มหาวิทยาลัยกับการสร้างนวัตกรรมทางสังคม


หนังสือ การเมืองแห่งชีวิตประจำวัน  ที่แปลมาจาก  Politics of The Everyday  เขียนโดย Ezio Manzini    เชิงอรรถหน้า ๖๔ เล่าเรื่องโครงการ Cultures of Resilience (COR)   ที่ดำเนินการโดย University of the Arts London ในช่วงปี 2014-2016   ทำให้ผมมองเห็นลู่ทางที่ มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ หรือพัฒนาท้องถิ่น จะดำเนินการจัดการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรม “ออกแบบสมบัติส่วนรวม”   

การเรียนรู้ของนักศึกษา (และอาจารย์ ผู้บริหาร) จะเป็น Project-Based Learning  หรือ Activity-Based Learning    เรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักศึกษาต่างสาขา ต่างวิชาเอก    ยิ่งมีนักศึกษาหลากหลายสาขายิ่งดี    โดยนักศึกษาทำงานเป็นทีมสหสาขา (IPE – Inter-Professional Education) มีเป้าหมายงานเดียวกัน แต่เพื่อเรียนรู้ต่างกัน    ที่เหมือนกันคือ เรียนทฤษฎีผ่านการปฏิบัติ    อาจารย์สอนทฤษฎีสั้นๆ สองสามชั่วโมง    หลังจากนั้นอาจารย์ช่วยโค้ช โดยเน้นตั้งคำถาม

วิจารณ์ พานิช

๑๐ ธ.ค. ๖๒

     

หมายเลขบันทึก: 674770เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2020 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2020 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท