วัยเด็กที่ไกลบ้าน


วัยเด็กเป็นช่วงเวลาที่ต้องเต็มไปด้วยความสุขและความอบอุ่นซึ่งผมก็ภาวนาให้วัยเด็กของทุกคนเป็นอย่างนั้น...

     เมื่อผมอายุได้ 7 ขวบมีเหตุการณ์สะเทือนใจที่ทำให้ผมต้องเป็นเด็กกำพร้าพ่อและต้องอาศัยอยู่กับพี่น้องอีก 4 คนโดยมีแม่เป็นเสาหลักของครอบครัวแทน ทำให้ความเศร้าและความลำบากเข้ามาครอบคลุมครอบครัวเรา 

     ผมในเวลานั้นต้องการให้บททดสอบนี้เป็นบทเรียนให้ตัวเองเติบโตมากขึ้นโดยขอทำทุกวิถีทางเพื่อเป็นการแบ่งเบาความยากลำบากของแม่ให้ได้ แม้ท่านไม่ต้องการให้ผมคิดถึงเรื่องนั้นเลยก็ตาม แต่ผมก็ไม่ล้มเลิกความพยายามของตนเองจนมารู้อีกทีผมก็ตัดสินใจไกลจากบ้านไปอยู่ที่มูลนิธิเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งซึ่งการตัดสินใจในครั้งนั้นก็เพื่อแบ่งเบาภาระทางการเงินของครอบครัว
     ด้วยกับวัยอายุ 8 ขวบ การไกลจากบ้านและชีวิตที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับครอบครัวทำให้ผมสับสนกับการตัดสินใจของตนเอง จนทำให้การปรับตัวในช่วงแรกเต็มไปด้วยความเศร้า กินไม่ค่อยได้ นอนไม่ค่อยหลับแต่ก็ยังสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างปกติเหมือนกับเด็กทั่วไปได้แต่ภายในใจก็ยังต้องต่อสู้กับความรู้สึกเหล่านั้นอยู่ แต่ถึงอย่างไรการตัดสินใจในครั้งนั้น มันก็ทำให้ผมได้เรียนรู้รสชาติของชีวิตเพิ่มมากขึ้น

ในฐานะที่ผมได้เรียนวิชาหลักการพื้นฐานของกิจกรรมบำบัด ผมเลยลองวิเคราะห์ประสบการณ์วัยเด็กในครั้งนั้นตามหลัก PEOP model ดู

     PEOPmodel

P (Person)
- เด็กอายุ 7-8 ขวบ
- มีความรู้สึกเศร้าสับสนและกล้าๆกลัวๆ
- มีความพยายามที่จะช่วยเหลือเท่าความสามารถที่ทำได้
- มีความรู้สึกไม่อยากอาหารและนอนไม่ค่อยหลับ
E (Environment)
- กำพร้าบิดา
- อาศัยอยู่กับแม่และพี่น้องในช่วงแรก
- อาศัยอยู่มูลนิธิเด็กกำพร้าไกลจากบ้าน
- ฐานะปานกลางค่อนข้างลำบากในช่วงแรกของการปรับตัวหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจ
- มีแม่คอยให้คำปรึกษา
O (Occupation)
- ลูกชาย
- นักเรียน
P (Performance)
มีความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างปกติแต่ไม่มีความมั่นคงในด้านความรู้สึก

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 667145เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2019 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2019 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ปรับ Occupation หรือ Living Tasks/Activities และ Performance อีกนิดจะดีเยี่ยมO: กิจกรรมการดูแลตนเองจากบ้านมามูลนิธิเด็กกำพร้า P: P1 มีความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ P2 มีความรู้สึกไม่มั่นคงในการปรับตัว แต่ได้รับคำปรึกษาจากแม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท