รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ :มิติคุณภาพ


มิติ การยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

           การจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้  รัฐบาลทุกสมัยได้ให้ความสําคัญเช่นเดียวกับภูมิภาคอื่นๆ ด้วยบริบทของพื้นที่ จึงมีการจัดการศึกษาทั้งที่เป็นสถานศึกษาของรัฐ เอกชน มูลนิธิและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งมุ่งสอนกุลบุตรกุลธิดาให้มีคุณภาพ ตามแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อสร้างคนดี คนเก่ง และมีทักษะอาชีพในอนาคต

            มิติด้านคุณภาพ ด้วยการประเมินระดับชาติ (NT -Onet)และการประกันคุณภาพการศึกษารอบที่1-4 ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งรัฐ เอกชน ต่างมุ่งหวังที่จะให้มีระดับการประเมินเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และแนวโน้มการพัฒนามีระดับเพิ่มขึ้นตามลำดับ  การพัฒนาศักยภาพครูและผู้บริหาร ก็เป็นส่วนหนึ่งที่คุณภาพผู้เรียนดีขึ้น และปัจจุบันมีผู้บริหารมืออาชีพ ครูมืออาชีพอยู่ในโรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชน ล้วนแต่มีความตั้งใจที่จะนำคุณภาพสู่ผู้เรียนให้มากที่สุด

            เป้าหมายในการยกระดับคุณภาพผู้เรียน จึงเน้นไปในเรื่องต่อไปนี้

1) การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยมีนวัตกรรมเกิดขึ้นในพื้นที่ได้แก่ ระบบการนิเทศอาสา การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning การจัดศูนย์การเรียน การแข่งขันความสามารถนักเรียนระดับต่างๆ 

2)การจัดการเรียนการสอนวิชาสามัญควบคู่วิชาศาสนา โดยผู้เรียนได้ทราบหลักการศาสนาควบคู่กับวิชาสามัญ ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน มีวิทยากรผู้ทรงความรู้มาเพิ่มเติมในสิ่งที่โรงเรียนต้องการทั้งในรูปแบบวิทยากรประจำหรือวิทยากรภายนอก และนักเรียนจำนวนหนึ่งจบหลักสูตรแล้วได้วุฒิบัตรทางด้านสายสามัญและศาสนา ในวิชาศาสนาอิสลาม หรือด้านพุทธศาสนาในโรงเรียนที่เปิดสอบธรรมสนามหลวง เป็นต้น            

3)การส่งเสริมด้านการศึกษาด้านอาชีพ ในสถานศึกษาของรัฐ จะเปิดสอนวิชาอาชีพเพื่อวัดความถนัดหรือความสนใจในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับที่สูงขึ้นในระดับการอาชีวศึกษา สถาบันฝึกอาชีพ  นอกจากนั้นในสถาบันการศึกษาปอเนาะ ก็จะมีการฝึกอาชีพควบคู่ไปกับการสอนอาชีพในสถาบันที่มีความพร้อมอีกด้วย เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านอาชีพเมื่อจบการศึกษา และสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ หน่วยงานที่สนับสนุนหรือส่งเสริมระดับสูงขึ้น ทั้งสถาบันการอาชีวศึกษา การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย วิทยาลัยชุมชน และมหาวิทยาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่

4)การส่งเสริมกิจกรรมที่เสริมสร้างความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลูกเสือ ยุวกาชาด การบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมจิตอาสา เริ่มมีมากขึ้นทั้งปริมาณและกิจกรรมในพื้นที่

5)การมีหน่วยงานเฉพาะขึ้นมารับผิดชอบการจัดการศึกษาให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ลงลึกไปถึงหมู่บ้าน ตำบลและอำเภอ เช่น มี กศน ตำบล สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ ศูนย์ฝึกอาชีพประจำอำเภอ ศูนย์การเรียนตำบล เป็นต้น เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายคุณภาพให้ครอบคลุมผู้เรียนให้มากที่สุด

6)การจัดตั้งศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) ทำหน้าที่ประสานงานและบริหารการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีเอกภาพและบูรณาการการทำงานให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

7)การกำหนดให้เป็นพื้นที่นวัตกรรม โดยการมีกฎหมายรองรับที่จะส่งเสริมให้การจัดการศึกษามีทิศทางที่ชัดเจน นำนวัตกรรมและใช้นวัตกรรมให้เหมาะสมกับพื้นที่โดยผ่านกลไกความร่วมมือจากทุกฝ่าย

8)ส่งเสริมการจัดกิจกรรมอื่นๆที่ชุมชนหรือท้องถิ่นสนใจและให้ความสำคัณ เช่น ด้านการกีฬา การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อาหาร การแปรรูปพืชผลทางการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง เป็นต้น

9) มีโรงเรียนที่นำร่องเกิดขึ้นในพื้นที่ เช่นโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ โรงเรียนการศึกษาพิเศษ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ โรงเรียนกองทุนการศึกษา โรงเรียนตามโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น

         การยกระดับคุณภาพผู้เรียน จึงเป็นหน้าที่ของรัฐ เอกชน องค์กรศาสนาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะสนับสนุน ร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดคุณภาพผู้เรียนให้มากที่สุด โดยใช้มิติการศึกษาในการเสริมสร้างความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกทางหนึ่งด้วย

หมายเลขบันทึก: 670293เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2019 04:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2019 05:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท