โรงเรียนกับมาตรฐานการป้องกัน COVID19 ขององค์การอนามัยโลก ตอนที่ 2


#โรงเรียนปลอด COVID-19 ตอนที่ 2


แปลและเรียบเรียงข้อมูลจากเอกสารของยูนิเซฟ เผยแพร่โดยองค์การอนามัยโลก


-ทุกคนในโรงเรียนต้องรู้ข้อเท็จจริงของโรคล่าสุด

โรงเรียนต้องแจ้งหรือประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับไวรัส COVID-19 ทั้งในเรื่องที่มา ลักษณะอาการ วิธีการที่ไวรัสแพร่หรือติดต่อ และวิธีการป้องกัน โดยควรใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก องค์การยูนิเซฟ หรือหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบดูแล ระวังมิให้เกิดการเชื่อข้อมูลที่จากหน่วยงานที่ขาดความน่าเชื่อถือ การพูดเล่าแบบปากต่อปาก หรือแหล่งข้อมูลออนไลน์

-ทำให้ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการจัดการของโรงเรียน

โรงเรียนต้องประสานกับภาครัฐ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่า จะต้องไม่ใช้พื้นที่เป็นที่กักกัน หรือที่รักษาโรคไวรัส รวมถึงต้องยกเลิกกิจกรรมการพบปะ ประชุม ชุมนุม ในภาวะปกติของโรงเรียน ที่อาจจะมีความเสี่ยง

โรงเรียนต้องเสริมเรื่องกระบวนการล้างมือและการวางระบบสุขาภิบาลในการฆ่าเชื้อ ด้วยการจัดเตรียมจุดที่จะให้บริการการล้างมือ โดยมีสบู่ น้ำเปล่า และหากเป็นไปได้ ควรต้องมีจุดวางเจลแอลกอฮอล์ล้างมือทั้งใน

-ทุกห้องเรียน
-ทุกห้องประชุม
-ทางเดินเข้าออกห้องและอาคาร
-บริเวณโรงอาหาร
-ห้องน้ำ

ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคภายในอาคารต่าง ๆ ของโรงเรียน โดยเฉพาะห้องเรียน ต้องมีการทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะในบริเวณพื้นผิวที่มีการสัมผัสจากคนจำนวนมาก เช่น ราวจับ ราวลูกกรง โต๊ะรับประทานอาหาร อุปกรณ์กีฬา ประตู ลูกบิด หรือที่จับประตู หน้าต่าง ของเล่น และอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ที่เด็กและครูต้องสัมผัส

โปรดติดตามตอนต่อไปครับ




ที่มา: Key Messages and Actions for COVID-19 Prevention and Control in Schools March 2020

หมายเลขบันทึก: 676027เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2020 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2020 08:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท