จากงานวิจัยวัดในจังหวัดลำพูนที่ปรากฎชินกาลมาลีปกรณ์ตอน.วัดลมักการาม(วัดกู่ละมัก ปัจจุบันคือวัดรมณียาราม) โดยอาจารย์สุภัชชา.พันเลิศพาณิชย์
วัดมูลการาม (วัดกู่ละมัก ปัจจุบันคือวัดรมณียาราม) เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ประวัติในปี พ.ศ. ๑๒๐๖ พระนางจามเทวี ได้เสด็จขึ้นเรือมาตามแม่น้ำปิงตามคำเชิญของ พระฤๅษีวาสุเทพ เพื่อขึ้นครองเมืองหริภุญชัย เมื่อมาถึงท่าน้ำชื่อ เจียงตอง (ปัจจุบันอาจเป็นอำเภอจอมทอง) พระนางจึงหยุดพักลี้พล ณ.ที่นั้นและได้ตรัสกับนายธนูผู้ขมังเวทย์ให้ยิงธนูเพื่อหาภูมิประเทศที่เป็นชัยภูมิวิเศษที่จะสร้างวัด โดยที่พระนางเจ้าได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า หากลูกธนูไปตก ณ ที่แห่งใดจะให้สร้างองค์มหาเจดีย์ และวัด ณ ที่แห่งนั้น
ดังนั้น นายธนูผู้มีพระเวทย์ก็ยิงลูกธนูหันหัวศรมุ่งตรงมาทางทิศเหนือ และเป็นที่ประหลาดอัศจรรย์ใจเมื่อลูกธนูพุ่งขึ้นสู่อากาศจากจุดที่ยิงจากเจียงตอง ลูกธนูพุ่งมาตามแรงอธิษฐานของพระนางเจ้าจาเทวี ซึ่งเมื่อนายธนูได้ติดตามค้นหาลูกธนูที่ยิงมานั้น ก็ได้พบว่าตกมายัง ณ จุดที่สร้างองค์เจดีย์กู่ละมัก และ เมื่อได้มีการสร้างองค์เจดีย์เสร็จแล้ว ได้นำเอาพระธาตุของพระพุทธเจ้าซึ่งนำมาจากกรุงละโว้บรรจุไว้ภายในองค์มหาเจดีย์ และให้สร้างวัดไว้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมจำพรรษาของพระสงฆ์ องค์เจ้าและสามเณรที่ได้อาราธนามาจากกรุงละโว้
วัดกู่ละมัก ถูกทิ้งให้รกร้างไประยะหนึ่งต่อมาเมื่อมีพระมหาเถระจากเมืองอื่นเดินทางมาก็ได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "รมณียาราม" แต่จากคำบอกเล่าของชาวบ้านสมัยก่อนจะเรียกว่า วัดกู่ละมัก ซึ่งสันนิษฐานว่าคำว่า "ละมัก" อาจแผลงมาจากคำว่า "ลัวะ-ละว้า" เพราะพบหมู่บ้านของชาวลัวะถัดจากวัดนี้ข้ามแม่น้ำกวงไปทางทิศตะวันออกจำนวน ๒-๓ หลัง
ส่วนในชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวไว้เพียงว่า
“พระนางจามเทวีทรงอัญเชิญพระปฏิมาหินดำจากเมืองลวปุระ มาครองราชย์สมบัติในนครหริภุญชัยเมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว๑,๒๐๐ ปี และพระนางทรงโปรดให้สร้างวัดลมักการาม ในเวลาที่พระนางบรรลุถึง ลมักกัฏฐานแล้วประดิษฐานพระปฏิมาหินดำนั้นไว้ในวัดลมักการามนั้นอาศัยเหตุนั้น เดี๋ยวนี้วัดนั้นเรียกกันว่าอารัทธพุทธาราม”
ในพงศาวดารโยนกว่าวัด วัดมูลการามคือ วัดละโว้เมืองลำพูนไชย ชาวลำพูนเรียกว่า วัดกู่ลมัก ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อใหม่เรียกว่า วัดรัมณียาราม คำว่า ลมัก บาลีหรือสันสฤตเขียนเป็น ลมก แปลว่า ชู้หรือคู่รัก พิจารณาดูความแล้วไม่เหมาะสมกับเรื่อง ในต้นฉบับใบลานเดิม )
ไม่มีความเห็น