สถาบันการเรียนรู้เพื่อจัดการตนเอง


.เป้าหมายของการสร้างฝาย ไม่ใช่น้ำ ไม่ใช่ฝาย แต่เป้าหมายคือคน คือสังคม คือการเอื้ออาทร คือระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ในชุมชน เกิดประชาธิปไตยในชุมชน

  โมเดลฝายมีชีวิต

จากปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง เป็นผลกระทบต่อเกษตรกรอย่างต่อเนื่องทุกปี และประเด็นทรัพยากรและสิ่ง

แวดล้อม ดิน น้ำ ป่าก็เป็นหนึ่งในห้าประเด็นของแผนยุทธศาสตร์ภาคประชาชน  ที่ขับเคลื่อนโดยขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดของ

พัทลุง ทำให้คณะทำงานต้องนั่งถกแถลงกันจนได้ข้อยุติว่า จะต้องสร้างฝายมีชีวิต เพื่อพิชิตภัตพิบัติจากน้ำ ......

.ทางทีมงานจึงได้เดินทางไปหากูรูผู้รู้เรื่องฝาย  ณ.สถาบันการเรียนรู้เพื่อจัดการตนเอง ที่อาศรมของ ดร.ดำรงค์ โยธารักษ์ 

ที่จังหวัด นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่19 กรกฎาคม 2562  ซึ่งทางดร.ดำรงค์ ได้ถอดระหัสเรื่องฝายมีชีวิตให้ฟังว่า ....


.เป้าหมายของการสร้างฝาย

ไม่ใช่น้ำ 

ไม่ใช่ฝาย 

แต่เป้าหมายคือคน 

คือสังคม

คือการเอื้ออาทร 

คือระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ในชุมชน 

เกิดประชาธิปไตยในชุมชน

เครื่องมือการทำฝายมีชีวิต ต้องใช้หลัก 3 ขา นำพาฝายมีชีวิต......


บ้านวอญ่า 18 สค62

หมายเลขบันทึก: 665799เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2019 03:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2019 04:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การสร้างฝายทำให้คนมาร่วมมือกัน สามัคคีกัน อย่างอื่นจะตามมาค่ะ

ฝายชะลอน้ำต่างกับอ่างเก็บน้ำเพราะเป็นการเก็บน้ำไว้ในดิน ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพยังคงอยู่และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

สวัสดีครับคุณแก้ว นอกจากงานด้านสุขภาพแล้วงานด้านทรัพยกรและสิ่งแวดล้อมก็รุกในชุมชนปกป้องฐานทรัพยากรชุมชนเพื่อรักษาส่งมอบลูกหลาน

ดรดำรงค์ พี่ชายของคุณเดชา ไฟฟ้า บล็อกเกอร์ โกทูโนพอมาทำเรื่องฝายได้มีโอกาสคุยกันบ่อยขึ้น เพื่อขอคำแนะนำท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท