางสมบท  มูลละ ๘.นางยศ นักผูก ๙.นางรส บุตรดี ๑๐.นางฤทธิ์  แดงอ่อน (ถึงแก่กรรม) ๑๑.นางสมพิศ  สิทธิยศ พระครูกัลยาณานุวัตร เป็นบุตรคนที่ ๔ ในจำนวนบุตร-ธิดาทั้งหมด ๑๑ คน พระครูกัลยาณานุวัตร เรียนจบชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔ บ้านวังหินชาต ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น (ปัจจุบัน บ้านวังหินชาต ตำบลขนวน อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น ) หลังจากนั้นท่านก็ได้ย้ายไปอาศัยอยู่บ้านโนนสะอาด หมู่ ๒ ตำบลยางหล่อ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ใน พ.ศ. ๒๕๐๒ เนื่องจากเขื่อนอุบลน้ำท่วมใหญ่ หลังจากท่านย้ายมาอยู่บ้านโนนสะอาด ท่านก็ช่วยเหลือ บิดา-มาดา และพี่น้องทำการเกษตร ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ด้วยความขยันขันแข็ง พระครูกัลยาณานุวัตร เมื่อท่านยังครองเพศฆราวาสท่านเป็นคนขยันอดทน ซื่อสัตว์ สุจริต ช่วยโยมบิดา-มารดาของท่านด้วยความวิริยะ อุสาหะ ท่านเป็นที่รักของพี่ๆ น้อง ๆ และเพื่อนฝูง พระครูกัลยาณานุวัตร ท่านเป็นผู้สนใจในธรรมและชอบการทำบุญ พระครูกัลยาณานุวัตรไม่เคยผ่านการมีครอบครับมาก่อน ท่านยึดมั่นที่จะเข้าสู่ทางธรรม หลังจากท่านเกณฑ์ทหารเสร็จ ท่านจึงหันหน้าเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

การอุปสมบท

  เมื่ออายุได้ ๒๓ ปี ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗ พระครูกัลยาณานุวัตรได้บรรพชา ณ วัดสวรรค์คงคา บ้านโนนสวรรค์ ตำบลหว้าทอง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น (ปัจจุบัน บ้านโนนสวรรค์ ตำบลดินดำ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น) โดย  มีอาจารย์ผู้ให้บรรพชาเป็นสามเณรชื่อ พระครูโสภณสันติคุณ (พระบุญจันทร์ ปภากโร) วัดสันติการาม ตำบลนาชมแสง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และเข้าพิธีอุปสมบท ในวันที่  ๑๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗ เวลา ๑๔.๐๐ น. โดยมีพระครูพินิตสุทธิธรรม อดีตเจ้าคณะอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น  เป็นพระอุปัชฌาย์  มีพระบุญจันทร์ ปภากโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระสุวรรณ  ภทฺทจาโร (เจ้าอธิการสุวรรณ ภทฺทจาโร) วัดศิริสมบัติ ต.หว้าทอง อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์  หลังจากได้อุปสมบทแล้ว พระครูกัลยาณานุวัตร ได้อยู่ศึกษาธรรมะ และกรรมฐาน ณ วัดสวรรค์คงคา ตำบลหว้าทอง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นเวลา ๑ ปี ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดสวรรค์คงคา ตำบลหว้าทอง อำเภอภูเวียง  ท่านก็ได้ใช้เวลาศึกษาข้อวัตร ปฏิบัติ และสามารถท่องบทสวนมนต์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อท่านสามารถเรียนรู้ข้อวัตรปฏิบัติเสร็จแล้ว ท่านจึงเดินทางมาจำพรรษาที่วัดป่าสวรรค์คงคา ตำบลหนองกุงแก้ว อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ในวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๐๘

  ลำดับการปกครองคณะสงฆ์

ขณะเดียวกันในปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ คุณแม่ที แดงอ่อน และคุณพ่อไห แดงอ่อน  ได้บริจาคที่ดินสร้างวัด ณ บ้านหนองคังคา ตำบลหนองกุงแก้ว อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันวัดป่าสวรรค์คงคา ตำบลหนองกุงแก้ว อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู) เมื่อโยมบิดา-มารดา ของท่านและชาวบ้านหนองคังคาและหมู่บ้านใกล้เคียงได้ช่วยกันสร้างกุฏิสำหรับจำพรรษาเสร็จเรียบร้อย ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ พระครูกัลยาณานุวัตรจึงได้เดินทางมาจำพรรษา ณ วัดป่าสวรรค์คงคา ตำบลหนองกุงแก้ว อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดอุดรธานี ในปีต่อมา ๒๕๐๙ ท่านได้นำพาชาวบ้านสร้างศาลาการเปรียญด้วยไม้แล้วเสร็จ เนื่องจากขณะนั้นวัดป่าสวรรค์คงคาซึ่งสร้างขึ้นใหม่ยังไม่ได้รับวิสุงคามสีมา จึงไม่สามารถแต่งตั้งเจ้าอาวาสคณะปกครองได้ พระครูกัลญาณานุวัตร  จึงได้จำพรรษาและศึกษาธรรมะอยู่วัดป่าสวรรค์คงคาเลื่อยมา จนกระทั้ง  วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๐  พระครูกัลป์ยาณานุวัตร อายุ  ๒๘ พรรษา ๔ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดแสงจันทราราม ตำบลผาขาว  อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย (ปัจจุบัน วันแสงจันทราราม ตำบลท่าช้างคล้อง อำเภอผาขาว จังหวัดเลย) ถึงแม้ว่า พระครูกัลยาณานุวัตร จะได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดแสงจันทราราม แต่ท่านก็ยังจำพรรษาอยู่วัดป่าสวรรค์คงคาเหมือนเดิมและดูแลทั้งสองวัดโดยไม่ขาดตกบกพร่อง

ในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ ๒๕๑๒ เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต แต่งตั้งให้พระครูกัลยาณานุวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดแสงจันทราราม เป็น เจ้าคณะตำบลผาขาว เขต ๑ อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ซึ่งท่านก็ได้ปกครองคณะสงฆ์และส่งเสริมให้คณะสงฆ์ในเขตปกครองของท่านให้ได้รับการศึกษาแผนกธรรม รวมถึงท่านก็ได้ทำการสอนหนังสือให้พระภิกษุ-สามเณรด้วยตัวของท่านเอง

และเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ตำบลผาขาวได้แยกตัวออกจากอำเภอภูกระดึงและตั้งเป็นกิ่งอำเภอผาขาว มีเขตการปกครอง ๔ ตำบล คือตำบลผาขาว ตำบทท่าช้างคล้อง ตำบลโนนป่าซาง ตำบลโนนปอแดงในปี พ.ศ ๒๕๓๐ พระครูกัลยาณานุวัตร จึงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะตำบลชั้นโท ปกครองคณะสงฆ์ตำบลท่าช้างคล้อง กิ่งอำเภอผาขาว จังหวัดเลย และท่านก็ได้พัฒนาคณะสงฆ์และชาวตำบลให้มีความเจริญขึ้นตามลำดับ ซึ่งพระครูกัลยาณานุวัตร ได้ทำการสนับสนุนการศึกษาให้กับคณะสงฆ์เลื่อยมา

และเนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗ มหาเถรสมาคมได้ประชุมพิจารณาคัดเลือกพระครูสัญญาบัตรที่ดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการผู้บริหารคณะสงฆ์ สมควรได้รับการเลื่อนชั้นพระสังฆาธิการเนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗ มีมติให้เลื่อน พระครูกัลยาณานุวัตร วัดแสงจันทราราม ตำบลท่าช้างคล้อง อำเภอผาขาว จังหวัดเลย ตำแหน่งเจ้าคณะตำบลชั้นโท เป็น ชั้นเอก ในราชทินนาม “พระครูกัลยาณานุวัตร”และท่านก็ได้ปกครองสงฆ์ตำบลท่าช้างคล้องและสนองงานคณะสงฆ์จังหวัดเลยเลื่อยมา พระครูกัลฺยาณานุวัตร ท่านเป็นผู้สนใจในการศึกษา ท่านจึงเป็นตัวอย่างให้แก่คณะสงฆ์ในการปกครองของท่าน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ท่านจึงไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านช้าง จังหวัดเลย จนกระทั้งท่านสำเสร็จการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐

หลังจากท่านสำเสร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้วท่านก็ได้นำความรู้มาพัฒนาคณะสงฆ์ในเขตปกครองของท่านเลื่อยมา จะกระทั้ง พ.ศ. ๒๕๔๗ เนื่องจากปัญหาสุขภาพของท่าน ท่านจึงได้ลาออกจากเจ้าอาวาสวัดแสงจันทราราม ตำบลท่าช้างคล้อง อำเภอผาขาว จังหวัดเลย รวมทั้งท่านได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะตำบลท่าช้างคล้องในเวลาเดียวกัน

พ.ศ ๒๕๕๐ พระครูกัลยาณานุวัตร ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสวรรค์คงคา ในวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ ๒๕๕๐ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สมณศักดิ์

พระครูกัลยาณานุวัตร เจ้าอาวาสวัดแสงจันทราราม ตำบลผาขาว อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ได้รับแต่งตั้งเป็นพระ เจ้าอธิการเหลา กลฺยาโณ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕

ในวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ พระครูกัลยาณานุวัตร เจ้าอาวาสวัดแสงจันทราราม ตำบลผาขาว อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นตรี ในราชทินนาม “พระครูกัลยาณานุวัฒน์”

เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต แต่งตั้งให้พระครูกัลยาณานุวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดแสงจันทราราม เป็น เจ้าคณะตำบลผาขาวเขต ๑ อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ในวันที่ ๑ มกราคม ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐ มหาเถรสมาคมได้ประชุมพิจารณาคัดเลือกพระครูสัญญาบัตรที่ดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการผู้บริหารคณะสงฆ์ สมควรได้รับการเลื่อนชั้นพระสังฆาธิการเนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐ มีมติให้เลื่อน พระครูกัลป์ยาณานุวัฒน์ วัดแสงจันทราราม ตำบลท่าช้างคล้อง อำเภอผาขาว จังหวัดเลย ตำแหน่งเจ้าคณะตำบลชั้นตรี เป็น ชั้นโท ในราชทินนาม “พระครูกัลยานุวัตร” ในตำแหน่งเจ้าคณะตำบลท่าช้างคล้อง

ต่อมาเนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗ มหาเถรสมาคมได้ประชุมพิจารณาคัดเลือกพระครูสัญญาบัตรที่ดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการผู้บริหารคณะสงฆ์ สมควรได้รับการเลื่อนชั้นพระสังฆาธิการเนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗ มีมติให้เลื่อน พระครูกัลยานุวัตร วัดแสงจันทราราม ตำบลท่าช้างคล้อง อำเภอผาขาว จังหวัดเลย ตำแหน่งเจ้าคณะตำบลชั้นโท เป็น ชั้นเอก ในราชทินนาม “พระครูกัลยาณานุวัตร”ในตำแหน่งเจ้าคณะตำบลท่าช้างคล้อง

ด้านการศึกษา

พระครูกัลยาณานุวัตร ขณะอายุ ๒๕ พรรษา ๓ สอบไล่ได้นักธรรมตรี วัดป่าสวรรค์คงคา สำนักเรียนวัดสว่างอารมณ์ จังหวัดเลย พ.ศ. ๒๕๐๙

พระครูกัลยาณานุวัตร ขณะอายุ ๒๗ พรรษา ๖ สอบไล่ได้นักธรรมโท วัดป่าสวรรค์คงคา สำนักเรียนวัดสว่างอารมณ์ จังหวัดเลย พ.ศ. ๒๕๑๒

พระครูกัลยาณานุวัตร ขณะอายุ อายุ ๓๐ พรรษา ๘ เจ้าอาวาสวัดแสงจันทราราม ตำบลผาขาว อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ได้รับการแต่งตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจำสำนักศาสนศึกษาวัดสว่างอารมณ์ ตำบลผาขาว อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔

พระครูกัลยาณานุวัตร เจ้าอาวาสวัดแสงจันทราราม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ได้เข้าร่วมการอบรมในโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค ซึ่งคณะสงฆ์ธรรมยุตภาค ๘-๙-๑๐-๑๑ จัดขึ้นในวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕

พระครูกัลยาณานุวัตร ขณะอายุ ๓๑ พรรษา ๙ เจ้าอาวาสวัดแสงจันทราราม ตำบลผาขาว อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย สอบไล่ได้นักธรรมเอก วัดป่าสวรรค์คงคา สำนักเรียนวัดสว่างอารมณ์ จังหวัดเลย วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕

ตั้งแต่ ปีพ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๓๐ สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประทานพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้ทรงแต่งตั้งกรรมการสนามหลวงแผนกธรรม และได้ทรงแต่งตั้งพระครูกัลยาณานุวัตรดำรงตำแหน่งกรรมการสนามหลวงแผนกธรรม ซึ่งพระครูกัลยาณานุวัตร ได้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการสนามหลวงแผนกธรรม เลื่อยมาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๓๐

พ.ศ. ๒๕๒๒ วัดป่าสวรรค์งคาคา ตำบลหนองกุงแก้ว อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดอุดรธานี ได้รับวิสุงคามสีมา ซึ่งถือว่าเป็นวัดโดยสมบูรณ์ และในปีนี้เอง พระครูกัลยาณานุวัตร อายุ ๓๘ พรรษา ๑๕ วัดป่าวรรค์คงคา  ตำบลหนองกุงแก้ว อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดอุดรธานี ได้รับการแต่งตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจำสำนักศาสนศึกษาวัดป่าสวรรค์คงคา ตำบลหนองกุงแก้ว อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดอุดรธานี ในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒

ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ พระครูกัลยาณานุวัตร  จึงได้จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ขึ้นที่วัดป่าสวรรค์คงคา และท่านก็เป็นครูสอนปริยัติธรรมด้วยตัวท่านเอง ซึ่งมีพระภิกษุ-สามเณรจำนวนมาก จากตำบลใกล้เคียง และจากตำบลท่าช้างคล้อง อำเภอผาขาว จังหวัดเลย ซึ่งท่านเป็นเจ้าคณะปกครองอยู่  จนกระทั้งพ.ศ. ๒๕๓๐ ท่านจึงได้ปิดตัวโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดป่าสวรรค์คงคาลง

พระครูกัลยาณานุวัตร ท่านสำเร็จการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับ ๔ (ประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น) โรงเรียนผู้ใหญ่ วัดศรีสุทธาวาส ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ณ เวลานั้นเองพระครูกัลยาณานุวัตร  ได้มีโอกาสเรียนภาษาอังกฤษกับพระทอม ซึ่งเป็นพระฝรั่งที่มาบวชจำวัดที่วัดศรีสุทธาวาส จึงทำให้ท่านสามารถพูดและเขียนภาษาอังกฤษได้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

พ.ศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๓๒ ท่านเข้าเรียนการศึกษาสามัญสำเร็จชั้นสูงสุด ม.ศ ๓ พ.ก.ศ. ณ วัดศรีสุทธาวาส ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย

พระครูกัลยาณานุวัตร สอบได้ประกาศนียบัตรพิเศษวิชาการศึกษา วันที่ ๒๔ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๒

พระครูกัลาณานุวัตร มีความสามารถท่องปาฏิโมกข์ได้

 พระครูกัลยาณานุวัตร สอบได้ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษมัธยม  เมื่อวันที่ ๒๒ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖

จนกระทั้งปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ พระครูกัลยาณานุวัตร ได้ไปจำวัดที่ วัดศรีสว่าง ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง  จังหวัดเลย เพื่อที่ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์  วิชาเอกภาษาอังกฤษ รุ่นที่ ๑/๒๕๔๐  มหาวิทยาลัยมหามกุฏิราชวิยาลัย วิทยาเขตล้านช้าง และในปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ ท่านก็สำเร็จการศึกษา  ในขณะที่พระครูกัลยาณานุวัตรกำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาล ท่านได้มีกิจกรรมระหว่างเป็นนักศึกษามากมาย เช่น เข้าอบรมหลักสูตรพระสังฆาธิการ เป็นกรรมการสอบธรรมสนามหลวง เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง และท่านได้มีโอกาสไปสอนหนังสือในโรงเรียน ซึ่งท่านได้รับหน้าที่สอนในวิชาภาษาอังกฤษควบคู่กับวิชาธรรมศึกษาให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านฟากเลย ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย หลังจากที่ท่านได้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ในพุทธศักราช ๒๕๔๐ ท่านก็ได้กลับมาจำวัดที่วัดป่าสวรรค์คงคาเหมือนเดิมเพื่อกลับมาพัฒนาวัดป่าสวรรค์คงคา และ คณะสงฆ์ตำบลท่าช้างคล้อง อำเภอภาขาว จังหวัดเลย ให้พระภิกษุสงฆ์ได้รับการศึกษาเลื่อยมา ซึ่งพระครูกัลยาณานุวัตร เป็นผู้อุทิศตนให้แก่การศึกษาและศาสนา ทั้งทางโลกและทางธรรม ตลอดชีวิตของท่าน

ด้านการพัฒนา

พระครูกัลยาณานุวัตร ได้ทำการพัฒนาวัดป่าสวรรค์คงคา มาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๐๘ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

 พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้สร้างศาลาการเปรียญด้วยไม้ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๕ เมตร ก่อสร้างด้วยไม้ กุฏิ ๖ หลัง ก่อสร้างด้วยไม้ ๖ หลัง

พ.ศ. ๒๕๑๐ ท่านได้สร้างอาคารเรียนปริยัติธรรม แผนกธรรม ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๖ เมตร ด้วยไม้

พ.ศ.๒๕๒๒ ท่านได้สร้างสิมขึ้นหนึ่งหลังเพื่อทำสังฆกรรมและมีพระพุทธรูปปูนปั่นประดิษฐานอยู่

พ.ศ. ๒๕๓๙ ท่านได้ทำการรื้อถอนศาลาไม้ลง และสร้างศาลาปูนแทนด้วยขนาดเท่ากัน และกุฏิไม้ ๓ หลัง กุฏิปูน ๔ หลัง ห้องสุขา ๑๒ ห้อง

พ.ศ. ๒๕๔๕ ท่านได้ทำการสร้างอุโบสถเสร็จสิ้น ในวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งได้ทำการจัดงานฉลองอุโบสถขึ้นในวันที่ ๗-๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕  และหลังจากนั้นท่านก็ได้พัฒนาวัดป่าสวรรค์คงคาเลื่อยมา

ปูชนียวัตถุ และปูชนียสถานที่สำคัญ

ถาวรวัตถุภายในวัดคือ ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง  กุฏิ ๖ หลัง ปูชนูยสถาน มีเครื่องปั้นดินเผา แตกกระจายตามลานวัด ทั้งในพื้นขุดยังพบทั่วไป ไม่ทราบประวัติความเป็นมา และมีพระพุทธรูปปูนปั้น ๑ องค์ สร้างขึ้นในพ.ศ.๒๕๒๒ และประดิษฐานอยู่ในสิมองค์เก่า

ด้านวัตรปฏิบัติ

พระครูกัลยาณานุวัตรเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีจริยวัตรที่งดงามรูปหนึ่ง ตลอดเวลา ๕๖ พรรษา ท่านยึดมั่นในพระธรรมวินัย  อย่างเคร่งคัด ตั้งแต่ท่านบวชมา ท่านสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม ทั้งตอนเช้าและตอนเย็น รวมทั้งบิณฑบาตไม่เคยขาด และพระครูกัลยาณานุวัตร ท่านปฏิบัติพระกรรมฐานไม่เคยขาด ทุก ๆ วันพระเมื่อมีโอกาส ท่านก็จะไปฝึกจิต ภาวนาในป่าช้าข้างวัดเป็นประจำ แม้ขณะท่านอาพาธท่านก็ยังเคร่งคัด ในพระธรรมวินัย เมื่อพระครูกัลยาณานุวัตร อาพาธท่านออกจากโรงพยาบาล เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ ๒๕๖๒ ท่านก็เป็นผู้ป่วยนอนติดเตียงตลอดเวลา ถึงแม้ท่านจะเป็นผู้ป่วยนอนติดเตียงแต่ท่านก็ยังนั่งทำวัตรทุกวันไม่เคยขาด ครั้งสุดท้ายของท่านที่ท่านสวดมนต์ทำวัตร วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ตลอดเวลาที่ท่านอาพาธติดเตียงท่านต้องฉันยาตลอด แต่ท่านก็ยังเคร่งคัดในพระธรรมวินัยไม่ขาด ท่านไม่ฉันอะไรเลยหลังจากเวลา ๑๒.๐๐ น.จนกระทั่งวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๓ จนร่างกายของท่านอาการหนัก ท่านจึงไม่สามารถทำวัตรได้ และท่านก็รักษาในโรงพยาบาลเรื่อยมา

ด้านการเจ็บป่วยและขันติความอดทนของท่าน

พระครูกัลยาณานุวัตรเริ่มมีการเจ็บป่วยมาตั้งแต่ช้านานด้วยโรคริดสีดวงทวาร และเบาหวาน แต่ท่านก็ไม่ได้ไปพบแพทย์เลย และเมื่อพ.ศ. ๒๕๕๐ ท่านเริ่มมีอาการอาพาธด้วยอาการขาอ่อนแรงแต่ท่านก็ยังสามารถเดินได้อย่างช้า ๆ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาท่านก็ได้รักษาการอาพาธด้วยยาสามัญประจำบ้านและยาสมุนไพร โดยท่านไม่เคยไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเลย ตลอดระยะเวลาตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๕๐-พ.ศ.๒๕๖๒ ท่านได้ใช้เวลาในการรักษาอาการอาพาธของท่านเป็นเวลา ๑๒ ปี จนกระทั้งวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ท่านมีอาการอาพาธมากด้วยแผลที่ขาขวาจนทำให้ท่านไม่สามารถเดินได้  และเลือดออกเนื่องจากริดสีดวงทวารจำนวนมาก แต่ท่านก็ปกปิดความเจ็บปวดของท่านไว้ไม่ให้ใครเห็นถึงแม้ว่าท่านจะอาพาธหนัก เพราะว่าท่านไม่ต้องการให้ผู้หญิงสัมผัสตัวท่าน แต่ทางชาวบ้านเห็นว่าท่านอาการหนักมากแล้วจึงนำท่านส่งโรงพยาบาลศรีบุญเรืองและได้ส่งท่านไปรักษาตัวที่โรงบาลศูนย์อุดรธานี ขณะที่ท่านอยู่โรงพยาบาลหลังจากได้เข้ารับการผ่าตัดแผลที่ขาและผ่าตัดริดสีดวงทวาร ขณะที่ท่านรักษาตัวท่านก็ยังนั่งสมาธิและสวดมนต์ภาวนามิได้ขาด หลังจากอาการดีขึ้นท่านก็ได้กลับมารักษาตัวที่วัดในวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาท่านก็ได้รักษาอาการอาพาธของท่านอยู่ที่วัดโดยเป็นผู้ป่วยติดเตียง โดยมีพระอาจารย์บรรจงเป็นผู้อุปฐากท่านตลอดเวลามิได้ขาด ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน และท่านก็ไม่มีอาการอาพาธรุนแรง โดยอาการของท่านดีขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๓ อาการท่านก็เริ่มทรุดหนัก ด้วยอาการท้องร่วงอย่างหนัก และท่านก็เริ่มอาการทรุดหนักลงไปเลื่อยๆ จนกระทั่งวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ญาติโยมจึงได้นำท่านส่งโรงพยาบาลศรีบุญเรืองในเวลา ๑๕.๐๐ น. และเวลา ๒๒.๐๐ น. โรงพยาบาลศรีบุญเรืองจึงได้ส่งท่านไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลหนองบัวลำภูในห้อง ICU หลังจากนั้นท่านก็อยู่ในห้อง ICU เลื่อยมา และในวันที่ ๑๖ เดือน พฤษภาคม ๒๕๖๓ ทางญาติพี่น้องได้ตัดสินใจ นำท่านกลับมาที่วัดป่าสวรรค์คงคา และท่านก็ถึงมรณภาพ  เมื่อเวลา ๑๒.๐๘ น. รวมเวลาในการเป็นผู้ป่วยติดเตียง ๑ ปี สิริอายุได้ ๗๙ ปี พรรษา ๕๖

  ความในในที่อยากจะบอก

ควรกล้าหาญที่จะทำสิ่งที่ดีที่ควร เพราะเมื่อใจดีใจกล้าแล้วการทำ พูด คิดย่อมดี

  คติประจำใจ

  เมื่อบุคคลทราบว่าตนเป็นที่รักพึงรักษาตนนั้นให้เป็นอันรักษาด้วยดี

  ธรรมะจากหลวงปู่

อันทานศีลภาวนา อย่าเลยละ

อุตสาหะสืบสร้างทางสวรรค์

นิสัยส่งคงนิพพานไม่นานครัน

เกษมสันต์แสนสุขสิ้นทุกภัย

On Saturday May 16th, 2020 Prakru Kanlayananuwat (Laungphoo Lao Kanlayano) has passed away at Watpasawankhongkha. He was 79 years old.

Prakru Kanlayananuwat is an Abbot at Watpasawankhongkha Bannongkhangkha, Nongkungkaew Subdistrict, Sibunrueang district, Nongbualamphu Province. Prakru Kanlayananuwat was born on May 8, 1941 at Tha-si-sa-ard village, Ban Khok Subdistrict, Phuwiang District, Khonkaen Province.  His mother's name is Mrs. Tee and his father's name is Mr.Hai.  He is the fourth child of eleven siblings! He has three brothers and eight sisters! From when he finished primary school up until he was 23 years old Prakru helped his parents work their farm. He fed the animals, grew rice, and vegetables.

  On May 19, 1964 at the Sawankhongkha Temple, Vathong Subdistrict, Phuwiang District, Khonkhaen Province; he was ordained to be a monk. His Preceptor (The monk who was on the middle who was chanting during the ordination ceremony)was Prakhu Phichit Sutthitham. The monk who was on the right side who was chanting during the ordination ceremony was Phra Bunchan Phabhakaro. The monk who was on the left side who was chanting during the ordination ceremony was Phra Suwan Phatthajaro. After  his ordination, he studied Dhamma with his teacher, Prakhu Phichit Sutthitham, at Sawankhongkha Temple for one year.

 In 1965, His parents gave the land to build a temple at Bannongkhangkha village, Nongkungkhaew Subdistrict, Sibunrueang District, Nongbualamphu Province. One year later the temple was finished building. From 1966 until now he has been an Abbot at Watpasawankhongkha Temple.  His passion and love for Watpasawankhongkha resulted in him devoting a lot of his time in making many improvements to the Temple. Multiple buildings surrounding the structure for more prayer and comfortable living corridors for the other monks to come.  From 1966-1988 years many young men were ordained under him and studied Dhamma with him. The energy of the temple was so vibrant many people would come and make donations. Praku never stopped teaching monks about Dhamma and always continued his own personal studies. Monks and novices from all over came to learn from him.

In 1994 he left Watpasawankhongkha to go to Universtiy in Loie Province. He would often return and stay at Watpasawankhongkha because no other monk stayed there during his next venture.  While he stayed at Watsrisuthawat Temple in Muang Loie city he was also a famous monk there. He had many students and people who came to study Dhamma with him.  His fourth year at University he practiced teaching English at the Foundation School of Laungphusrijanwannapho. After he graduated, he went back to stay at Watphasawankhongkha. At that time, he also was a Parish priest of Thachangklong Subdistrict, Phakhao District, Loie Province.

 In 1994, he was appointed a Parish priest, at the highest rank “Chan-Eke'' to take care of all Temples in Thachangklong Subdistrict, Phakhao District, Loie Province. While he was a Parish priest there were many people who came to ordination with him. In 2002, he built a church at Watphasawankhongkha. The community held a 3 days celebration March 7th - 9th. People made image of him which now are purchased to symbolize protection.

Due to old age, in 2007 he resigned from being a Parish priest at Thachanglong Subdistrict.

This man has dedicated his life to a well rounded routine. For example every day since he was first ordained he would go into the forest to meditate at 8 p.m-5 a.m. He would then return to the temple to do morning chanting and then go into the village to receive food. Once he returns from his village duties he would mediate again until people arrived at the temple. 11 a.m. is his lunch. 12 p.m. to 6 p.m. he does meditation in his room. When he finishes doing meditation he goes to church. This has been his routine everyday since he was ordained.

      Unfortunately in 2010 he became ill. He lost mobility in his legs and he was going blind. A stubborn but humble man he would never go to the hospital to see a doctor. He only would use herbal local medicine from trees and vegetables.  He did this herbal treatment for nine years until he lost all mobility in his legs and people made him go to the hospital to receive proper treatment. He was released from the hospital after a week and he returned to his home, the Temple. Until 22 April 2020 he went to hospital again at Nongbaulamphu hospital in the ICU Room. He had been staying there for 21 days then he passed away on Saturday May 16th, 2020 at 12.08 in the afternoon in his room at the temple.

         

ครูบาอาจารย์สายกรรมฐานที่หลวงปู่เหลาที่ท่านเคยกราบไหว้

ขณะที่หลวงปู่เหลา กลฺยาโณ ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลผาขาวเขต ๑ อ.ภูกระดึง จ.เลย และ เจ้าคณะตำบลท่าช้างคล้อง อ.ผาขาว จ.เลย ท่านก็ได้มีโอกาสไปกราบไหว้ครูบาอาจารย์เป็นประจำ 

หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ วัดศรีสุทธาวาส อ.เมือง จ.เลย 

วันที่่ ๑ เมษายน ๒๕๖๓ หลานชายของหลวงปู่ฝันว่าหลวงปู่มาบอกว่าจะมรณภาพอย่างไววันที่  ๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓ อย่างช้าภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม และก็เป็นจริงตามความฝัน ซึ่งท่านได้ละสังขารในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓ 

ภาพกิจวัตรที่ท่านได้ปฏิบัติ

กุฏิหลวงปู่

วัตถุมงคลที่หลวงปู่จัดทำขึ้น

เหรียญรุ่นแรกและรุ่นสุดท้ายของหลวงปู่จัดทำขึ้นในงานฉลองอุโบสถวัดป่าสวรรค์คงคา ต.หนองกุงแก้ว อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู ระหว่างวันที่ ๗-๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ จัดทำขึ้นทั้งหมด ๕๐,๐๐๐ เหรียญ ปัจจุบัญเหลือจำนวนไม่ถึง ๕,๐๐๐ เหรียญ

สร้อยประคำจัดทำขึ้นในงานฉลองอุโบสถวัดป่าสวรรค์คงคา ต.หนองกุงแก้ว อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู ระหว่างวันที่ ๗-๙ มีนาคม  ๒๕๔๕ ปัจจุบัน หมดแล้ว

ตะกรุดลูกปืนหลวงปู่ทำขึ้นดอกเดียว

ตะกรุด ๔ ดอกหลวงปู่ทำให้เฉพาะลูกศิษย์ที่นำแผ่นทองไปให้หลวงปู่ทำให้ มีไม่ถึง ๒๐ คนที่ได้ครอบครอง

เกศาธาตุหลวงปู่เหลา กลฺยาโณ

อัฐิธาตุหลวงปู่เหลา กลฺยาโณ

พระครูพินิจสุทธิธรรม วัดศรีภูเวียง อดีตเจ้าคณะอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น พระอุปัฒชาย์ของท่าน



งานถวายเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่เหลา กลฺยาโณ


หมายเลขบันทึก: 677586เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2020 00:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2020 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท