การให้เหตุผลทางคลินิกของกิจกรรมบำบัด จากการเขียนกรณีศึกษาที่สถาบันประสาท กรุงเทพมหานคร


Case Study for Clinical Reasoning [PTOT424]

Scientific Reasoning

- Diagnostic Reasoning 

การวิจัยทางการแพทย์ การวินิจฉัยได้แก่ Cerebral Infarction สามารถจำแนกตาม ICD-10 code ได้ดังนี้ Nc3 และ Mc7 สังเกตได้จากการที่ผู้รับบริการมีอาการเกร็งของแขนซ้ายจนไปถึงปลายนิ้ว ไม่สามารถขยับนิ้วในการหยิบจับสิ่งของได้ ช่วงหัวไหล่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่จะเป็นการเคลื่อนไหวที่เป็น Synergy โดยมีข้อศอกงอไปพร้อมกับการยกแขนซ้าย ขาข้างซ้ายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ และผู้รับบริการมีอาการมานานถึง 4 ปีจึงจัดว่าเป็น Lt. hemiplegia 

ความสามารถสูงสุดของผู้รับบริการ

1) ADL

- Bathing/showering: Minimal assistance จากการสัมภาษณ์ต้องให้ผู้อื่นถูหลังให้

- Toileting and toilet hygiene(ให้ผู้รับบริการทำให้ดู): การเข้าห้องน้ำ การทำความสะอาด – Independent

- Dressing (ให้ผู้รับบริการทำให้ดู): 

ใส่เสื้อคอกลม - Minimal assistance, ใส่เสื้อผ่าหน้า – Independent,

ถอดเสื้อคอกลมและเสื้อเชิ้ต – Independent, ใส่และถอดกางเกง - Maximal assistance

- Feeding and Swallowing/Eating: Independent

- Functional mobility (ให้ผู้รับบริการทำให้ดู) / Transfer: maximal assistance                       

- Personal hygiene and Grooming: Minimal assistance จากการสัมภาษณ์ให้ผู้ดูแลทาหลังให้

2) Body Function

- Mental function: จากการประเมิน Thai MMSE = 25 คะแนน

- Specific mental functions ผู้รับบริการสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ มีการจดจำขั้นตอนและลงมือทำตามขั้นตอนได้ครบถ้วน จากกิจกรรมการต่อจิ๊กซอว์ เป็นต้น มีการแยกแยะสิ่งเร้าที่เข้ามาได้ แต่มีช่วงความสนใจอยู่ที่ประมาณ 5 นาทีจากการทำกิจกรรมต่อภาพจิ๊กซอว์

- Global mental functions ผู้รับบริการขาดแรงจูงใจในการทำกิจกรรมจากการสังเกตผู้รับบริการระหว่างทำกิจกรรมและจากการสอบถามผู้รับบริการมีการให้คะแนนความสามารถของตนเองต่ำ มีการตื่นตัวที่เหมาะสม จดจำวัน เวลา สถานที่ บุคคบได้แม่นยำ

 - Sensory functions ปกติ

 - Neuromusculoskeletal and movement related function มี limit ROM จากการวัดด้วย Goniometer

Wrist extension 0-20 องศา

Thumb MP joint 0-90 องศา   DIP joint 0-90 องศา

Index MP joint 0-90 องศา PIP joint 0-110 องศา DIP joint 0-65 องศา

Middle MP joint 0-90 องศา PIP joint 10-110 องศา DIP joint 5-65 องศา

Ring MP joint 0-90 องศา PIP joint 5-120 องศา DIP joint 0-90 องศา

Pinky MP joint 0-95 องศา PIP joint 0-110 องศา DIP joint 0-65 องศา 

- Muscle functions, Muscle tone ด้วยวิธีการทำ Quick strength

Mild spasticity of elbow flexor m.

Moderate spasticity of elbow extensor m.

Severe spasticity of wrist flexor m.

Mild to moderate spasticity of mass finger flexor m.

- Movement functions

 Control of voluntary movement (Functional Motions)                                                                                                   - ½ AROM of shoulder flexion and abduction with synergy

- full AROM of shoulder adduction

- full AROM of elbow flexion with synergy

- ¾ AROM of elbow extension 

- full AROM of pronation with synergy 

- No movement of forearm supination, wrist flexion & extension, mass finger flexion & extension

3) Performance Skill

 - Motor skill ผู้รับบริการสามารถจัดท่าทางขณะนั่งบนเก้าอี้ได้แต่ไม่สามารถใช้แขน มือและนิ้วในการทำกิจกรรมได้

 - Process skill ผู้รับบริการจดจ่อกับการทำกิจกรรมได้จนเสร็จ ไม่สามารถใช้มือและนิ้วในการทำกิจกรรมได้

 - Social skill ผู้รับบริการมีปฏิสัมพันธ์ในการสนทนาได้อย่างเหมาะสม

  การวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด ผู้รับบริการแสดงให้เห็นถึงการขาด motivation ในการจะทำกิจกรรมการฝึกในห้องฝึกอย่างเห็นได้ชัดเจน เช่น การทำกิจกรรมแล้วเหม่อ ทำกิจกรรมตามสั่งโดยที่ทำๆไปให้เสร็จกิจกรรม เป็นต้น ผู้รับบริการยังมีการให้คะแนนในเรื่อง slef-efficacy อยู่ที่ 3/10 คะแนนทำให้เห็นว่าการที่ผู้รับบริการมีการให้คะแนนในความสามารถของตัวเองขณะทำกิจกรรมต่างๆที่ค่อนข้างต่ำมาก เมื่อสอบถามเวลาการทำกิจกรรมอยู่ที่บ้านว่าทำอะไรบ้าง ก็พบว่าส่วนใหญ่กิจวัตรที่ตนเองสามารถก็จะพยายามทำด้วยตนเองเนื่องจากมีอาการ hemiplegia มา 4 ปีแล้วทำให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจวัตรบางอย่างได้โดยตนเอง แต่ในกิจกรรม เช่น กิจกรรมยามว่าง หรือ การทำงาน ผู้รับบริการไม่ได้ให้ความสนใจในการทำกิจกรรมเหล่านั้นเท่าที่ควรด้วยความคิดของตนเองและคนที่บ้านว่าเมื่อเป็นแบบนี้และอายุที่เยอะแล้ว แต่ผู้ดูแลที่อยู่ในบ้านเป็นหลานสาวและน้องๆของตนเองได้มีการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีทั้งการพาไปนอกบ้านหรือการดูแลเรื่องกิจวัตรบางอย่างที่ผู้รับบริการไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง อาการที่มีการเกร็งบริเวณส่วนแขนและขานั้นส่งผลโดยตรงต่อการทำกิจวัตรประจำวัน กิจกรรมยามว่าง การทำงาน ของผู้รับบริการโดยตรง

จึงทำให้ผู้รับบริการอยู่ในการวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัดคือ Occupational Deprivation เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับมาผู้รับบริการมีการขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมในการทำงานและทำกิจกรรมยามว่างของตนเองจากอาการของตัวโรคที่เป้นอยู่เป็นระยะเวลานาน

- Procedural clinical reasoning

มีการให้กิจกรรมการประเมินเพื่อหาความสามารถสูงสุดของผู้รับบริการที่สามารถทำได้ในห้องฝึก ได้แก่ การประเมินการเคลื่อนย้ายตัวเอง การเข้าห้องน้ำ การรับประทานอาหาร การแต่งตัว การหยิบจับและเคลื่อนย้ายอุปกรณ์บนโต๊ะ ( stacking cone, tennis ball, funtional motion ) เป็นต้น ทำให้เห็นว่าหลายๆกิจกรรมผู้รับบริการสามารถทำได้เอง และีบางกิจกรรมที่ผู้รับบริการต้องอาศัยผู้ดูแลในการทำกิจกรรมอย่างมาก 

มีการสังเกตพฤติกรรมและการสอบถามเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้เห้นว่าพฤติกรรมของผู้รับบริการเป็นคนที่ไว้ใจผู้อื่นยากและไม่ค่อยสื่อสารกับคนที่ไม่รู้จัก ผู้บำบัดใช้ระยะเวลานานพอสมควรในการที่จะทำความรู้จักกับผู้รับบริการเมื่อเวลาผ่านไปจากการถามคำตอบคำ การทักทายทั่วไป หรือการถามเพื่อให้ได้ข้อมูลต่างๆมา (Interactive reasoning) กลายเป็นผู้บำบัดไม่จำเป็นต้องสอบถามผู้รับบริการเองแต่ผู้รับบริการจะเป็นผู้เล่าเรื่องต่างๆขึ้นมาเอง เช่น วันนี้กินอะไรมา นอนเป็นยังไง อาการวันนี้ร้อนนะนอนไม่ค่อยหลับ และ เมื่อมีการถามคำถามปลายเปิดผู้รับบริการจะมีการเล่าเรื่องที่ยาวและลึกมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องราวของผู้รับบริการเอง เช่น วันนี้ญาติจะมาเยี่ยมหรือไม่ ผู้รับบริการก็จะเล่าเรื่องของเมื่อวานที่ญาติมาและญาติไม่มาเพราะอะไรยาวไปถึงเวลาที่ผู้รับบริการอาศัยอยู่ที่บ้านหลานจะมีการดูแลยังไงบ้าง น้องพาไปเที่ยวี่ไหนมาบ้าง หรือว่าวันนี้รู้สึกมีอาการเป็นอย่างไร เห็นความแตกต่างอะไรจากการที่มาฝึกครั้งแรกและตอนนี้บ้าง เป็นต้น (Narative clinical reasoning)

การประยุกต์ใช้กรอบอ้างอิงต่างๆในการฝึกกิจกรรมบำบัด Conditional Reasoning

ในกรณีศึกษานี้ได้มีการใช้ For/Model คือ MOHO+Physical Rehabilitation เนื่องจากในช่วงแรกผู้รับบริการมี low motivation ในการทำกิจกรรมการฝึกเราจึงต้องดึงความสนใจหรือสิ่งที่ผู้รับบริการมีความชอบที่จะทำหรือดูจากความต้องการ แต่ในกรณีศึกษานี้ช่วงแรกผู้รับบริการไม่มีความต้องการใดเป็นพิเศษ จึงมีการให้ Physical Rehabilitation ควบคู่กับการให้ matter of fact ให้ผู้รับบริการทำการสะท้อนผลการฝึกด้วยตนเองและมีเราให้การสะท้อนความจริงให้ผู้รับบริการได้เห็นและรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นพร้อมบอกเหตุ จึงทำให้ผู้รับบริการมี motivation ในการฝึกเพิ่มขึ้น

การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการตามการกล่าวข้างต้นแล้วจะมีการใช้ Interactve & Narative Reasoning 

ในการพูดคุยสร้างความไว้วางใจและยังมีการใช้ร่วมกับ Rapport คือการใช้ตัวเราในการสร้างความไว้วางใจหรือให้ผู้รับบริการมีการเลือกทำกิจกรรมที่ตนเองอยากทำด้วยตนเองโดยให้ผู้รับบริการเลือกกิจกรรมที่ตนเองอยากทำ 1 กิจกรรมในวันนั้นเพื่อทำการผ่อนคลาย และบางวันผู้บำบัดไม่ได้มีการกำหนดโปรแกรมการฝึกแบบเดิมๆเสมอ แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมเพื่อรักษาความสามารถสูงสุดของผู้รับบริการด้วย เช่น กิจกรรมการต่อจิ๊กซอว์ การบวกเลขจากการ์ด เป็นต้น 

การเปลี่ยนแปลงของผู้รับบริการผ่านการเขียน SOAP NOTE 

SOAP NOTE:

วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 เวลา 09.00 น. นางสาวบุญนาค มาระโภชน์ อายุ 61 ปี Dx.Cerebral infarction

S: สอบถามผู้รับบริการว่าอยากทำกิจกรรมอะไรในห้องฝึก “อะไรก็ได้ อันไหนก็ได้ เอามาให้ทำเลย”, สอบถามผู้รับบริการเกี่ยวกับครอบครัว “อาศัยอยู่กับน้องสาว น้องเขยและหลานสาวสองคน อยู่ที่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นหลานสาวช่วยในการทำเรื่องต่างๆ”, สอบถามเรื่องราวของผู้รับบริการ “เมื่อก่อนเป็นเกษตรกรทำสวนของครอบครัวแถสนนทบุรี แต่ตอนนี้หลังจากป่วยมา 4 ปีได้แต่อยู่บ้านเฉยๆ แต่ชอบการปลูกต้นไม้แต่ไม่สามารถทำการปลูกต้นไม้ได้ มีน้องชายพาไปไหว้พระข้างนอกบ้าน”  

O: ผู้รับบริการมีสีหน้าเรียบเฉย ไม่สนใจในกิจกรรมที่ช่วยการฟื้นฟู มีอาการเหม่อลอยบางครั้งที่ทำกิจกรรมคนเดียว ไม่สามารถขยับแขน ขา และมือทางด้านซ้ายได้อย่างอิสระ นั่งวีลแชร์

A: - Bathing/showering: Minimal assistance จากการสัมภาษณ์ต้องให้ผู้อื่นถูหลังให้

- Feeding and Swallowing/Eating: Independent

- Personal hygiene and Grooming: Minimal assistance จากการสัมภาษณ์ให้ผู้ดูแลทาหลังให้

- ROM จากการวัดด้วย Goniometer

Wrist extension 0-20 องศา

Thumb MP joint 0-90 องศา   DIP joint 0-90 องศา

Index MP joint 0-90 องศา PIP joint 0-110 องศา DIP joint 0-65 องศา

Middle MP joint 0-90 องศา PIP joint 10-110 องศา DIP joint 5-65 องศา

Ring MP joint 0-90 องศา PIP joint 5-120 องศา DIP joint 0-90 องศา

Pinky MP joint 0-95 องศา PIP joint 0-110 องศา DIP joint 0-65 องศา 

- Muscle functions, Muscle tone ด้วยวิธีการทำ Quick strength

Mild spasticity of elbow flexor m.

Moderate spasticity of elbow extensor m.

Severe spasticity of wrist flexor m.

Mild to moderate spasticity of mass finger flexor m.

- Control of voluntary movement (Functional Motions)                                                                                                    ½ AROM of shoulder flexion and abduction with synergy

full AROM of shoulder adduction

full AROM of elbow flexion with synergy

¾ AROM of elbow extension 

full AROM of pronation with synergy 

No movement of wrist flexion & extension, mass finger flexion & extension

P: Maintain Voluntary movement, ROM. ประเมิน MMSE, ADL ที่ยังไม่ได้ทำการประเมิน 

SOAP NOTE: 

วันที่ 17 พฤษภาคม 2562 เวลา 09.30 น. นางสาวบุญนาค มาระโภชน์ อายุ 61 ปี Dx.Cerebral infarction

S: ผู้รับบริการเป็นผู้เริ่มต้นบทสนทนา “วันนี้เป็นยังไงบ้าง, วันนี้ป้าตัดเล็บมาแล้ว, ป้าเริ่มเบื่อข้าวต้มแล้ว ไม่อร่อยเลย แล้วเมื่อเช้าเรากินข้าวอะไรมา, วันนี้อากาศร้อนเนอะแต่เมื่อฝนมีฝนตก นอนสบายมาก”

O: มีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม มีความสนใจในการทำกิจกรรมใหม่ๆที่ตนไม่เคยลองทำ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ รับฟังคำแนะนำเพื่อการปรับปัจจัยสิ่งแวดล้อม 

A: ประเมิน ROM at wrist joint extension = 75 องศา (passive ROM)

ประเมิน Muscle strength = ระดับเดิมที่ทำการวัดวันแรก

ประเมิน Voluntary movement = ระดับเดิมที่วัดวันแรก

P: การให้ข้อมูลที่จำเป็นในการดูแลตัวเองเบื้องต้นในเรื่องการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองให้มากที่สุดและการปรับสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้สามารถทำกิจวัตรได้อย่างสะดวก

  อภิปรายร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำความรู้ที่ได้เพิ่มเติมไปประยุกต์ใช้จริง (Pragmatic Reasoning)

ในกรณีศึกษานี้ได้มีการอภิปรายกับพี่ผู้ดูแลการฝึกงานที่โรงพยาบาลแห่งนี้และได้มีการอภิปรายกับอาจารย์กิจกรรมบำบัดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น สิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนกับผู้เชี่ยวชาญได้แก่

- การหาความต้องการของคนไข้ที่แท้จริง เพราะสิ่งที่เราได้มาอาจจะยังไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการก็เป็นได้ จะต้องมีเทคนิคการพูดคุยที่สามารถเจาะเข้าไปในจิตใจของผู้รับบริการได้มากกว่านี้ สิ่งเหล่านี้อาจะต้องอาศัยจากประสบการณ์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง

- การสังเกตคนไข้ ในช่วงแรกที่ทำการฝึกและได้มีการมาอภิปรายร่วมกับพี่ดูแลดูการฝึกงาน ที่คอยช่วยในการถอดพฤติกรรมของคนไข้จนสามารถรู้ได้ว่าผู้รับบริการท่านนี้มีอาการ low motivation ในการฝึกเนื่องจากผู้รับบริการมีอาการดังกล่วเป้นระยะเวลานาน

- การพูดคุยกับญาติควรมีการพูดคุยเนื่องจากในเคสนี้ไม่ได้มีการพูดคุยกับญาติ อาจจะมีการนัดนอกรอบหรือทำการแจ้งกับพยาบาลผู้ดูแลว่าถ้าญาติของผู้รับริการท่านนี้มาให้ทำการแจ้งว่าให้มาติดต่อกับแผนกกิจกรรมบำบัดเพื่อการพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และการทำความเข้าใจกับญาติให้มากยิ่งขึ้นในการดูแลผู้รับบริการ

Story Telling

กรณีศึกษาในครั้งนี้ช่วงแรกที่ได้เจอกันยังเป้นเพียงผู้รับบริการที่ให้การดูแลภายใต้การให้การรักษาของพี่นักกิจกรรมบำบัดในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง โดยที่เรามีหน้าที่ในการให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมต่าง ๆให้ครบตามกำหนดระยะเวลาที่พี่นักกิจกรรมบำบัดวางโปรแกรมไว้ พอได้เจอกันประมาณ 1 สัปดาห์ก็ได้กลายมาเป็นกรณีศึกษาเนื่องจากไม่มีผู้รับบริการท่านอื่นที่เข้ามาใหม่ในแผนก ในครั้งแรกที่ได้ทราบว่ากรณีศึกษาของตนเองนั้นเป็นผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังมา 4 ปีก็รู้สึกกังวลเนื่องจากไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไรและตัวผู้รับบริการเองก็ดูไม่สนใจในการทำกิจกรรมที่จะฟื้นฟูสภาพร่างกาย เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องหนึ่งในการสร้างความท้าทายตนเองคือการต้องสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้รับบริการเพื่อที่เขาจะสามารถมาทำกิจกรรมการฝึกด้วยความสนใจและเต็มใจ เทคนิคที่ให้เพื่อเพิ่มแรงจูงใจคือการให้ matter of fact แก่ผู้รับบริการเพื่อให้ผู้รับบริการได้เห็นว่าการฟื้นฟูที่ทำมาไม่ได้เสียเปล่าแม้ถึงจะมีการทำช่วงสั้นๆแต่ยังคงมีให้เห็นถึงการฟื้นฟูทีละเล็กทีละน้อย

พอผู้รับบริการได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในตนเองผู้รับบริการก็เริ่มที่จะสนใจและเปิดใจให้แก่ตัวดิฉันและการฟื้นฟูด้วยกิจกรรมที่ทำอยู่ในห้องฝึกแต่ละวัน ในแต่ละวันดิฉันพยายามคิดสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ๆที่ผู้รับบริการไม่เคยทำเพื่อการฟื้นฟูและการคงไว้ซึ่งความสามารถของผู้รับบริการอย่างเต็มที่ ในกิจกรรมการรักษาก็จะมีการให้ขยับร่างกายในการทำกิจกรรมเอง การใช้แรงของดิฉันในการฟื้นฟูและคงความสามารถของทักษะต่าง ๆรวมถึงการสอนเทคนิคที่จะทำให้ผู้รับบริการสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นในการทำกิจวัตรประจำวัน

ความท้าทายในกรณีศึกษานี้ที่เห็นได้ชัดเลยคือการท้าทายที่ต้องดึงแรงจูงใจและความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองของผู้รับบริการขึ้นมาให้ได้ในระหว่างการทำการฟื้นฟู

ความสุขของการได้ทำกรณรศึกษานี้คือความเปลี่ยนแปลงในตัวของผู้รับบริการที่เขาให้ความไว้วางใจเราในการทำกิจกรรมการรักษาโดยไม่แบ่งว่าเราเป็นเพียงนักศึกษาฝึกงาน ผู้รับบริการเต็มใจทำตามโปรแกรมการฝึกของเราและให้ความร่วมมือ ที่สำคัญคือการเปิดใจการพูดคุยเรื่องส่วนตัวของผู้รับบริการกับเรามากขึ้น

Etical Reasoning มาตรฐานการปฏิบัติการทางกิจกรรมบำบัด

รายการตรวจสอบ

ดัชนี/เครื่องบ่งชี้

ผลการประเมิน

มี

ไม่มี

มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ 2 ทักษะการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ




1.ทักษะการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ

1.1 มีการสร้างสัมพันธภาพให้ผู้รับบริการมีกำลังใจ ไว้วางใจและตระหนักถึงความสำคัญของการรับบริการทางกิจกรรมบำบัด

/


1.2 มีการฟังอย่างตั้งใจเพื่อค้นหาปัญหา ความเข้าใจ ความรู้สึกและอารมณ์ของผู้รับบริการ

/


1.3 มีการใช้ภาษาพูดที่ทำให้ผู้รับบริการรู้ เข้าใจปละมั่นใจในการปฏิบัติงานของนักกิจกรรมบำบัด

/


1.4 มีการสัมภาษณ์ประวัติและข้อมูลทางการแพทย์ของผู้รับบริการที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัด

/


1.5 มีการให้ความรู้ คำปรึกษาและคำแนะนำแก่ผู้รับบริการและผู้ที่ให้การช่วยเหลือดูแลผู้รับบริการ

/


2. ทักษะการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพกับผู้ร่วมงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

2.1 มีการสร้างสัมพันธภาพให้ผู้ร่วมงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจและปฏิบัติงานร่วมกับนักกิจกรรมบำบัดอย่างมีประาิทธิภาพ

/


2.2 มีการบันทึกข้อมูลทางกิจกรรมบำบัด เวชระเบียบ ใบส่งต่อ แบบประเมินและบันทึกผลความก้าวหน้าของผู้รับบริการ ใบรับริงการตรวจประเมินทางกิจกรรมบำัดและแผนการจัดการบริการทางกิจกรรมบำบัดในหน่วยงานต่างๆอย่างถูกต้อง ชัดเจน

/


2.3 มีการรำเสนอรายงานการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดและหลักฐานการร่สมอภิปรายใบที่ประชุม

/


2.4 มีการอภิปรายร่วมกับผู้ร่วมงานและผู้ที่เกี่ยวข้องถึงข้อมูลเฉพาะเรื่องของผู้รับบริการ ได้แก่ ภาษา วัฒนธรรม ทัศนคติต่อสุขภาพ พฤตินิสัย แรงจูงใจ ความสนใจ ความสามารถ ความเชื่อ เศรษฐานะ สภาพครอบครัว บ้าน และสิ่งแวดล้อม

/


มาตรฐานการปฏิบัติงานที่5 

ทักษะการปฏิบัติงานทางคลินิก




1.มีทักษะการสร้างกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด

1.1 มีการสังเกตสภาวะด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมของผู้รับบริการ

/


1.2 มีการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ประวัติ ปละการค้นข้อมูลเชิงคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับบันทึกเวชระเบียนทางการแพทย์เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาและระดับความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต

/


1.3 มีการเลือกวิธีการหรือเครื่องมือการตรวจประเมินที่สามารถสังเกตและวัดผลได้อย่างน่าเชื่อถือและพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์

/


1.4 มีการวางแผนการบำบัดโดยบูรณาการความรู้พื้นฐานและหลักฐานข้อมูลต่างๆ จาก ข้อ 1.1 - 1.3 

/


1.5 มีการบำบัดที่เหมาะสมกับปัญหา ความต้องการและระดับความสามารถของผู้รับบริการ โดยคำนึงถึงการมอบผู้รับบริการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตองค์รวม ผ่านการทำงานของร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม

/


1.6 มีการประเมินประสิทธิภาพการบำบัดและติดตามผลความก้าวหน้าของผู้รับบริการ

/


1.7 มีการวางแผนการจำหน่ายหรือส่งต่อหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการบำบัดให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา ความต้องการและระดับความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ

/


1.8 มีการประเมินดูแลจัดการเรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับวิธีการบำบัดรวมถึงวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้กับผู้รับบริการและสถานที่ให้บริการ

/


1.9 มีการบันทึกข้อมูลของผู้รับบริการในกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดข้างต้นอย่างเป็นระบบ

/




                                                             5923007 นางสาวชนาพร ตั้งสุวรรณ

หมายเลขบันทึก: 670292เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2019 04:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2019 04:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ปรีชญา สุวรรณจินดา 6323023

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากในคลาสเรียน : เริ่มแรกคือการได้อ่าน เรียนรู้และทำความเข้าใจในเคสที่เราได้รับ รู้จักscanning เนื้อหา จับใจความถึงความสำคัญ ตรงไหนคือจุดสำคัญ เพื่อนำมาต่อยอดในทักษะที่จะได้นำไปใช้ในตอนฝึกงาน เนื่องจากเรามีเวลาที่จำกัดและจำเป็นต้องทำงานกับเพื่อนร่วมงานสหวิชาชีพอื่นๆมากมาย การบรีฟเคส สรุปเคสที่เราได้เจอมาให้เข้าใจสั้นๆจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในตอนแรกฉันก็ยังทำได้ไม่ดีพอ อาจารย์ให้เวลา 1 นาที แต่ทำได้ไม่ดีไม่ใช่ว่าเราไม่เก่ง แต่นั่นเป็นจุดที่เราจะได้แก้ไขข้อผิดพลาด เรียนรู้ที่จะผิดเพื่อที่จะเก่งขึ้นในอนาคต ชอบที่อาจารย์ได้สอนว่าคนเราไม่มีใครperfect ในครั้งแรก ระหว่างทางที่จะนำไปสู่ความ perfect นั้นเต็มไปด้วยสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมากมาก ฉะนั้นจงรู้จักที่จะผิดพลาด

โจทย์ บรีฟเคสให้สั้นกระชับเข้าใจง่ายใน 1 นาที“ ผู้รับบริการเพศหญิง ชื่อบุญนาค อายุ 61 ปี มีภาวะleft hemiplegia มีอาการมานาน4 ปี ปัจจุบันต้องนั่งวีลแชร์ ความสามารถในการทำกิจกรรม self-care ส่วนใหญ่ independent หรือให้ความช่วยเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ยกเว้นในเรื่องของ transfer mobility ที่เป็น maximal assistant เรื่องการตอบสนองต่างๆดี สื่อสารโต้ตอบได้อย่างเหมาะสม ผู้รับบริการไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเองในเรื่องของความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆและไม่ชอบทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฝึก ชอบเหม่อลอย แต่สนใจในกิจกรรมใหม่ๆที่ตนเองชื่นชอบและเป็นคนเลือกเอง มีกิจกรรมที่ทำไม่ได้คือ leisure และ work เพราะขาดโอกาสในการทำเนื่องจากตนป่วยมานานและผู้รับบริการคิดว่าตนเองอายุเยอะแล้วคงทำไม่ได้ อาชีพเดิมเป็นเกษตรกร มีความสนใจในต้นไม้

นักกิจกรรมบำบัดให้ผู้รับบริการเลือกกิจกรรมที่ตนสนใจแต่ปรับโปรแกรมให้ยังคงความสามารถสูงสุดของผู้รับบริการ เช่น กิจกรรมต่อจิ๊กซอร์ รวมทั้งพัฒนาfunction ที่ยังทำไม่ได้ในเรื่องของ transfer mobility เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ “

ถัดไปคือได้เรียนรู้การให้เหตุผล TTM reasoning ที่ในตอนแรกอาจจะยังไม่เข้าใจ แต่อาจารย์ก็ช่วยให้คำแนะนำ อธิบาย จนมองเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น และในอนาคตฉันจะได้นำไปใช้ในการตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่เป้าประสงค์ได้อย่างถูกต้อง

Procedural reasoning : เราจะมีวิธีการอย่างไรที่จะสามารถให้ผู้รับบริการ transfer mobility จาก bed to w/c ได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัย

Interaction reasoning : ทำไมคุณถึงยังไม่เชื่อมั่นในตนเองในการทำกิจกรรมต่างๆทั้งที่ส่วนใหญ่คุณสามารถทำได้ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท