ทักษะคุณธรรรมในการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน: การใช้บริการถนนสาธารณะ


เช้านี้ ขับรถไปปฏิบัติงานตามปกติ ขณะหยุดรถเพื่อรอไฟเขียวเพื่อเลี้ยวไปทางขวาบนถนนแยก ๔ ช่องทางจราจร เมื่อไฟเขียวส่งสัญญาณบ่งชี้ว่า เราสามารถผ่านแยกตรงไปข้างหน้าหรือเลี้ยวขวาได้ แต่ละคนที่จอดรถจึงค่อยขยับตัว มีปัญหาหนึ่งที่เกิดคือ รถตรงข้ามต้องการเลี้ยวซ้ายและตัดออกขวาเพื่อเลี้ยวขวาเข้าซอย ในที่นี้ขอสมมติข่องทาง (ก) ช่องทางที่ผมกำลังตรงไปข้างหน้าหรือเลี้ยงขวา ช่องทาง (ข) คือช่องทางขวามือ ช่องทาง (ค) คือช่องทางตรงข้าม และช่องทาง (ง) คือช่องทางซ้ายมือ ปรากฎว่า รถช่องทาง (ค) เลี้ยวซ้ายเพื่อตัดเข้าเส้นใน ในช่องทาง (ข) ขณะที่รถช่องทาง (ก) กำลังเลี้ยวขวามเพื่อเข้าช่องทาง (ข) เช่นกัน รถช่องทาง (ก) ที่่เลี้ยวขวาผ่านไฟเขียวมา ต้องหยุดชะงักเพื่อให้รถช่องทาง (ค) ตัดเข้าเส้นในเพื่อรอช่องทาง (ข) ที่มีรถสวนทางมาได้ว่างจากรถที่สวนทาง และเลี้ยวเข้าซอย

ปัญหาที่เกิดคือ รถที่รอไฟเขียวในช่องทาง (ก) เมื่อสัญญาณไฟเขียวเปิดทางให้ขยับรถไปข้างหน้าได้ ต้องมาหยุดรถรอช่องทาง (ค) ขณะที่รถช่องทาง (ค) มีปัญหาคือ เราจะขับรถตัดถนนเข้าช่องเส้นในของช่องทาง (ข) เพื่อเลี้ยวข้ามถนนเข้าซอยโดยไม่ปะทะกับรถที่สวนทางมาได้อย่างไร

การรอคอยเป็นสิ่งจำเป็นไม่น้อย แม้ในยุคที่ต้องเร่งรีบทำอะไรหลายๆอย่างพร้อมกัน การรอคอยไม่ได้จะส่งผลเสียทั้งต่อตนเองและอาจส่งผลเสียต่อผู้อื่น ในกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงนั้น ถ้าช่องทาง (ก) รอคอยไม่ได้ รถสองคนที่มาบรรจบร่วมกันในพื้นที่เดียว มีความเป็นไปได้ที่จะปะทะกันหากรอคอยไม่ได้ โดยฝ่ายหนึ่งต้องการเลี้ยวซ้ายและข้ามไปอีกฟากหนึ่ง ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งเลี้ยวขวามาเพื่อตรงไปข้างหน้า ดังนั้น สิ่งที่ควรทำคืออะไร?

ขอละเว้นที่จะกล่าวถึงกฎจราจร เพราะไม่มีความรู้และไม่อาจค้นคว้าด้วยเวลาที่ให้อย่างจำกัดนี้ แต่จะกล่าวถึง อะไรคือสิ่งที่ควรทำ ด้วยเหตุผลอะไรเข้าใจว่า สัญลักษณ์ไฟที่มีอยู่ตามสี่/สามแยกต่างๆ เพื่อเป็นการบ่งชี้คือ สิทธิ์ในการใช้บริการถนนสาธารณะและการให้สิทธิ์แก่ผู้มีสิทธิ์ในการใช้บริการถนนสาธารณะร่วมกัน สีแดงคือหยุดรอ สีเขียวคือขยับตัวออกไปได้ และสีเหลืองคือเตรียมหยุด หากพิจารณาตามเกณฑ์ที่ว่านี้ ก็แสดงว่า รถช่องทาง (ค) ต้องสังเกตการเคลื่อนตัวของรถช่องทางตรงกันข้ามคือ ช่องทาง (ก) หากเขากำลังเคลื่อนตัวและเส้นทาง (ข) ที่เราใช้บริการอยู่ เพื่อนๆเขาหยุดรอกัน มีความเป็นไปได้ที่รถตรงข้ามในช่องทาง (ก) จะเคลื่อนตัวบนสัญญาณไฟเขียว ที่บ่งชี้ว่า คุณไปได้ คุณได้รับสิทธิ์นั้น เราซึ่งอยู่ในช่องทาง (ค) ควรจะให้สิทธิ์แก่ช่องทาง (ก) ก่อน ปัญหาคือ ช่วงใดที่เราซึ่งอยู่ในช่องทาง (ค) ควรจะได้รับสิทธิ์นั้น (๑) เมื่อรถช่องทาง (ก) หมดลง (๒) เมื่อรถช่องทาง (ค) ได้รับสิทธิ์ผ่านสัญญาณไฟเขียว (ง) รอคอยความประจวบเหมาะอย่างฉับพลันระหว่าง การไม่มีรถสวนทางในช่องทาง (ข) การเริ่มขยับของช่องทาง (ก) และ (ง) โดยที่เราซึ่งอยู่ในช่องทาง (ค) จะไม่เป็นปัญหาในการชะลอรถของผู้ไม่ได้อยู่ในช่องทาง (ค)

อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องสีสัญญาณจราจร สีที่ดูจะมีปัญหาคือ “สีเหลือง” (ไม่เกี่ยวกับเสื้อสีเหลืองหรือธงชาติสีเหลือง) สีนี้กลายเป็นสี “รีบไป” ในบางครั้ง การรีบไป ก็ส่งผลต่อการกินพื้นที่สีแดงของผู้รีบ ยังจำได้ที่อาจารย์ซึ่งสอนกฎหมายในวิชา กฎหมายทั่วไป เล่าถึงประสบการณ์ที่มีปากเสียงกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ตำรวจ: ทำไมคุณไม่หยุด

ทนาย : สีเหลืองไม่ได้บอกให้หยุด

ตำรวจ : ขอบัตรด้วยครับทนายชักบัตรทนายให้ตำรวจตรวจสอบ

ตำราวจ: ?

เกณฑ์ของสีเหลืองจะคือ ชะลอความเร็วของรถ เพื่อเตรียมและหยุดที่ไฟแดง ไม่ใช่เพิ่มความเร็วของรถ เท่าที่สังเกต การเพิ่มความเร็วของรถและการให้รถเคลื่อนไปแบบปกติในช่วงไฟเหลืองกลายเป็นค่านิยมที่ใครๆก็ทำกันไปแล้ว

โดยปกติ ไม่อยากยุ่งกับเรื่องสิทธิ์ เพราะพิจารณาดูแล้วไม่จบ และใหญ่เกินกว่าที่อยากจะคิดถึง อันที่จริง ถ้าไม่เร่งรีบ ถ้าไม่มีไฟสัญลักษณ์เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงความหมายที่กำหนด และการเห็นคุณค่าระหว่างกัน อาจมีอะไรที่น่าสนใจมากกว่าสัญลักษณ์ก็เป็นได้ รถเส้นทาง (ก) อาจยินดีเพื่อให้รถเส้นทาง (ค) ตัดผ่านไป โดยที่ตนต้องรอซ้ำ ขณะที่รถเส้นทาง (ค) ขอทางด้วยความจำเป็นจริงๆ เพราะรีบจริง ไม่ใช่เพราะ “กูจะไป” หรือ “สิทธิ์ของกู” “กูไม่สน” อะไรทำนองนั้น

๒๕๖๓๐๔๒๗๐๘.๑๗ น.

หมายเหตุ: งานชิ้นนี้ยังไม่มีการตรวจสอบคำผิด ความหมายหรือข้อความใดๆ

หมายเลขบันทึก: 677201เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2020 08:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2020 08:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท