CT tube warmup


การอุ่นหลอดเอกซเรย์ เป็นวิธีการหนึ่งของการนำความรู้ ที่ได้เรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

หลอดเอกซเรย์เป็นแหล่งกำเนิดรังสีของเครื่องเอกซเรย์

เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาค่อนข้างแพง

หลอดเอกซเรย์ของเครื่องเอกซเรย์ แต่ละชนิดจะมีรูปร่างหรือขนาดที่แตกต่างกัน

เพื่อเป็นการช่วยยืดอายุของการใช้งานของหลอดเอกซเรย์แล้ว

เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องควรที่จะมีความระมัดระวัง ให้ความสนใจและศึกษาถึงสาเหตุต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นกับหลอดเอกซเรย์


หลอดเอกซเรย์ของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

 มีค่าในการทนความร้อน ตั้งแต่ 1-30 ล้านหน่วยความร้อน (million heat unit ; MHU)

มีระบบช่วยในการระบายความร้อนออกจากหลอดที่ดี เนื่องจากการฉายรังสีจากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มีการฉายรังสีที่ต่อเนื่องติดต่อกัน รวมถึงการใช้ปัจจัยในการกำหนดปริมาณรังสี (exposure factors) ในการสแกนด้วยค่าที่สูง เช่น 70-150 kV, 50-400 mAs ระยะเวลาในการฉายรังสีแต่ละครั้ง ประมาณ 10-20 วินาที (ขึ้นกับชนิดการตรวจวินิจฉัย) ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนที่สูงภายในหลอด


หลอดเอกซเรย์ต้องมีการระบายความร้อน (heat dissipation) ที่ดี อัตราในการระบายความร้อนที่รวดเร็ว เช่น 0.4-1.8 ล้านหน่วยความร้อนต่อนาที (MHU/min)  โดยส่วนใหญ่หลอดเอกซเรย์ของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จะกำหนดค่าความจุความร้อนที่ขั้วบวก (anode heat storage capacity) อยู่ในช่วงประมาณ 2-5 ล้านหน่วยความร้อน หรือมากกว่าขึ้นกับการออกแบบ หรือ รุ่นที่ผลิตของผู้ขายแต่ละราย


ดังนั้น

เพื่อปรับสภาพความร้อนภายในหลอดให้เหมาะสม

ก่อนใช้งาน ควรมีการอุ่นหลอด (tube warm up)

โดยส่วนใหญ่จะระบุว่า ถ้าหากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ไม่ได้ใช้งานติดต่อกันเกิน 2 ชั่วโมง (หรือตามข้อกำหนดของบริษัทผู้ผลิตระบุไว้) ก่อนการใช้งาน ต้องทำการอุ่นหลอด เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของหลอดเอกซเรย์ ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อหลอด ก่อนระยะเวลาอันสมควร และยังเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาหลอดเอกซเรย์


ข้อควรทราบสำหรับการอุ่นหลอด

- ก่อนทำการอุ่นหลอด ควรปิดประตูห้องตรวจ เพื่อป้องกันรังสีกระเจิงไปสู่บริเวณใกล้เคียง

- ควรติดป้ายเตือน แจ้งให้ทราบว่า จะทำการอุ่นหลอด เพื่อป้องกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องห้องตรวจ

- เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จะมีโปรแกรมการควบคุมการอุ่นหลอดอัตโนมัติ

- ขณะทำการอุ่นหลอดเอกซเรย์ ต้องเลื่อนเตียงตรวจออกจากตัวเครื่องเอกซเรย์ เพื่อไม่ให้มีวัตถุมาขวางกลั้นบริเวณฉายรังสีระหว่างหลอดเอกซเรย์กับอุปกรณ์รับรังสี

- โดยส่วนใหญ่โปรแกรมการควบคุมการทำงาน จะเลือกใช้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ โดยเริ่มต้นจากค่าที่น้อย เพิ่มไปสู่ค่าที่มากขึ้น (เช่น 40 mA, 100 mA, 200 mA เป็นต้น) หรือ ทำให้เกิดความร้อนที่ต่ำๆขยับไปสูงความร้อนที่สูงพอเหมาะต่อหลอดเอกซเรย์ ซึ่งจะสอดคล้องกับการสอบเทียบ (calibration) ปรับค่า ปรับข้อมูล เพื่อใช้ในการการประมวลผลและสร้างภาพ

- ถ้าเครื่องเอกซเรย์ มีหลอดเอกซเรย์ มากกว่า 1 หลอด อาจจะมีการอุ่นหลอดพร้อมกัน หรือ สลับหลอดไปมา ตามพารามิเตอร์ที่ใช้งาน




การอุ่นหลอดเอกซเรย์

เป็นวิธีการหนึ่งของการนำความรู้ ที่ได้เรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

โอกาสพัฒนา มีทุกๆวัน ครับ

หมายเลขบันทึก: 676004เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2020 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2020 13:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท