beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ขุมความรู้ : การทำให้ผึ้ง 2 ชนิดอยู่ด้วยกัน


เราทำได้ครับ แต่ว่าวิธีที่ Practical จะทำอย่างไร/ ถ้าใครรู้จัก 'กินเนสท์ บุ๊ค' และสอบถามว่ายังไม่เคยมีใครทำได้ 'ผมจะทำให้ดูเป็นคนแรกครับ เอาผึ้ง 5 ชนิดมาอยุ่รังเดียวกัน'

   เมื่อวาน (7 พ.ย. วันเกิด beeman) พอผมสอนนิสิตวิชาการเลี้ยงผึ้ง และบอกว่าวันนี้เป็นวันเกิดผม นิสิตร้องเพลง Happy Birthday ให้ ขณะที่ผมสอนและโดยมีรังผึ้งมิ้มเป็นสื่อการสอน และพูดคุยกับนิสิต มีการกระตุ้นให้นิสิตถามคำถาม สังเกตว่านิสิตมีแต่รอยยิ้ม ไม่ค่อยมีใครเครียดเลย

   มีอยู่คำถามหนึ่ง ผมถามว่า "ถ้าผมเอาผึ้งมิ้มไปไว้ในรังผึ้งพันธุ์ (ผึ้งเลี้ยง) เขาจะอยู่กันได้ไหม" คำตอบคืออยู่ไม่ได้ (มากกว่าอยู่ได้) หมายความว่า เมื่อผมเอาหลอดปิด (Sealed brood) ซึ่งก็คือดักแด้ของผึ้งมิ้ม (Apis florea) ไปใส่ไว้ในรังผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera :ผึ้งเลี้ยง,ผึ้งโพรงฝรั่ง) มันจะอยู่ด้วยกันได้ไหม

   คำตอบสำหรับผมคือได้ เราทำได้ครับ แต่ว่าวิธีที่ Practical จะทำอย่างไร

   วิธีที่เคยใช้กัน เขาจะเอาระยะดักแด้ของผึ้งต่างถิ่น (ในที่นี้คือผึ้งมิ้ม) ไปใส่บริเวณด้านนอกของคอนผึ้งเจ้าถิ่น (ในที่นี้คือผึ้งพันธุ์)  วิธีนี้ใช้ได้ผลพอสมควร แต่ถ้าผึ้งเจ้าถิ่นแข็ง (คือมีประชากรมาก) ผึ้งประจำบ้านก็จะมาลากตัวอ่อนผึ้งมิ้มที่เพิ่งออกจากหลอดไปทิ้ง วิธีแก้ก็คือพยายาม Feed (ให้อาหารพวกน้ำตาล) น้ำตาลให้ผึ้ง (พันธุ์) สาละวนอยู่กับอาหาร เมื่อมีอาหารมากก็จะไม่ทำร้ายผู้แปลกหน้า

   ครั้งนี้ผมพยายามทำให้ผึ้งเจ้าถิ่นมีประชากรน้อย และได้เอาผึ้งนางพญาออกไว้ล่วงหน้า พอเอาผึ้งแปลกหน้าไปอยู่ด้วยเขาก็ไม่ทำร้าย แถมยังให้อาหารผึ้งด้วย ผึ้งอารมณ์ดีจึงไม่ทำร้ายกัน เอาไว้ถ้ามีผึ้งมิ้มบินออกจากรังผึ้งพันธุ์ ช่วยผึ้งพันธุ์หาอาหารแล้วผมจะเอารูปมาฝากครับ ครั้งนี้ดูผึ้งมิ้มวัยอ่อนอยู่กับผึ้งพันธุ์ไปก่อนนะครับ

 

   รังผึ้งมิ้ม วัดความกว้างของรังได้ 25 เซนติเมตร ความลึก 18 เซนติเมตร
     

   
 รังผึ้งมิ้ม ที่เห็นเป็นวงสีเหลืองคือดักแด้    
   
รังผึ้งมิ้มซึ่งวางบนกล่องผึ้งพันธุ์    
 

รังผึ้งมิ้ม ในกล่องผึ้งพันธุ์ วงกลมสีแดงคือผึ้งงาน(ผึ้งอนุบาล)ของผึ้งมิ้ม

ส่วนวงกลมสีน้ำเงิน คือ ผึ้งงานของผึ้งพันธุ์

ขนาดตัวของผึ้ง 2 ชนิด ผิดกันมาก ผึ้งมิ้มขนาดลำตัวยาวประมาณ 0.9 เซนติเมตร

ส่วนผึ้งพันธุ์ลำตัวยาวประมาณ 1.3-1.5 เซนติเมตร

     
     

    ที่กล่าวมานี้คือเทคนิคการทำผึ้ง 2 ชนิดอยุ่ด้วยกันได้ และถ้าจะทำให้ผึ้ง 3,4 หรือ 5 ชนิดอยู่ด้วยกันได้ ก็ใช้วิธีแบบเดียวกัน นึกถึงตอนนี้คงยังไม่มีใครทำ ถ้าใครรู้จัก "กินเนสท์ บุ๊ค" และสอบถามว่ายังไม่เคยมีใครทำได้ "ผมจะทำให้ดูเป็นคนแรกครับ"

 

หมายเลขบันทึก: 6657เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2005 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผึ้งในรังมีอยู่มากมายเราจะรู้ได้อย่างไรว่า

1. ผึ้งตัวใหนเป็นผึ้งอนุบาล

2. ผึ้งตัวใหนเป็นผึ้งที่มีอายุ 1-3วัน

3. ผึ้งตัวใหนอายุ4-7วัน

4. ผึ้งตัวใหนอายุ8-11

5. ผึ้งตัวใหนอายุ 12 - 18

ไม่ทราบว่าผมแบ่งช่วงอายุถูกรึเปล่าและแต่ละช่วงอายุมีหน้าที่ต่างกันและมีความสัมพันธ์ภายในรังอยากทราบว่าคือแต่ละช่วงมีวิธีดูอายุของผึ้งได้อย่างไรขอบคุณครับ [email protected]

ตอบคำถามคุณวินัย

  1. ผึ้งงานในรังเป็นผึ้งตัวเมียทั้งหมด (สังเกตจากก้นแหลมๆ) ผึ้งอนุบาลก็ดูจากขนที่อกด้านหลัง หากสีขาวขุ่นยังไม่ดำก็เป็นผึ้งอนุบาล (อายุ 0-3 วัน) หรือปีกยังไม่แข็งแรงดี จับโยนก็ไม่บิน
  2. ผึ้งอายุ 1-3 วัน สังเกตแบบข้อ 1 ครับ คือเป็นผึ้งอนุบาล
  3. ส่วนอายุ 4-7 วัน ก็ดูที่ขนมากๆ จับโยนแล้วบินไม่แข็ง โยนแล้วบิน (ร่อน)ตกอยู่หน้ารัง
  4. อายุ 8-11 วันก็สังเกตว่าคอยป้อนอาหารน้องๆ ที่เป็นตัวหนอนในรังที่อายุน้อยกว่า 3 วัน (หนอนตัวเล็ก) หรือคอยป้อนอาหารให้ผึ้งนางพญา
  5. ส่วนอายุ 12-18 วัน ก็สังเกตพวกที่คอยซ่อม (สร้าง) รวงรัง หรือ พวกที่คอยเป็น Guard เฝ้าทางเข้ารัง..ครับ

        หวังว่าคงพอหายข้องใจบ้างนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท