คิดเป็นระบบแบบนักกิจกรรมบำบัด


ขอบพระคุณอ.อ้อม อ.นาย อ.เดียร์ นศ.กิจกรรมบำบัด รวมทั้งกรณีศึกษาจากรุ่นพี่นักกิจกรรมบำบัดทุกท่าน และอ.ป๊อป ที่มีจิตมุ่งมั่น ใจเย็นชี้แนะ พยายามเข้าใจ และตั้งคำถามชี้นำ จนเกิดกระบวนการเรียนรู้ใหม่ให้เราทุกคนคิดเป็นระบบเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะด้วยกิจกรรมบำบัด

อ้างอิงอ่านทบทวน (Review) เพิ่มเติมโดยคลิกที่นี่ครับ แล้วลองมาทำความเข้าใจให้คิดเป็นระบบเพื่อนำไปต่อยอดฝึกฝนทักษะการให้เหตุผลทางคลินิกกับการฝึกปฏิบัติงานจริงกับผู้รับบริการในโอกาสต่อไปด้วยความคิดดี พูดดี และทำดี 

การให้เหตุผลทางคลินิก หมายถึง กระบวนการที่นักกิจกรรมบำบัดใช้สื่อสารทำความเข้าใจต่อผู้รับบริการ ในเรื่อง "อะไรคือความต้องการแท้จริงที่จะทำให้ผู้รับบริการคิดตัดสินใจเข้ารับบริการกับนักกิจกรรมบำบัด" ประกอบด้วย:-

  1. Procedural reasoning คือ ขั้นตอนที่นักกิจกรรมบำบัดจะกระทำต่อผู้รับบริการให้สำเร็จได้อย่างไร ในเรื่อง "การประเมินและการบำบัดฟื้นฟูการทำงานของร่างกายตามระบบและปัจจัยส่วนบุคคล" เช่น 
    1. ขั้นตอนการตรวจประเมินความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระบบประสาทพฤติกรรม ระบบกระดูกกล้ามเนื้อ ระบบหายใจหัวใจและหลอดเลือด ระบบย่อยอาหารขับถ่ายและใช้พลังงาน ซึ่งตรงนี้จะต่อเนื่องมาจาก ผลกระทบต่อความสามารถในการทำกิจกรรมหลังได้รับการวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ (Diagnostic Clinical Reasoning) หรือ ความเป็นจริงที่เราได้ฟังแบบไม่ตัดสิน ได้สังเกต และได้เข้าร่วมทำกิจกรรมกับผู้ป่วย (Scientific/Factual Clinical Reasoning) หรือ มีความเป็นมืออาชีพ/ตามจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ (Ethical Clinical Reasoning) 
    2. ขั้นตอนการประเมินความสามารถที่มีอยู่ผ่านการวิเคราะห์กิจกรรมจากง่ายไปยาก 
    3. ขั้นตอนการสอบถามและบันทึกความมั่นใจขณะทำกิจกรรมที่มีความสนใจ 
    4. ขั้นตอนการสังเคราะห์กิจกรรมเพื่อนำพาให้ผู้รับบริการกลับไปใช้ชีวิตได้จริง
    5. ขั้นตอนการจัดลำดับความสำคัญในการมีเป้าหมายเพื่อทำกิจกรรมที่มีคุณค่าต่อตัวเองและมีความหมายต่อผู้อื่น

2. Interactive reasoning คือ การสื่อสารปฏิสัมพันธ์หรือการสร้างสัมพันธภาพระหว่างนักกิจกรรมบำบัดและผู้รับบริการ (ผู้ป่วย ผู้ดูแล ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง) เพื่อมีส่วนร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือ ทำความเข้าใจในประเด็นปัญหา/ความสามารถที่มีอยู่ของผู้ป่วย หรือ เพิ่มแรงจูงใจให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่าง ๆ 

3. Conditional reasoning คือ บริบทที่เกิดกระบวนการประเมินและการให้สื่อการบำบัด บริบทที่ผู้ป่วยเกิดการแสดงความสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ตลอดจนการใช้กรอบอ้างอิงอธิบายผลลัพธ์และทิศทางในการให้โปรแกรมบำบัดฟื้นฟูว่า จะมีปัจจัยความสำเร็จและความท้าทาย/อุปสรรคอย่างไร 

4. Narrative reasoning คือ การใช้เรื่องเล่าเพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์ชีวิตของผู้รับบริการ คำอธิบายหรือคำบรรยายของผู้รับบริการที่มีต่อความพิการ ปัญหาในการใช้ชีวิต และผลกระทบที่ได้รับจากการบำบัดฟื้นฟูในอดีตจนถึงปัจจุบัน 

5. Pragmatic reasoning คือ การผสมผสานเหตุผลทางคลินิกมากกว่า 1 ข้อข้างต้น เพื่อครอบคลุมความต้องการทั้งหมดของผู้รับบริการกับนักกิจกรรมบำบัด เช่น

  • เป็นไปตามศักยภาพประสบการณ์ทางคลินิกของนักกิจกรรมบำบัด 
  • คำนึงถึงความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือทางสังคมและการเงิน
  • มีความปลอดภัย มีความก้าวหน้าของการให้บริการทางกิจกรรมบำบัด
  • มีการประเมินความสามารถสูงสุดของผู้ป่วยในระยะยาวว่า จะใช้ชีวิตด้วยความเป็นอยู่ที่ดี หลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลได้อย่างไร 

ตัวอย่างคำถามที่คมชัดที่เราจะได้คำตอบของการคิดเป็นระบบ หรือ การคิดกระบวนการให้เหตุผลทางคลินิก 

  1. Procedural Questioning: ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยอะไร แล้วจะมีวิธีการออกแบบโปรแกรมกิจกรรมบำบัดอย่างไรให้ผู้ป่วยรายนี้ มีหลักฐานอะไรที่แนะนำขั้นตอนการเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้มีประสิทธิภาพ  
  2. Interactive Questioning: ผู้ป่วยเป็นใคร อะไรคือเป้าหมาย ความสนใจ คุณค่า ความคิดเห็นต่อศักยภาพ และปัญหาที่ทำให้ความสามารถลดลง (ข้อมูลได้มาจากคำพูดของผู้ป่วย/ผู้ดูแล/ผู้ปกครองจริง)
  3. Conditional Questioning: บริบทที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยคืออะไร ผู้ป่วยตั้งเป้าหมาย/อยากวางแผนอนาคตที่เป็นจริง/เห็นภาพอนาคตของตัวเองหลังพิการไว้อย่างไร 
  4. Narrative Questioning: การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต มีความหมายอะไรกับผู้ป่วย ความพิการทำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ผู้รับบริการเข้าใจในเป้าหมายที่นักกิจกรรมบำบัดวางไว้อย่างไร
  5. Pragmatic Questioning: มีหน่วยงานอะไรบ้างที่จะช่วยบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยอย่างครบวงจร ในการวางแผนของนักกิจกรรมบำบัด ได้มีการพิจารณาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นอุปสรรคต่อการฝึกอะไรบ้าง ระดับความรู้ความสามารถและประสบการณ์การทำงานของนักกิจกรรมบำบัดจะช่วยนำพาให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้อย่างไร 


หมายเลขบันทึก: 673535เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2019 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2019 18:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท