งานวิจัยความยั่งยืนกองทุนสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลา (3)


เป็นการทำความเข้าปรากฏการณ์ที่ไม่ซับซ้อน ตามแบบของดร.ครูชบ ยอดแก้ว

 เข้าใจระเบียบวิธีของดร.วรเสศม์ ยอมรับตัวแปรและสมการที่ออกมาเป็นแบบจำลองได้ง่ายมาก (ไม่เหมือนงานวิจัยกองทุนชุมชนกับทุนทางสังคมที่มสช.จัดก่อนหน้านี้ที่มีมีข้อถกเถียงเรื่องตัวแปรกันมาก)
ผมเข้าใจกรอบการศึกษาซึ่งเป็นข้อจำกัดในพลังอธิบายของงานวิจัยชิ้นนี้
เสียดายที่ในเวทีในช่วงอภิปรายส่วนใหญ่เข้าใจอีกอย่าง จึงพูดในประเด็นที่(เข้าใจว่า)ทำให้นักวิจัยอึดอัดเป็นอย่างมาก คือ แสดงความเห็นในขอบข่ายที่เป็นข้อจำกัดของงานวิจัย(ซึ่งผู้วิจัยบอกไว้แล้ว)

วันรุ่งขึ้นผมแวะไปร่วมประชุมงานวิชาการประจำปีด้านสังคมวิทยาครั้งที่3ของสภาวิจัยแห่งชาติก็พบกับสภาพเดียวกัน คือ
ผู้วิจารณ์ เสนอเรื่องของตนเอง (หลายครั้งเป็นเพียงความคิดเห็นด้วยซ้ำ) โดยไม่ดูว่าผู้เสนองานพูดเรื่องอะไร โดยเฉพาะในห้องที่ผมเข้าไปฟัง ผมเจอเรื่องเหล่านี้ค่อนข้างบ่อยในแวดวงวิชาการ แต่ก็มีนักวิชาการที่มีความชัดเจนแม่นยำที่ทำให้ผมประทับใจและได้เรียนรู้การทำงานอยู่มากด้วย

งานของอาจารย์วรเวศม์สำหรับผมแล้ว เห็นว่ามีประเด็นถกเถียงเพื่อร่วมกันหาทางออกชัดเจนมาก เพราะเป็นการทำความเข้าปรากฏการณ์ที่ไม่ซับซ้อน ตามแบบของดร.ครูชบ ยอดแก้ว
ตัวแปรหลักที่มีนัยะสำคัญชัดเจนมีความเป็นระเบียบแบบเส้นตรง คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย

หมายเลขบันทึก: 67604เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2006 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท