ชีวิตที่พอเพียง 3594. ไอทีกับบริการสุขภาพ



บทความเรื่อง Asean’s evolving healthcare needs : Quality, accessibility and cost can all be improved through technological solutions, according to Monk’s Hill Venture ลงพิมพ์ใน นสพ. บางกอกโพสต์ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ (๑)    บอกว่า ในไม่ช้า เทคโนโลยีดิจิตัลจะเปลี่ยนโฉมบริการสุขภาพ  

เป็นโอกาสของประเทศไทยที่ระบบสุขภาพดีอยู่แล้ว    ที่จะยกระดับคุณภาพ การเข้าถึง และลดค่าใช้จ่าย สำหรับคนไทย    และที่จะยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้บริการรักษาพยาบาลแก่คนต่างชาติ เพื่อหารายได้เข้าประเทศ    และเพื่อทำประโยชน์แก่โลก   

ในเรื่องระบบสุขภาพที่ดี โปรดดูตัวเลขในภาพด้านขวา จะเห็นว่าคนไทยจ่ายค่าบริการสุขภาพด้วยตนเองในสัดส่วนเพียงร้อยละ ๑๒.๑ ต่ำที่สุดใน ๗ ประเทศที่ยกมาเปรียบเทียบกัน  

ในวันที่ ๒๒ และ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ผมได้รับคำบอกเล่าเรื่องโรงพยาบาลยี่งอ  ที่พัฒนาระบบไอทีขึ้นใช้ในการให้บริการผู้ป่วยนอก และในการบริหารโรงพยาบาล (๒)     สะท้อนศักยภาพในการพัฒนาด้านนี้ของระบบสุขภาพไทย      

เช้าวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน เวลา ๘.๐๐ น. ผศ. นพ. กฤษณ์ ขวัญเงิน และทีมงานจาก CMU Craniofacial Center มาขอคำปรึกษางานที่จะทำในระยะต่อไป    หลังจากดำเนินการมาได้ ๑ ปี    สถานที่ประชุมที่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. ซึ่งเป็นสถานที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยในวันนั้น (ดูรูป)   จากเอกสารรายงานและจากการคุยกัน    ทำให้ผมเข้าใจว่าจริงๆ แล้วโครงการนี้เป็นการพัฒนาระบบไอทีขึ้นช่วยงานเครือข่ายให้บริการผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่อย่างครบวงจร ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ ๑๐ ปี    เป็นโครงการที่ตั้งเป้าสูงมาก    และเมื่อเริ่มทำก็พบข้อจำกัดมากมาย    แต่ อ. หมอกฤษณ์ก็ไม่ย่อท้อ    ผมได้แนะนำให้ศึกษาวิธีการ service design เอามาประยุกต์ใช้ด้วย    

วิจารณ์ พานิช

๒๔ พ.ย. ๖๒



วงหารือโครงการเครือข่ายดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่อย่างครบวงจร

หมายเลขบันทึก: 673972เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2019 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ธันวาคม 2019 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท