KM กับวิทยาศาสตร์ศึกษา


KM กับวิทยาศาสตร์ศึกษา

         ในการประชุม Thailand - US Education Roundtable  ครั้งที่ 3  เรื่อง Science Education & Higher Education in Thailand and the United States ที่ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์   การประชุมวันที่ 2  ห้อง 2  ที่ผมเข้าร่วมเมื่อวันที่ 8 พ.ย.48   มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนกันสนุกมากและได้ประโยชน์มาก   เราได้เรียนรู้สภาพความเป็นไปในสหรัฐอเมริกา   ซึ่งเมื่อมองในภาพรวมและภาพเคลื่อนไหวเปรียบเทียบกับประเทศเด่น ๆ ก็อยู่ในสภาพที่น่าวิตก   มีคนบอกว่าหัวใจอยู่ที่สถานะของครู   ฟินแลนด์อยู่อันดับ 1 ก็เพราะว่าเวลาถามเด็กเก่งว่าอยากเรียนอะไร   อันดับ 1 คือครู   เพราะสังคมยกย่องและรายได้ดี

         ใน 1.5 ชั่วโมงหลังของการประชุม   มีการอภิปรายว่าในการประชุมครั้งที่ 4 จะคุยกันเรื่องอะไรดี   หรือในระหว่างนั้นจะร่วมมือทำอะไรกันบ้าง  

         มีการพูดถึงประเด็นต่าง ๆ มากมายด้านการสอน   เครื่องไม้เครื่องมือ   ตำรา   ผมจึงเสนอต่อที่ประชุมให้ลองคิดโดยเปลี่ยน paradigm ของการคิด   คือไม่คิดแบบ problem - oriented  แต่คิดแบบ success/best practice oriented   เอาครู/อาจารย์ที่สอนวิทยาศาสตร์เก่งในบริบทต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่าเขาคิดอย่างไร   ทำอย่างไร   มีทักษะสำคัญอะไรบ้างที่จะช่วยให้ทำได้ตามบริบทเหล่านั้น   ก็จะเกิดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาครบทุกด้านที่พูดกันและเป็นการเรียนรู้อย่าง holistic

         ที่จริงผมคิดว่าครูที่สอนวิทยาศาสตร์เก่งเขาไม่เน้นสอน   แต่เขาเน้นการ facilitate การเรียนรู้ของเด็ก

         แนวคิดแบบ KM นี้   ใช้ในประเทศไทยเราก่อนก็ได้   จะเป็นวิธีพัฒนา Science Education จากฐานดี ๆ ที่มีอยู่แล้ว   ครูที่ทำงานเอาใจใส่การส่งเสริมศิษย์ให้เรียนแบบเรียนจากของจริง/จากการปฏิบัติ   ซึ่งเป็นการเรียนรู้ตามหลัก brain - based ก็จะได้รับการยกย่อง   เกิดกำลังใจ  และจะเป็นการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ที่ทำได้เร็วและกว้างขวาง   โดยเอาผู้ปฏิบัติพัฒนาผู้ปฏิบัติด้วยกันเอง   มีนักการศึกษาและนักวิทยาศาสตร์เป็น "คุณอำนวย"

       

                  การอภิปราย                            บรรยากาศการประชุม

                                   

                                             ประธานการประชุม

วิจารณ์  พานิช
 9 พ.ย.48

หมายเลขบันทึก: 6715เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2005 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท