สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนราชบุรี จัดอบรมหลักสูตรผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS


วันที่ 1-3 กันยายน 2562 ที่ห้องประชุมคณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนราชบุรี ได้จัดอบรมหลักสูตรผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS โดยมีเกษตรกรและ Young Smart Farmers หัวใจอินทรีย์ในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดสมุทรสงคราม เข้าร่วมอบรมจำนวน 40 คน โดยมี ดร. อาคม เจริญสุข รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เป็นเจ้าภาพและเป็นประธานเปิดการอบรม

          ดร.อาคม เจริญสุข รองอธิการบดี กล่าวแสดงความยินดีที่เห็นเกษตรกรหัวใจอินทรีย์โดยเฉพาะกลุ่ม Young Smart Farmer ในจังหวัดราชบุรี ได้ร่วมมือกันขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะทำให้คนราชบุรีได้เข้าถึงอาหารปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ และแม้แต่ตัวท่านเองก็เลือกหาอาหารที่เป็นอินทรีย์เท่าที่จะสามารถจัดหาได้เพื่อบริโภค การพัฒนาที่ผ่านมามุ่งเน้นที่การเพิ่มผลผลิต มีการใช้สารเคมีมากเกินไปจนปัจจุบันกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเราเอง จะเห็นได้จากตัวเลขผู้ป่วยโรคมะเร็งจากหลายสำนัก จึงมีความจำเป็นมากที่พวกเราจะต้องร่วมกันฝ่าวิกฤติอาหารที่ไม่ปลอดภัยด้วยการผลิตแบบอินทรีย์ได้ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง พร้อมขับเคลื่อนร่วมกับพี่น้องเกษตรกร กับสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนราชบุรีและพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

          นายเดชไชยพัฒน์ มูลทองชุน ประธานสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนราชบุรีกล่าวว่าในพื้นที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดไกล้เคียงเป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์เป็นจำนวนมาก แม้ว่าพื้นที่บางส่วนทำเกษตรกรรมที่ไม่ใช้สารเคมี แต่ก็ไม่สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรอินทรีย์ได้ การพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคเกษตรกรรม และภาคธุรกิจ ทำให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าสู่กระบวนการรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีต้นทุนที่ไม่สูงนัก ภาครัฐก็สามารถร่วมขับเคลื่อนได้ และสามารถสร้างความเชื่อมั่นในผลผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองที่จะออกไปสู่ผู้บริโภคได้ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS (Sustainable Development Goals Participatory Guarantee System) เป็นระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมหนึ่งในหลายมาตรฐานที่มีอยู่ในประเทศไทย เป็นการพัฒนาโดยใช้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยองค์การสหประชาชาติและระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมซึ่งออกแบบโดย IFOAM มาประสมและปรับให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย กลายเป็นมาตรฐาน SDGsPGS ที่มีโมเดลการพัฒนาตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตลอดจนการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เพื่อสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ ใช้หลักการบริหารในรูปแบบ "พื้นที่เป็นตัวตั้ง จัดการตนเอง รัฐหนุนเสริม"

http://www.clinictech.most.go.th/online/organicnet/blog_view.asp?blogid=660
คำสำคัญ (Tags): #อินทรีย์#pgs
หมายเลขบันทึก: 667999เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2019 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2019 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท