เมื่อทีมข่าว ม. มาสัมภาษณ์ถึงวิธีทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันและให้แนะนำการทำงานพร้อมกับการพัฒนาตนเอง


เมื่อทีมข่าว ม. มาสัมภาษณ์ถึงวิธีทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันและให้แนะนำการทำงานพร้อมกับการพัฒนาตนเอง


ทีมข่าว     ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีกับตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ (รศ.) คนใหม่ด้วยคะ่ ?
ตอบ         ขอบคุณครับ 

ทีมข่าว     ความมุ่งมั่นในการทำตำแหน่งทางวิชาการนี้ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยหรือไม่ ?
ตอบ         ใช่ครับ

ทีมข่าว     มีวิธีทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันอย่างไรบ้าง ?
ตอบ         คนรุ่นใหม่ในมหาวิทยาลัยฯมีความคิดเป็นของตนเองมากขึ้นครับ มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น กล้าคิดกล้าทำสิ่งใหม่ๆเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยฯ การทำงานกับคนรุ่นใหม่ในแบบของผมนั้นอาจมีความแตกต่างอยู่บ้าง เช่น ต้องสร้างเป้าหมายแบบมีส่วนร่วมให้คนรุ่นใหม่ได้เห็น การสร้างทีม การสอนงาน การทดสอบผู้ร่วมงาน การเรียนรู้ที่จะตำหนิ การลิดเพื่อให้เกิดผล การเป็นผู้ตรวจสอบผลที่เกิดขึ้น การประชาสัมพันธ์ที่ดีและหาผู้สนับสนุนที่ดี การเรียนรู้ที่จะอ่อนน้อมถ่อมตนและการรับประทานอาหารร่วมกันกับทีมงาน การยืนกรานในความถูกต้องและกล้าเสี่ยง การยุติข้อโต้แย้งโดยเร็ว การยุติธรรมกับทุกคนและใจกว้างอย่างเหมาะสม และการยืนหยัดเพื่อคนของเรา เป็นต้นครับ 

                วันนี้เชิญชวนน้องๆคนรุ่นใหม่ทุกคนร่วมกันขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยฯให้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ชี้นำสังคมให้ได้ครับ ชี้นำทั้งในด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านวิจัย ด้านบริการวิชาการหรือพันธกิจสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาชุมชน ตลอดจนกล้าชี้นำในแบบอย่างแห่งความดี ความถูกต้อง และความซื่อสัตย์ด้วย ในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดใน จ.เพชรบูรณ์ ถ้าหากทำได้ความศรัทธาของประชาชนและ นศ. จะเกิดขึ้นอย่างมากมาย หลายคนจะเดินเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยฯอย่างภาคภูมิและเพิ่มมากขึ้นตามลำดับครับ

ทีมข่าว     ช่วยแนะนำการทำงาน พร้อมกับการพัฒนาตนเองหน่อยค่ะ ?
ตอบ         สิ่งที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับคณาจารย์มหาวิทยาลัยฯในยุคปัจจุบันคือการขอตำแหน่งทางวิชาการและการขอทุนวิจัยเพื่อทำวิจัยครับ ในการมีตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นนั้นจะบ่งบอกถึงศักยภาพ ความสามารถ และปริมาณงานที่มากขึ้นของเรา บ่งบอกถึงขีดความสามารถทางวิชาการของเราที่สูงขึ้น  ตลอดจนบ่งบอกถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยฯ ในการเตรียมตัวเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการนั้นต้องทำให้การสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ หลอมรวมเป็นเรื่องเดียวกันให้ได้ครับ งานวิจัยก็ต้องมุ่งเป้าชัดเจนและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำเราไปสู่บทความวิจัยและหนังสือวิชาการเฉพาะทางที่เราเขียนขึ้นได้ตามมาครับ 

                ส่วนข้อแนะนำในช่วงเริ่มต้นการทำงานวิจัยนั้นเราต้องมีเป้าหมายและแผนงานวิจัยระยะยาวของเราให้ชัดเจน ไม่ทำงานวิจัยแบบสะเปะสะปะซึ่งจะไม่สะท้อนว่าเรามีความชำนาญเฉพาะทางในเรื่องใด ควรหาตัวเองให้เจอและพยายามรักษาการทำงานวิจัยนั้นให้ต่อเนื่องครับ ประสบการณ์ของผมตั้งแต่การขอตำแหน่ง ผศ. ก็ใช้ผลงานวิจัยขอ ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นรากฐานสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้เรามีทิศทางการวิจัย มีปริมาณงาน และมีประสบการณ์ในการตีพิมพ์เผยแพร่ที่มากพอจนก้าวขึ้นสู่การขอตำแหน่ง รศ. ซึ่งเคล็ดลับต่างๆนี้ก็ได้ถ่ายทอดแนะนำให้กับ รอง ผอ. ทั้ง 2 ท่านได้ใช้ในการขอผลงานก็ประสบความสำเร็จได้รับ ผศ. ทั้ง 2 ท่านเช่นกัน สำหรับผู้ที่พลาดหรือยังไม่ได้ขออย่าเพิ่งท้อนะครับ ต้องเริ่มใหม่ทำเป้าหมายให้ชัดเจน ทำผลงานเพิ่มเติมขึ้นอย่างต่อเนื่องครับ สักวันหนึ่งเราจะเห็นมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์มีศาสตราจารย์เกิดขึ้นครับ

               สุดท้ายนี้ ทั้งบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน “ถ้าเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน แม้จะยากแค่ไหน ถ้าเราทำจริง มุ่งมั่นจริง ทุกสิ่งเป็นจริงได้” (ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สจล. และนายกสภาวิศวกร)

หมายเลขบันทึก: 676364เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2020 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2020 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท