รายงานการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัดจากกรณีศึกษา


Case study: คุณนัทร (นามสมมติ)  อายุ 18 ปี Dx. Paraplegia due to SCI T8 AIS A


Diagnostic clinical reasoning

  • ด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์

จากการอ่านแฟ้มประวัติทางการแพทย์ ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยเป็น Paraplegia due to SCI T8 AIS A (Complete) (S14.109A, ICD10) เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 จากอุบัติเหตุมอเตอร์ไซต์ล้ม โดยมีอาการสำคัญคือ กล้ามเนื้อขาทั้งสองข้างอ่อนแรงและบกพร่องด้านการรับความรู้สึก

  • ด้านการวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด

จากการสังเกตผู้รับบริการเข้ามาในห้องกิจกรรมบำบัดโดยใช้ Standard wheelchair  ไม่สามารถขยับขาทั้งสองข้างได้และไม่รู้สึกเมื่อโดนสัมผัสบริเวณลำตัวส่วนล่างและขาทั้งสองข้าง

Occupational Disruption: ผู้รับบริการต้องดรอปเรียนเป็นเวลา 1 เทอมเพื่อพักรักษาตัว และจะกลับไปเรียนต่อในปีการศึกษาหน้า

Occupational Imbalance: ผู้รับบริการจำเป็นต้องเคลื่อนที่โดยใช้วีลแชร์แทนการเดินและจำกัดในการทำกิจวัตรประจำวันบางอย่าง ได้แก่ อาบน้ำ (Bathing/Showering) ผู้รับบริการไม่สามารถถูสบู่ให้ทั่วถึงได้ด้วยตนเอง, การแต่งตัว (Dressing) ผู้รับบริการไม่สามารถดึงกางเกงขึ้นจนสุดขณะใส่กางเกงได้ด้วยตนเอง, การขับถ่ายและทำความสะอาดหลังจากขับถ่าย (Toileting and Toileting hygiene) ผู้รับบริการจำเป็นต้องใส่แพมเพิส ในขั้นตอนทำความสะอาดและเปลี่ยนแพมเพิสต้องมีผู้ดูแลคอยให้ความช่วยเหลือและต้องสวนปัสสาวะวันละ 4 ครั้งตามเวลา

Procedural clinical reasoning

ได้ทำการประเมินเพื่อรวบรวมปัญหาได้ผลลัพธ์ ดังนี้

  • แบบประเมินช่วงของการเคลื่อนไหว (ROM) พบว่า LE  : Limited AROM by weakness
  • แบบประเมินกำลังกล้ามเนื้อ (MMT) พบว่า LE : Weakness both side
  • ประเมินความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ( Muscle tone) โดยการทำ Passive stretch พบว่า Mild spasticity of knee flexor
  • ประเมินการทรงตัวในท่านั่ง (Sitting balance) บนเตียง

ให้แรงต้านด้านซ้ายขวาผู้รับบริการสามารถต้านแรง : Good static sitting balance

ทำกิจกรรมหยิบลูกเทนนิสเอื้อมใส่ตะกร้าด้าหน้า, รับลูกเทนนิสจากด้านซ้ายขวา : Fair dynamic sitting balance

  • แบบประเมินการรับความรู้สึก (Sensory) Pain & Temperature พบว่า T9-S5 : Absent

                                                          Touch C2-T8 พบว่า T9 : Impair, T10-S5 : Absent                                                                                                                        Proprioceptive & Kinesthetic พบว่า LE : Absent

  • แบบประเมินสภาพบ้าน พบว่า
  • - มีธรณีประตูสูง 1 นิ้วบริเวณประตูบ้าน ทำให้ไม่สามารถเข็นWheelchair เข้าออกบ้านได้ด้วยตนเอง
  • - ไม่สามารถเปิดประตูมุ้งลวดหน้าบ้านได้ด้วยตนเอง
  • - ฟูกบนเตียงนิ่มเกินไปทำให้ย้ายตัวจากเตียงไปรถเข็น, จากรถเข็นไปเตียงลำบาก
  • - ความสูงของเตียง เมื่อนั่งข้างเตียงเท้าลอยจากพื้นเล็กน้อย
  • - มีพื้นต่างระดับ 2.5 นิ้วที่ห้องครัว ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมในห้องครัวได้

จากผลการประเมินข้างต้นจึงเลือกให้การรักษา โดยทำ Re-education + Deep pressure ที่บริเวณลำตัวส่วนล่างและขาทั้งสองข้างเพื่อกระตุ้นการรับความรู้สึก, นั่งหยิบลูกเทนนิสจากตระกร้าด้านข้างก้มลงใส่ตะกร้าด้านหน้า โยนรับลูกบอลใหญ่ เอื้อมมือรับลูกเทนนิสนำใส่ตระกร้าด้านข้าง เพื่อเพิ่ม Sitting balance, ทำ Passive stretching เพื่อลดอาการเกร็งของขา, ฝึกใส่กางเกงในท่านอน แนะนำอุปกรณ์ช่วย (Long-handled bath)ในการอาบน้ำ และแนะนำการปรับสภาพบ้านเพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด

การให้เหตุผลการปฏิสัมพันธ์เมื่อพบหน้ากรณีศึกษา ( Interactive Reasoning)

       ใช้ Therapeutic use of self เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้รับบริการ โดยการยิ้มแย้มแจ่มใส แสดงท่าทางเป็นมิตร ชวนพูดคุยเริ่มบทสนทนา ชวนพูดคุยในเรื่องที่ผู้รับบริการสนใจ และตั้งใจรับฟังสิ่งที่ผู้รับบริการพูด

       แนะนำผู้รับบริการเกี่ยวกับวิธีการทำ sensory re-education ที่บ้าน 

Narrative Reasoning

ผู้รับบริการเล่าให้ฟังว่า “ความต้องการคืออยากช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด”“ลำตัวตั้งแต่บริเวณสะดือลงไปไม่มีความรู้สึกเลยอาจชาๆบ้างบางครั้ง”, “คุณพ่อเป็นผู้ดูแลหลักขณะอยู่บ้าน หากวันไหนพ่อไม่ว่างคุณแม่จะมาอยู่ดูแลแทน”, “ตอนนี้ดรอปเรียนชั้นม.6 เทอม2 จะกลับไปเรียนอีกทีเทอมหน้า ใช้วีลแชร์นั่นแหละแต่ที่โรงเรียนมีลิฟท์ก็น่าจะสะดวกอยู่ กลับไปเพื่อนเรียนจบหมดแล้วแต่ว่าก็พอจะรู้จักรุ่นน้องอยู่”, เรื่องการทำกิจวัตรประจำวัน คุณพ่ออาบน้ำให้และในการเคลื่อนย้ายตัวเนื่องจากเตียงที่บ้านย้วบมากย้ายตัวไม่สะดวก, ปกติใส่แพมเพิสมีคุณพ่อช่วยใส่ ต้องสวนปัสสาวะเป็นเวลาประจำทุกวันสามารถสวนปัสสาวะได้ด้วยตนเองมีคุณแม่ช่วยเตรียมอุปกรณ์ให้”

การให้เหตุผลเงื่อนไขเมื่อตัดสินด้วยเหตุผล จินตนาการ และหยั่งรู้ตนเอง เพื่อกำหนดบริบทปัจจุบัน-อนาคตที่เหมาะสมกับสถานการณ์ชีวิตจริงของกรณีศึกษา Conditional Reasoning

ใช้กรอบอ้างอิง PEOP ในการคำนึงถึงผู้รับบริการแบบองค์รวม เพื่อให้เข้าใจผู้รับบริการมากขึ้น ดังนี้

    Person:   ผู้รับบริการเป็นวัยรุ่นเพศชาย อายุ 18 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Paraplegia due to SCI T8 AIS A ยิ้มแย้มแจ่มใสให้ความร่วมมือขณะฝึกดีมาก

    Environment:   บ้านปูนชั้นเดียวมีโรงรถอยู่ด้านข้าง บริเวณรอบๆบ้านเป็นพื้นปูนเรียบ บริเวณหน้าประตูทางเข้าเป็นทางลาด มีธรณีประตูสูง 1 นิ้ว คุณพ่อต้องช่วยเข็นประตูเป็นบานเลื่อนกระจกและมีมุ้งลวด ผู้รับบริการสามารถเลื่อนประตูกระจกและประตูมุ้งลวดได้เอง ความกว้างประตูสามารถเข็นWheelchairเข้าออกได้

ภายในบ้านไม่มีสิ่งกีดขวางบริเวณทางเดิน สามารถเข็น Wheelchair ได้ด้วยตนเอง มีธรณีประตูบริเวณห้องน้ำ 2-3 ซม., มีพื้นต่างระดับบริเวณห้องครัว 2.5 นิ้ว   

ปัจจุบันผู้รับบริการไม่ได้นอนในห้องนอนตนเองเนื่องจากเตียงเตี้ยเกินไป จะนอนบนเตียงปรับระดับได้มีราวจับข้างเตียงที่กลางบ้านแทน ฟูกบนเตียงนิ่มไปทำให้ย้ายตัวจากเตียงไปรถเข็น, จากรถเข็นไปเตียงลำบากต้องมีคนช่วย ความสูงของเตียงขณะนั่งข้างเตียงเท้าลอยจากพื้นเล็กน้อย  

ประตูห้องน้ำกว้างพอดีกับ Wheelchair เเต่ห้องน้ำแคบไม่สามารถหมุน Wheelchair ได้ ไม่มีราวจับ ใช้ Commode chair ในการเข้าห้องน้ำ ผู้รับบริการนั่งอาบน้ำโดยใช้ฝักบัว

สมาชิกในบ้าน ประกอบด้วย คุณพ่อ, คุณแม่, พี่สาว, ผู้รับริการ, แมวของผู้รับบริการ

     Occupation:
ผู้รับบริการดรอปเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เทอม2เนื่องจากหยุดพักรักษาตัว และจะกลับไปเรียนอีกที่ในปีการศึกษาหน้า ผู้รับบริการจำเป็นต้องเคลื่อนที่โดยใช้วีลแชร์แทนการเดินและจำกัดในการทำกิจวัตรประจำวันบางอย่าง ได้แก่ อาบน้ำ (Bathing/Showering), การแต่งตัว (Dressing), การขับถ่ายและทำความสะอาดหลังจากขับถ่าย (Toileting and Toileting hygiene)

และใช้ Rehabilitation For return to study

Pragmatic Reasoning

- จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับพี่ CI ได้รับคำแนะนำด้านการวางแผนการรักษาเพิ่มเติมว่า “ควรตั้งเป้าประสงค์ที่เชื่อมกับบริบทการใช้ชีวิตจริงๆของผู้รับบริการ เช่น ฝึกใส่กางเกงควรฝึกแบบใช้กางเกงยีนส์ด้วย เนื่องจากผู้รับบริการยังเป็นวัยรุ่น และควรฝึกเคลื่อนย้ายตัวบนชักโครกด้วย”

- จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ ได้รับคำแนะนำด้านการรักษาเพิ่มเติม ดังนี้

   1.ควรประเมินการทรงตัวในท่านั่ง (Sitting balance) บนวีลแชร์ด้วย เนื่องจากผู้รับบริการต้องเคลื่อนไหวโดยใช้วีลแชร์เป็นหลัก

   2.แนะนำให้ใช้ MI เพื่อดูด้าน mental ของผู้รับบริการ

   3.แนะนำให้เอา Sport wheelchair มาให้ผู้รับบริการฝึกจริงเลย เนื่องจากผู้รับบริการอยากจะเปลี่ยนไปใช้ Sport wheelchair ในอนาคต

   4.ควรให้ครอบครัวของผู้รับบริการเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น


    บทสรุปความก้าวหน้าของกรณีศึกษานี้

              คุณนัทร (นามสมมติ) อายุ 18 ปี   Dx.Paraplegia due to SCI T8 วันที่ 23 เม.ย.62 เวลา 13.00-15.00 น.

    S: วัยรุ่นชายมีเวรเปลมาส่งหน้าห้องฝึก เข็น Standard wheelchair เข้ามาในห้องฝึกด้วยตนเอง มีลักษณะเงียบขรึมและแสดงท่าทางเขินอาย เมื่อชวนคุยจะถามคำตอบคำ ต้องการช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด

    O: Paraplegia, ต้องช่วยยกตัวขณะ Transfer จาก wheelchair ไปเตียง

    A: ประเมิน Sensory พบว่า Pain & Temperature C2-T8 : Intact, T9-S5 : Absent

                                        TouchC2-T8 : Intact, T9 : Impair, T10-S5 : Absent

                                         Proprioceptive & Kinesthetic UE : Intact, LE : Absent

        ประเมิน Rom พบว่า UE: Normal AROM, LE  : Limited AROM by weakness

        ประเมิน Muscle tone โดยการทำ Passive stretch : Mild spasticity of knee flexor

        ให้กิจกรรมเอื้อมหยิบลูกเทนนิสจากตะกร้าด้านซ้าย, ขวา ใส่ลงในตระกร้าด้านหน้า 2 เซต เพื่อฝึก Sitting balance ขณะทำกิจกรรมต้องจับไหล่ช่วยpt.ดึงตัวเองขึ้นหลังจากก้มลงใส่ลูกเทนนิส

        ให้pt.นั่งถือตระกร้ารับลูกเทนนิสที่นักศึกษาโยนให้จากด้านซ้าย, ขวา 2 เซต เพื่อฝึก Sitting balance ขณะทำกิจกรรมต้องมีคนช่วยนั่ง support ด้านหลัง, pt.ดึงตัวกลับมาที่แกนกลางช้า

        ทำ Sensory re-education 15 นาที

    P: ประเมิน MMT, ส่งเสริม Sitting Balance, Sensory re-education

              คุณนัทร (นามสมมติ) อายุ 18 ปี   Dx.Paraplegia due to SCI T8 วันที่ 17 พ.ค. .62 เวลา 13.00-15.00 น.

    S: วัยรุ่นชายมีเวรเปลมาส่งหน้าห้องฝึก สามารถเข็น Standard wheelchair เข้ามาในห้องฝึกด้วยตนเอง ยิ้มแย้ม, หัวเราะ, ร่าเริงแจ่มใส

    O: Paraplegia, ต้องคอยระวังขณะ Transfer

    A: ส่งเสริม Sitting Balance โดยการให้กิจกรรม ดังนี้

    • โยนรับลูกบอลใหญ่ 100 ครั้ง 2 เซต พบว่าpt. สามารถนั่งได้ดีขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมีคน support ข้างหลัง
    • ให้กิจกรรมเอื้อมหยิบลูกเทนนิสจากตะกร้าด้านซ้าย, ขวา ใส่ลงในตระกร้าด้านหน้า ขณะทำกิจกรรม pt. สามารถดึงตัวเองขึ้นมาได้โดยการช่วยเพิ่งเล็กน้อย
    • นั่งใช้สองมือรับลูกเทนนิสจากทิศทางต่างๆใส่ตะกร้าด้านข้าง 4 เซต พบว่า pt. สามารถทำกิจกรรมได้ต่อเนื่อง 4 เซตโดยไม่มีอาการล้า, สามารถดึงตัวกลับมายังแกนกลางได้ด้วยตนเอง

        ให้กิจกรรม push up 10 ครั้งค้างไว้ครั้งละ 10 วินาที 3 เซต เพิ่ม Muscle strength ของแขนทั้งสองข้าง เพื่อสามารถยกตัวขณะ Transfer ได้ พบว่า pt.สามารถทำกิจกรรมได้สำเร็จ มีอาการล้าหลังจากทำกิจกรรมเสร็จ

        ทำ Sensory Education 15 นาที

        แนะนำการปรับสภาพบ้าน

    P: Improve mobility on wheelchair, Sensory re-education


    Story Telling
              ความท้าทายของกรณีศึกษานี้คือ การเข้าหาเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการ เพราะหลังจากอ่านแฟ้มประวัติแล้วพบ่วาผู้รับบริการเป็นวัยรุ่น ฉันคิดว่าเราน่าจะสนิทกันได้อย่างรวดเร็วเพราะวัยใกล้เคียงกัน แต่ตอนเจอกันครั้งแรกมันแตกต่างจากที่คิดไว้ ผู้รับบริการเงียบขรึมมาก ถามคำตอบคำ ทำให้บรรยากาศในห้องฝึกดูเคร่งเครียดไม่ค่อยผ่อนคลาย บวกกับฉันเป็นคนที่ชวนคุยไม่เก่งและมีอาการประหม่าที่เจอกันครั้งแรก ทำให้การพบกันครั้งแรกสำหรับฉันไม่ค่อยน่าประทับใจสักเท่าไหร่ แต่หลังจากวันนั้นฉันก็พยายามยิ้มแย้ม ชวนคุย หาเรื่องคุยจนทำให้บรรยายกาศภายในห้องฝึกมีความผ่อนคลายมากขึ้น สัมพันธภาพระหว่างฉันกับผู้รับบริการเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ ผู้รับบริการเริ่มเปิดใจเล่าเรื่องเกี่ยวกับตนเองและครอบครัวให้ฟังมากขึ้น ทำให้ได้เห็นถึงบริบทและสิ่งแวดล้อมของเขามากขึ้นไปด้วย ซึ่งฉันคิดว่าข้อมูลเหล่านี้จำเป็นอย่างมากในการนำไปวางแผนการรักษาต่อไป

              ตั้งแต่วันแรกของการฝึกจนถึงวันสุดท้ายที่เจอกัน ผู้รับบริการมีความก้าวหน้าในการฝึกเป็นอย่างมากและบรรลุตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ ฉันภูมิใจมากทั้งกับตัวเองและกับตัวผู้รับบริการเองที่ไม่ยอมแพ้ ฉันประทับใจในความตั้งใจและมุ่งมั่นของผู้รับบริการในการฝึกมากเพราะทุกครั้งที่ฉันให้การรักษาหรือให้ทำกิจกรรมใดๆก็ตาม ผู้รับบริการก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือทำเสมอ พอเห็นผลลัพธ์ที่มันเกิดขึ้นแล้วรู้สึกดีมากที่ได้นำความรู้จากห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงแล้วผู้รับบริการดีขึ้นจริงๆ

              สุดท้ายนี้ฉันคิดว่ายังคงต้องพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นอีกในทุกๆด้าน เช่น การเข้าหาผู้รับบริการ, การวางแผนการรักษาให้ครอบคลุมกับปัญหามากกว่านี้ เป็นต้น และรู้สึกขอบคุณกรณีศึกษานี้เป็นอย่างมากที่สอนอะไรให้ฉันมากมายซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถพบเจอได้ในห้องเรียน  ขอบคุณมากๆเลยนะคะ :)

    นศ.กบ.ชนกพร  มากเมือง



    หมายเลขบันทึก: 669856เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2019 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2019 00:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (1)

    (ขออนุญาตรุ่นพี่ในการเม้นบทความนะคะ)

    จากการที่ได้เรียนรู้ในคาบเรียน คือการได้เรียนรู้วิธีการบรีฟเคสภายในเวลา 1 นาที โดยสิ่งที่ได้ฝึกคือการที่เราต้องทำการสรุปในประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้คนที่ได้ฟังเข้าใจ ในครั้งแรกที่ได้ลองบรีฟเคสนั้น ได้มีการพูดที่ละเอียดเกินไปในบางเรื่อง ทำให้ไม่สามารถพูดสรุปให้ทันภายใน 1 นาที ครั้งต่อมาจึงได้ลองที่จะตัดประโยคที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องในการบรีฟออกบางส่วนจึงจะสามารถพูดให้ทันภายใน 1 นาที โดยสิ่งที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติม คือเราต้องพูดให้เสียงดัง ฟังชัดเจนในทุกประโยค และต้องมีการใส่ความเป็นกิจกรรมบำบัดเข้าไปในการสรุปตัวเคสด้วย เช่น สิ่งที่นักกิจกรรมบำบัดจะทำการฝึกหรือการบำบัดดูแลว่าจะทำอย่างไรบ้าง ผู้รับบริการมีความต้องการทำกิจกรรมอะไร สิ่งไหนคือสิ่งที่ผู้รับบริการให้คุณค่า เป็นต้น โดยในเคสของคุณนัทรนั้น สามารถสรุปเคสได้ดังนี้ค่ะ

    “ผู้รับบริการชื่อคุณนัทร อายุ 18 ปี เป็น Paraplegia SCI ระดับ T8 วินิจฉัยทางการแพทย์เป็นกล้ามเนื้อขาทั้ง 2 ข้างอ่อนแรงและบกพร่องด้านการรับความรู้สึก การวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด ใช้ Standard wheelchair ไม่สามารถขยับขาทั้งสองข้างได้และไม่รู้สึกเมื่อโดนสัมผัสบริเวณลำตัวส่วนล่างและขาทั้งสองข้าง ความสามารถในการทำกิจกรรม ADL/IADL ไม่สามารถทำกิจกรรมได้เองในหลายด้าน เช่น Bathing, Dressing, Tolieting and Tolieting hygiene ในส่วนของ Environment ไม่ค่อยเหมาะสม ที่บ้านยังมีธรณีประตูและพื้นต่างระดับอยู่ ความต้องการของผู้รับบริการคือ อยากช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด โดยการฝึกทางกิจกรรมบำบัดนั้นจะทำการฝึก sitting balance ของร่างกาย โดยการทำกิจกรรมโยนรับลูกบอล กิจกรรมเอื้อมหยิบลูกเทนนิสจากตะกร้าทั้งซ้าย ขวา ใส่ตะกร้าด้านหน้า ฝึกการเพิ่ม muscle strength ของแขนโดยการทำกิจกรรม push up เพื่อจะสามารถยกตัวขณะ transfer ได้ และมีการใช้หลัก Therapeutic Use of Self ในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการให้ดีขึ้นค่ะ”

    ต่อมาได้ฝึกการตั้งคำถาม Three-Track Mind -Procedural เป็นการตั้งคำถามที่เน้นไปในการถามทีมสหวิชาชีพถึงเคสของผู้รับบริการ (How-To) ที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติมคือ การตั้งคำถามต้องมีความชัดเจน ไม่ตั้งคำถามที่กว้างเกินไป ถามถึงส่วนของจุดมุ่งหมายของกิจกรรมที่จะทำ ว่าต้องการทำกิจกรรมอะไร ฝึกด้านอะไร เน้นร่างกายส่วนไหน อย่างคำถามในตอนแรกนั้น ฉันได้ตั้งว่า “การฝึก muscle strength ของคุณนัทรต้องใช้เวลาอีกประมาณเท่าไหร่จึงจะสามารถทำ ADL/IADL เองได้โดยไม่ต้องมีผู้ช่วย” ซึ่งคำถามนี้เป็นคำถามที่กว้างเกินไป ไม่สามารถเน้นประเด็นที่ต้องการได้ และหลังจากที่ดิฉันได้เรียนรู้จากอาจารย์จนสามารถตั้งคำถามที่มีประสิทธิภาพขึ้นได้จึงได้คำถามที่ว่า “ การฝึก transfer จากรถเข็นไปชักโครก จะต้องใช้การฝึก Upper extremity muscles ของแขนทั้งสองข้าง ใช้เวลานานเท่าไหร่ ผู้รับบริการจึงจะสามารถทำได้เอง โดยไม่ต้องมีผู้ช่วย”-Interactive เป็นการตั้งคำถามที่เน้นการถามผู้รับบริการในด้านของความคิด การให้คุณค่า ความรู้สึก โดยคำถามนั้นจะต้องไม่เป็นการบั่นทอน หรือถามคำถามที่จะทำให้ผู้รับบริการรู้สึกไม่ดีต่อคำถามนั้นๆ โดยคำถามที่ฉันได้ตั้งไว้คือ “ผู้รับบริการมีความพร้อมไหมคะ ที่จะมารับการบำบัดกับเรา” โดยที่เราจะต้องใช้น้ำเสียงที่เป็นมิตร มีความสดใสเพื่อสร้างเสริมกำลังใจให้ผู้รับบริการ และทำให้ผู้รับบริการพร้อมที่จะรับการบำบัดกับเราด้วยค่ะ

    โดยจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาในคาบเรียนนั้น นับเป็นสิ่งที่สามารถต่อยอดและพัฒนาได้อีกมากในอนาคตข้างหน้า นับเป็นประโยชน์ของการที่จะเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่ดีต่อไป จึงอยากขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่ได้ชี้แนะในคาบเรียนนี้เป็นอย่างมากค่ะ ขอบคุณค่ะ6323026 พิมพ์ณดา

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท