งานวิจัยสู่ชินกาลมาลีปกรณ์ฉบับคำกลอนตอน. สุวรรณเจดีย์หรือปทุมวดีเจดีย์โดยอาจารย์สุภัชชา.พันเลิศพาณิชย์


ด้วยหัวใจที่นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะจากงานวิจัยสู่ชินกาลมาลีปกรณ์ฉบับคำกลอนตอน.สุวรรณเจดีย์หรือปทุมวดีเจดีย์โดยอาจารย์สุภัชชา.พันเลิศพาณิชย์

ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง


สุวรรณเจดีย์ หรือปทุมวดีเจดีย์
ลักษณะที่ ก่อสร้างมีเห็น เป็นไฉน
เหมือนเจดีย์ กู่กุด ใช่อื่นไกล
องค์เจดีย์ใช้ อิฐศิลาแรง

ภายในมี พุทธรูปดินเผา ท่านยืนอยู่
สังเกตดู มีเห็น เป็นบางแห่ง
ลงรักปิดทอง อย่าเคลือบแคลง
เหลือให้เห็น บางแห่ง เท่าที่มี

รูปเจดีย์ รูปองค์ ทรงปราสาท
ชื่อลือเลื่อง เก่งกาจ พระชินสีห์
คือพระเปิม อยู่ใน สุวรรณเจดีย์(พระเนื้อดิน)
คือตำนาน ที่มี พระพิมพ์เมืองลำพูน

ชินกาลมาลีปกรณ์ เขียนสุวรรณเจดีย์ ไว้เพียงว่า
พระเจ้าอโสกธรรม ราชา ท่านเกื้อกูล
เผยแพร่พระบรมธาตุศาสดา เมื่อไม่ให้ สิ้นสูญ
สร้างบุญ ค้ำจุน พระศาสนา สืบต่อไป

หลังจากนั้นผ่านมา ๑๓๘๓ ปี
มีพระราชา ที่ขึ้น ครองเมืองใหม่
คือพระเจ้าอาทิตตะ เป็นราชา หาใช่ใคร
ครองราชย์ ได้๑๖ปี ที่นคร(นครหริปุญชัย)

(พระชินสีห์คือพระเปิมเนื้อดินที่มีพุทธคุณด้านคงกระพันชาตรี,คุ้มครองภัยอันตรายต่างๆซึ่งกรุเก่าแก่ที่สุดอยู่ที่วัดดอนแก้วจ.ลำพูน)

พระเจ้าอาทิตตะราชา ทรงสร้าง พระเจดีย์
ชื่อนามมี พระธาตุหริปุญชัย ไว้เป็น อนุสรณ์
สมัยพระเจ้ามังราย บูรณะใหม่ ไม่เหมือนก่อน

ปฎิสังขรณ์ รูปปราสาท เปลี่ยนไป เป็นทรงกลม

พระศาสดาปรินิพพาน ได้ ๑๖๐๗ ปี
พระอัครมเหสี พระเจ้าอาทิจทรงสร้างสม
พระนางปทุมวดีเทวี นามนี้ ขอชื่นชม
ทั้งสวยสม งดงาม ในความดี

พระองค์ ทรงสร้างไว้ เราควรรู้
พระเจดีย์ปราง เป็นที่อยู่ บรรจุพระชินสีห์
สถูปนั้นจึงได้ชื่อสุวรรณ เจดีย์(ปทุมวดีเจดีย์)
เพราะพระนางปทุมวดีเทวี สร้างไว้ ในลำพูน

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง และสถานที่ในร่ม
ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยืน และสถานที่กลางแจ้ง
ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง


หมายเลขบันทึก: 667144เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2019 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2019 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท